ไม่ใช่โรคระบาด Mixue ยืนหนึ่งในจีน 2 แสนสาขา

ดูตลาดเครื่องดื่มชาในประเทศจีนมีมูลค่ากว่า 442,000 ล้านบาทและมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าดูสถิติจะพบว่าในปี 2020 ร้านชาไข่มุกในประเทศจีนมีทั้งสิ้น 480,000 กระจายอยู่หลายพื้นที่ของประเทศจีน

กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่คือ กลุ่มหนุ่มสาวชาวจีน ที่อาศัยอยู่ในเมืองเอกและเมืองรอง เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว เซินเจิ้น ฉงชิ่ง และเฉิงตู เป็นต้น ที่ส่วนใหญ่บริโภคชานมสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง ในราคาเฉลี่ย 20 หยวนต่อแก้ว

และปัจจุบันที่มาแรงมากคือแบรนด์ Mixue ที่ก่อตั้งในปี 1997 จากเงินทุนเริ่มต้นเพียงแค่ 4,000 หยวน (ประมาณ 20,000 บาท) เพื่อมาเปิดแผงลอยขายน้ำแข็งไสแบบเรียบง่าย มีเพียงตู้แช่ เครื่องทำน้ำแข็งไสที่ประกอบขึ้นมาเอง และโต๊ะเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น

Mixue ยืนหนึ่งในจีน

จุดเปลี่ยนของ Mixue ที่แท้จริงอยุ่ในปีเกิดขึ้นในปี 2006 เมื่อไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจากญี่ปุ่นได้เข้ามาเป็นกระแสและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในจีน ทางแบรนด์จึงได้มีการประยุกต์เมนูใหม่ และคิดค้นสูตรที่เป็นแบบเฉพาะของตัวเองและตั้งราคาขายแค่ 2 หยวน ผลปรากฏว่าได้รับความนิยมล้นหลามและแบรนด์ก็โตวันโตคืน จนในที่สุดก็ตัดสินใจเริ่มขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ยิ่งทำให้ธุรกิจโตได้เร็วมาก

โดย Ashley Dudarenok จาก China Digital Expert ผู้คร่ำหวอดตลาดเมืองจีน ได้วิเคราะห์ความน่าจะเป็นของ Mixue ว่าในอนาคตอันใกล้อาจมีสาขามากถึง 236,150 แห่งใน 367 เมืองทั่วจีนแผ่นดินใหญ่

ถึงแม้ตอนนี้จะยังไม่ถึงจุดนั้นแต่ก็ถือว่าตัวเลขเติบโตเพิ่มขึ้นซึ่งก็มีโอกาสเป็นไปได้ หากไปดูตัวเลขภาพรวมของ Mixue ในปัจจุบันพบว่า มีสาขาทั่วประเทศจีนอยู่ประมาณ 25,000 ++ โดยมีสาขาในประเทศแถบอาเซียน ประมาณ 3,000 ++ นอกจากนี้ยังมีสาขาใน 12 ประเทศ ทั่วโลก ถ้ารวมเบ็ดเสร็จ Mixue ตอนนี้มีสาขารวมประมาณ 36,153 แห่ง

ซึ่งถ้าเทียบกับจำนวนสาขาของแบรนด์ร้านอาหารดังทั่วโลกแล้ว Mixue จะเป็นรองเพียงแค่ McDonald’s, Subway, Starbucks เท่านั้น

Mixue ยืนหนึ่งในจีน

ในเมืองไทยเอง Mixue ก็เติบโตได้เร็วมา ปี 2565 มี 15 สาขา ปี 2566 มี 23 สาขา

  • ปี 2567 มี 200 สาขา และมีเป้าหมายว่าภายใน 3 ปีจากนี้จะมีสาขาทั่วประเทศรวมกว่า 2,000 แห่ง

นั่นแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของ Mixue ที่ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดทั้งในจีนและเมืองไทย ถ้าลองนำ Mixue ไปเทียบเคียงกับ แบรนด์ดังรายอื่นในเมืองจีนในกลุ่มเครื่องดื่มด้วยกันจะพบว่ายืนหนึ่งในเรื่องสาขาที่ตอนนี้น่าจะมากที่สุดด้วย

  • Mixue 25,000 สาขา
  • LUCKIN COFFEE 18,500 แห่ง
  • CHAPANDA 8016 แห่ง
  • COTTI COFFEE 6,800 แห่ง
  • STARBUCKS CHINA 7,770 แห่ง
  • HEYTEA 3,300 แห่ง
  • CHAGEE 3,400 แห่ง
  • NAIXUE TEA 1,700 แห่ง

Mixue ยืนหนึ่งในจีน

เหตุผลหลักๆที่ทำให้ Mixue โตเร็วและมาแรงมีหลายปัจจัยเริ่มตั้งแต่กลยุทธ์ด้านราคาที่เน้น “ถูก ปริมาณเยอะ” หรือการเลือกทำเลทองเพื่อเน้นการเจาะกลุ่มเป้าหมาย ยังไม่นับรวมเรื่องการใช้ระบบแฟรนไชส์เข้ามาช่วยในการขยายสาขา

โดยทางแบรนด์เน้นการควบคุมต้นทุนหลักอย่างวัตถุดิบผ่านระบบจัดส่งวัตถุดิบไปยังร้านแฟรนไชส์โดยตรง และที่มองข้ามไม่ได้คือพลังด้านการตลาดที่สร้างการจดจำด้วยมาสคอต และเพลง ทุกวันนี้ Snow King ตุ๊กตาหิมะสุดน่ารัก และเพลงโฆษณาเป็นภาพจำที่ทำให้ลูกค้ารู้ทันทีว่านี่คือร้าน Mixue

แน่นอนว่าในด้านผลประกอบการก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน Mixue มีมูลค่าแบรนด์กว่า 3 แสนล้านบาท ในแต่ละปีสามารถทำกำไรได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท

อย่างในปี 2020 Mixue มีรายได้ 22,870 ล้านบาท ได้กำไร 3,090 ล้านบาท หรือในปี 2021 Mixue สามารถสร้างรายได้มากขึ้นเป็นสองเท่ากว่าปีที่แล้ว นั่นก็คือ 48,580 ล้านบาท ส่วนกำไรก็พุ่งสูงขึ้นถึง 9,300 ล้านบาทเช่นกัน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช