ไขปริศนา! สุกี้ตี๋น้อย ยังไม่ขายแฟรนไชส์

เชื่อว่าหลายคนคงจะไม่รู้จัก “ สุกี้ตี๋น้อย ” ร้านสุกี้บุฟเฟต์ชื่อดังที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างล้นหลาม ในสโลแกน “อร่อยไม่อั้น เที่ยงวันยันเช้า” บุฟเฟต์ 219 บาท ราคาเดียว ทานได้ทุกอย่าง

ด้วยจำนวนสาขาที่มากถึง 41 สาขา อะไรที่ทำให้ “สุกี้ตี๋น้อย” ได้รับความนิยม จนหลายๆ คนสนใจขอซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งสุกี้ตี๋น้อยจะขายแฟรนไชส์หรือไม่นั้น www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

สุกี้ตี๋น้อย

หลายคนอาจจะคิดว่า “ร้านสุกี้ตี๋น้อย” เจ้าของร้านจะต้องเป็นผู้ชายหน้าตาตี๋ๆ เหมือนกับชื่อของร้าน แต่จริงๆ แล้วเจ้าของร้านตัวจริงเป็นของผู้หญิง คือ “คุณนัทธมน พิศาลกิจวานิช” ผู้ก่อตั้งฯ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเดิมครอบครัวของเธอดำเนินธุรกิจร้านอาหารเรือนปั้นหยา

26

ภาพจาก facebook.com/sukiteenoithailand/

สุกี้ตี๋น้อยได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วอาจเป็นเพราะราคาสบายกระเป๋า 219 บาท เปิดให้บริการ 12.00-05.00 น. ลูกค้าสามารถเลือกทานได้ทุกเมนู ตั้งแต่เนื้อวัวไปจนถึงซีฟู้ด นั่งได้สูงสุด 1.45 ชั่วโมง จึงทำให้สุกี้ตี๋น้อยคุ้มค่ากว่าที่อื่นๆ นอกจากนี้ร้านสุกี้ตี๋น้อยยังมีการออกโปรโมชั่นอยู่ตลอดเวลา จึงกลายเป็นร้านบุฟเฟต์ที่สามารถจับกลุ่มลูกค้าปกติและลูกค้าที่ทำงานตอนกลางคืน รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่ไม่ต้องกังวลต่อการรีบเพื่อกลัวว่าร้านจะปิดก่อนอีกด้วย

33

ภาพจาก facebook.com/sukiteenoithailand/

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้สุกี้ตี๋น้อยมีชื่อเสียง ก็คือ เมนูน้ำดำก็มาจากการแชร์ต่อไปเรื่อยๆ จากทั้งลูกค้าเองหรือเพจรีวิวต่างๆ เมื่อคนอื่นได้รู้ก็อยากมาลองบ้าง ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้เป็นตัวช่วยในการโปรโมทให้กับร้านได้อย่างดี เพราะว่ามันสามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งทางร้านยังมีการชื่อเสียงโดยไม่ต้องทำการโปรโมทใดๆ เลย

35

ภาพจาก facebook.com/sukiteenoithailand/

จุดเด่นของร้านสุกี้ตี๋น้อยอีกอย่าง คือ แต่ละสาขาจะมีที่จอดรถกว้าง ยิ่งสาขาไกลๆ สาขาในอาคารสำนักงานก็จอดที่อาคารได้ ปัจจุบันร้านสุกี้ตี๋น้อยมี 41 สาขา ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ ถนนพหลโยธิน เลียบทางด่วน ถนนเกษตร-นวมินทร์ กาญจนาภิเษก แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าววังหิน ศรีนครินทร์ สมุทรปราการ พระราม 4 ฯลฯ

ไม่ขายกิจการ ไม่ขายแฟรนไชส์ แต่หาพาร์ตเนอร์ขยายธุรกิจ

30

ภาพจาก facebook.com/sukiteenoithailand/

จากกรณีที่มีข่าวว่ากลุ่มเจมาร์ทและบีทีเอส เข้าเจรจาเข้าซื้อหุ้น “สุกี้ตี๋น้อย” เพื่อนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ล่าสุด นางสาวนัทธมน พิศาลกิจวนิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของร้าน “สุกี้ตี๋น้อย” ได้ให้สัมภาษณ์กับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สุกี้ตี๋น้อยไม่ได้ขายกิจการ เป็นเพียงการหารือกับธุรกิจอื่นๆ เพื่อร่วมมือกันขยายธุรกิจเท่านั้น ซึ่งยอมรับว่ามีการเจรจากับเจมาร์ทจริง แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ

ปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยมีการขยายสาขาเพิ่มขึ้น ทำให้การบริหารจัดการมีความท้าทาย บริษัทจึงต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือคนที่อยู่ในวงการธุรกิจมาช่วยส่งเสริมธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้สุกี้ตี๋น้อยเติบโตอย่างรวดเร็ว มั่นคงและยั่งยืน

32

ภาพจาก facebook.com/sukiteenoithailand/

สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2565 สุกี้ตี๋น้อยเตรียมที่จะเปิดร้านเพิ่มอีก 3 สาขาในกรุงเทพฯ ส่วนปี 2565 สุกี้ตี๋น้อยวางแผนมุ่งขยายสาขาออกไปในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยจะต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของการขนส่งโลจิสติกส์ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อรักษามาตรฐานเดียวกันให้ได้ทุกๆ สาขา

ทั้งนี้ สุกี้ตี๋น้อยยังไม่มีนโยบายขายแฟรนไชส์ เพราะต้องการควบคุมมาตรฐานของทุกสาขาให้มีคุณภาพเหมือนกัน โดยปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยมีร้านทั้งหมด 41 สาขา มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเฉลี่ยรวมในทุกสาขา 30,000-40,000 คนต่อวัน

รายได้ สุกี้ตี๋น้อย

34

ภาพจาก facebook.com/sukiteenoithailand/

จากการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของแบรนด์ร้านบุฟเฟต์สุกี้ตี๋น้อย บนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดังนี้

  • ปี 2562 รายได้ 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท กำไร 147 ล้านบาท

นั่นคือ เรื่องราวที่น่าสนใจของร้านบุฟเฟต์ชื่อดังของเมืองไทยอย่าง “สุกี้ตี๋น้อย” ปัจจุบันมี 41 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเตรียมจะเปิดเพิ่มอีก 3 สาขาในช่วงท้ายปี 2565 ก่อนที่จะขยายสาขาไปในต่างจังหวัด

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3BKfekJ , https://bit.ly/3CdyRTK , https://bit.ly/3raL05t

ข้อมูลเพิ่มเติม สุกี้ตี๋น้อย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3LMXbPo


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช