ไม่ได้มีแค่ Mixue รอเข้าไทยเพียบ China´s New-Style Tea

สมัยก่อนร้านขายเครื่องดื่มชาไม่ค่อยมีส่วนผสมของวัตถุดิบอย่างอื่น พอมาในปัจจุบันเห็นร้านชาหลายๆ แบรนด์มีส่วนผสมของวัตถุดิบมากมาย เรียกว่าชารูปแบบใหม่ หรือ New-style tea กำลังเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในจีนมีร้านเครื่องดื่มชาแนวใหม่มากถึง 515,000 แห่ง และร้านส่วนใหญ่จะเป็นแบบแฟรนไชส์

ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากเครื่องดื่มชารูปแบบใหม่จากจีน China´s New-Style Tea หลายๆ แบรนด์เข้ามาเปิดตลาดและมีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง ใช้กลยุทธ์ราคาถูก ขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ทำให้ขยายสาขาได้รวดเร็ว โดยรูปแบบร้านค้าเครื่องดื่มชารูปแบบใหม่ในจีน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก เป็นพวกร้านแบบ WEDRINK และ Mixue โดยเฉพาะ Mixue เป็นร้านเครื่องดื่มชาที่โตเร็วมาก ใช้เวลาไม่ถึง 17 ปีขยายสาขาทั่วโลกมากกว่า 36,000 แห่ง ในไทยมีมากกว่า 200 แห่ง

กลยุทธ์การตลาดของ Mixue จะสร้างเครือข่ายในจีนให้แข็งแกร่ง ขยายสาขาครอบคลุมหลายๆ มณฑลในจีน ก่อนเข้ามาขยายตลาดในอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย

กลุ่มที่สอง แบรนด์ที่มีร้านค้าประมาณ 1,000-10,000 แห่งในจีน ร้านชารูปแบบใหม่เหล่านี้ค่อนข้างเป็นที่รู้จักของคนจีนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เช่น Goodme, Shuyi Tealicious, ChaBaiDao และ AUNTEAJENNY

กลุ่มที่สาม บริษัทที่มีร้านค้าไม่ถึง 1,000 แห่งในจีน เช่น A Yogurt Cow, Hero Tang และ Cha Yan Yue Se เป็นต้น

มาดูกันว่า ยังมีแบรนด์เครื่องดื่มชารูปแบบใหม่ในจีนที่มาแรง ได้รับความนิยมในประเทศจีนอะไรบ้าง และคาดว่าอีกไม่นานน่าจะเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย ตามรอย Mixue, Wedrink, Naixue และ CHAGEE

1. Cooler City

China´s New-Style Tea

ภาพจาก www.facebook.com/coolercity.thitransocson

แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ Cooler City มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2561 ภายใต้บริษัท Zhejiang BODUO Food Technology Co.,Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากกว่า 20 ปี มีโรงงานอาหาร 4 แห่ง

มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดหาวัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั้งในเอเชียและยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Boduo ทำธุรกิจในกว่า 30 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ Cha ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 2,000 สาขา ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

Cooler City ใช้สูตรธุรกิจ “ราคาถูก + แฟรนไชส์” แบบเดียวกับ Mixue ทำให้ขยายสาขาได้เร็ว อย่างในเวียดนามเปิดสาขาแรกต้นปี 2566 จนมีสาขาไปแล้ว 21 แห่ง รูปแบบขยายแฟรนไชส์ของ Cooler City จะให้สิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์แก่บริษัทในประเทศนั้นๆ บริหารจัดการและขายแฟรนไชส์ให้แก่นักลงทุนทั่วไปแบบเดียวกับ Mixue และ Ai-Cha เลย

2. Bingxue

China´s New-Style Tea

ภาพจาก www.facebook.com/bingxuemalaysia

แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน ที่มีสาขาในจีนมากกว่า 3,000 สาขา และในต่างประเทศมากกว่า 100 สาขา เป็นแบรนด์ที่มีโมเดลเดียวกับ Mixue, Ai-Cha และ WEDRINK ก่อตั้งในปี 2557 ภายใต้บริษัทในเครือ Jinan Baodao Enterprise Management Consulting Co., Ltd. เป็นแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้ที่เน้นไปที่เมนูซิกเนเจอร์อย่าง “ไอศกรีมและเครื่องดื่มมะพร้าว” มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในมณฑลซานตง ประเทศจีน

Bingxue ได้รับความนิยมและมีการขยายสาขาอย่างรวดเร็วจนครอบคลุมใน 31 มณฑลและเมืองต่างๆ ในจีน อาทิ ซานตง เหอเป่ย เหอหนาน ชานซี ส่านซี มองโกเลียใน เหลียวหนิง หูเป่ย ไหหลำ และซินเจียง

Bingxue ได้เริ่มขยายสาขาไปต่างประเทศเมื่อต้นปี 2566 สาขาแรกเปิดในอินโดนีเซีย ก่อนขยายไปเวียดนาม มาเลเซีย รัสเซีย สิงคโปร์ ปัจจุบัน Bingxue มีสาขามากกว่า 3,000 แห่งในจีน และมากกว่า 100 แห่งในต่างประเทศ

3. Nayuki

China´s New-Style Tea

ภาพจาก www.na-yuki.com

อีกหนึ่งแบรนด์ชาเครื่องดื่มรูปแบบใหม่ในจีน เปิดตัวเมื่อปี 2558 สาขาแรกอยู่ในเซินเจิ้น ก่อนขยายกิจการไปในหลายมณฑลในจีนและต่างประเทศในปี 2560 ต่อมาปี 2563 เปิดสาขาแรกในโอซาก้า ญี่ปุ่น และเริ่มขยายตลาดไปทั่วโลก ในปี 2564 จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง เป็นแบรนด์ที่เติบโตเร็วเช่นกัน ในครึ่งปีแรก 2565 มีสาขากว่า 904 แห่ง

Nayuki กำหนดเป้าหมายไปที่ตลาดระดับ High-end เน้นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ เน้นสูตรน้ำตาลต่ำ มีเมนูหลักอย่าง “เครื่องดื่มชา + ขนมปังนุ่ม” ในปี 2566 ขยายสาขาเพิ่มกว่า 1,000 แห่ง ครอบคลุมเมืองใหญ่กว่า 80 แห่งในจีน

4. ChaPanda

ภาพจาก www.facebook.com/CHAPANDA.THAI

อีกหนึ่งชารูปแบบใหม่ที่มาแรงไม่แพ้ NAIXUE ที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยก่อนหน้านี้ แถมยังตามเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้สำเร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อ 23 เม.ย. 2567 โดยร้านชารูปใหม่ ChaPanda ได้เปิดตัวร้านแรกในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวนในปี 2551 ซึ่งก่อตั้งโดยสามีภรรยานายหวังเซียวคุน และนางหลิว เหว่ยหง

ปัจจุบัน ChaPanda มีร้านค้าทั้งหมด 8,016 แห่งในจีน (รวมถึงร้านค้าที่ดำเนินการโดยตรง 6 แห่ง) โดยครอบคลุมถึง 31 มณฑลทั่วประเทศ เมื่อต้นปี 2567 ได้เปิดตลาดในต่างประเทศแห่งแรกในกรุงโซล เกาหลีใต้

ในปี 2566 ChaPanda มีการจำหน่ายเครื่องดื่มทั้งหมด 1.016 พันล้านแก้วตลอดทั้งปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 (YoY) โดยปริมาณการจำหน่ายเฉลี่ยของแต่ละร้าน อยู่ที่ 143,500 แก้ว โดย ChaPanda มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.8 ติดอันดับ 3 ในตลาดร้านชาสำเร็จรูปในจีน รองจาก Mixue และ GOOD ME

5. Auntea Jenny

China´s New-Style Tea

ภาพจาก www.auntmilktea.com

อีกหนึ่งแบรนด์เครื่องดื่มชารูปแบบใหม่ในจีน ที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเรียบร้อยแล้ว ตามรอยแบรนด์ ChaPanda (หรือ Chabaidao), GoodMe (หรือ Guming) และ Mixue Bingcheng ที่ได้ยื่นไปก่อนหน้าแล้ว

Auntea Jenny ถือเป็นแบรนด์ชารูปใหม่ ชงสดๆ ขายราคากลางๆ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีน เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในจีน อยู่อันดับ 4 แบรนด์ชารูปใหม่รายใหญ่ที่สุดในจีน ในปี 2566 มีสาขามากกว่า 7,297 แห่ง

6. GoodMe

ภาพจาก www.gumingnc.com

อีกหนึ่งแบรนด์ชารูปแบบใหม่ในจีน มีเมนูเด่น “ชากะทิมัทฉะ – ชาผลไม้ดอกมะลิ” ก่อตั้งขึ้นในมณฑลเจ้อเจียงปี 2010 (2553) เป็นร้านชาราคากลางๆ ที่ใหญ่ที่สุดในจีน ราคาเริ่มต้น 10 – 20 หยวน หรือ 48 – 96 บาท มีสาขากว่า 9,000 แห่งใน 200 เมืองใหญ่ในจีน สาขาส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์กว่า 99.9% มีเพียง 6 สาขาที่บริษัทดำเนินการเอง

7. YH TANG

China´s New-Style Tea

ภาพจาก www.facebook.com/yihetanghalong

อีกหนึ่งแบรนด์เครื่องดื่มชารูปแบบใหม่ของจีน มาเปิดตลาดในไทย 100% ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 (2555) เป็นแบรนด์ชาในเครือของ Wuhan Yihui Drink Technology Co., Ltd. ปัจจุบันสาขามากกว่า 8,000 แห่งใน 300 เมืองใหญ่ทั่วโลก ในอาเซียนมีแค่ 2 ประเทศ ที่ YH TANG เข้าไปขยายกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ ส่วนในไทยคาดว่าจะเปิดตัวเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ มีรายงานข้อมูลว่า ในปี 2567 แฟรนไชส์เครื่องดื่มชารูปแบบใหม่ของจีน หรือ China’s New-Style Tea นอกจากจะแข่งขันกันในเรื่องราคาและปริมาณน้ำตาลต่ำแล้ว ยังเร่งขยายสาขาให้สิทธิพิเศษผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ ปรับลดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ หรือผ่อนชำระค่าแฟรนไชส์ได้แบบสบายๆ

สรุปก็คือ กระแสเครื่องดื่มชา China´s New-Style Tea รูปแบบใหม่ในจีนมมาแรงและได้รับความนิยม ขายถูกทั้งสินค้าและแฟรนไชส์ หลายๆ แบรนด์ได้เข้ามาในเมืองไทยแล้ว ทั้ง Mixue, Wedrink, Naixue, CHAGEE ฯลฯ ทำให้ตลาดในไทยมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น

ดังนั้น แบรนด์ไทยต้องหากลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่ สร้างความแตกต่าง เพิ่มเอกลักษณ์ รวมถึงตัวสินค้า เช่น ชื่อเมนู รสชาติ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ ผสมผสานกับวัฒนธรรมของไทย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช