ไก่ทอด Texas Chicken ไป แบรนด์ไหนน่ามาแทน?

เป็นที่น่าเสียดายสำหรับแฟน ไก่ทอด Texas Chicken หลังจากประกาศปิดตัวถาวรในไทย เมื่อ 30 กันยายน 2567 Texas Chicken เป็นแฟรนไชส์ไก่ทอดสัญชาติอเมริกัน เปิดดำเนินการมานานกว่า 72 ปี เดิมชื่อ Church’s Chicken ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้ง George W. Church Sr. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2495 เมืองซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส ปัจจุบันมีจำนวนสาขาประมาณ 1,500 แห่งทั่วโลก

ไก่ทอด Texas Chicken

ในประเทศไทย ไก่ทอด Texas Chicken ถูกนำเข้ามาโดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดให้บริการสาขาแรกในไทยเมื่อปี 2558 ที่เซ็นทรัลเวสต์เกต

หากมาดูจำนวนสาขาของร้าน Texas Chicken ในไทย สิ้นไตรมาส 2/2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 97 สาขา ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2566 ที่มีอยู่ 107 สาขา

ในเมื่อร้านไก่ทอด Texas Chicken ปิดตัวไปแล้ว แฟรนไชส์หรือร้านอะไรเหมาะจะมาแทนที่?? มาลองคิดเล่นๆ กัน

1. KFC

ไก่ทอด Texas Chicken

แบรนด์แฟรนไชส์แรกที่เหมาะเปิดในปั้ม ปตท. เพราะก่อนที่ร้านไก่ทอด Texas Chicken จะปิดตัวไป เดิมร้านไก่ทอด KFC ก็เปิดบริการในปั้มน้ำมัน ปตท. อยู่แล้ว โดยสาขาส่วนใหญ่เป็นของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG และจากการที่ KFC เปิดบริการในปั้ม ปตท. อยู่แล้ว น่าจะมีประสบการณ์การดำเนินธุรกิจในปั้มมากกว่าแบรนด์อื่นๆ อีกทั้งลูกค้าหลายๆ คนคุ้นเคยกับ KFC ในปั้มอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีบริการเดลิเวอรี่ให้กับลูกค้าที่อาศัยอยู่พื้นที่ใกล้ปั้มได้ด้วย

2. แมคโดนัลด์

ไก่ทอด Texas Chicken

อีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ที่ปัจจุบันมีการเปิดบริการลูกค้าในปั้มน้ำมัน ปตท. อยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโมเดลร้านแบบ Drive Thru เปิดอยู่ตามถนนสายหลักตามเส้นทางการเดินทางต่างๆ แบรนด์นี้น่าจะมีประสบการณ์ทางธุรกิจและเดินหน้าขยายสาขาในปั้ม ปตท. ต่อไป เพราะสามารถบริการเดลิเวอรี่ได้่ด้วย

3. เบอร์เกอร์คิง

ภาพจาก www.facebook.com/BurgerKingThailand

อีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เหมาะจะมาแทน Texas Chicken ในปั้มน้ำมัน ปตท. เพราะปัจจุบันเบอร์เกอร์มีการเปิดสาขาในปั้มบางจากอยู่แล้ว หากจะขยายสาขาในปั้่ม ปตท. เลือกทำเลดีๆ คนเดินทางผ่านมากๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะมีประสบการณ์ทางธุรกิจในปั้มน้ำมันอยู่แล้ว อีกทั้งยังเปิดบริการเดลิเวอรี่ได้ด้วย

4. Chester’s

ไก่ทอด Texas Chicken

อีกแบรนด์แฟรนไชส์ไก่ย่าง ไก่ทอดในเครือซีพี เป็นร้านที่รู้จักของคนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีจำนวนสาขากว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ทั้งเปิดร้านในห้าง นอกห้าง และปั้มน้ำมัน เป็นอีกแฟรนไชส์ร้านอาหารที่เหมาะจะมาแทน Texas เพราะปัจจุบันมีสาขาในปั้มน้ำมันบางจาก และ ปตท. อยู่แล้ว ลูกค้าสามารถซื้อกลับบ้านหรือนั่งกินในร้านก็ได้

5. Zhengxin Chicken Steak หรือ ไก่ทอดเจิ้งซิน

ภาพจาก https://bit.ly/3XYUSiw

แบรนด์แฟรนไชส์ไก่ทอด สเต็ก และเบอร์เกอร์จากจีน ปัจจุบันมี 2 สาขาในไทย ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 7 ใกล้ร้าน Sushiro โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่ ONE ConneX แถวอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเหตุผลที่เหมาะจะมาเปิดในปั้ม ปตท. เพราะเป็นร้านฟาสต์ฟู้ดที่เป็นกระแสในไทย ขายไก่ทอดเริ่มต้น 15 บาท แถมมีไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเหมือน MIXUE ราคา 15 บาทขายอีกด้วย น่าจะได้รับความนิยมจากลูกค้าได้เป็นอย่างดี

6. เดอะพิซซ่า คอมปะนี

ภาพจาก www.facebook.com/thepizzacompany

อีกแบรนด์แฟรนไชส์สุดท้ายที่เหมาะจะมาเปิดแทน Texas Chicken ในปั้ม ปตท. ปัจจุบันมี 564 สาขาทั่วประเทศ ปกติแล้วทำเลหลักในการเปิดร้านของเดอะพิซซ่า คอมปะนี มีทั้งในห้าง ตึกแถวตามถนนและตลาดต่างๆ ถ้ามาเปิดในปั้ม ปตท. ก็น่าจะเหมาะ เพราะปกติลูกค้านิยมสั่งเดลิเวอรี่อยู่แล้ว แถมยังได้ลูกค้าที่แวะเติมน้ำมันอีกด้วย

สรุปก็คือ ร้านที่เหมาะสำหรับเปิดในปั้มน้ำมัน ปตท. แทนที่ Texas Chicken จะต้องเป็นร้านออกแนวฟาสต์ฟู้ดน่าจะเหมาะที่ สุด จะมีที่นั่งหรือไม่มีก็ได้ เพราะลูกค้าจะใช้เวลาในปั้มไม่นาน ต้องรีบเดินทาง อย่างกรณีร้านข้างบนส่วนใหญ่เปิดในปั้มน้ำมัน ปตท. อยู่แล้ว หากต้องการขยายสาขาเพิ่มในปั้ม ปตท. ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งปั้มดีหรือเปล่าแค่นั้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช