“ ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง ” วิธีทำตลาดในโลกไอทีของ 5 ธุรกิจออนไลน์
เมื่อก่อนเรามีแค่ปัจจัย 4 แต่เดี๋ยวนี้เรามีปัจจัยที่ 5 นั้นคือโทรศัพท์มือถือที่สำคัญถึงขนาดถ้าลืมไว้ที่บ้านตลอดทั้งวันนั้นคนเราแทบจะทำอะไรกันไม่เป็นเลยทีเดียว
หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้โทรศัพท์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญกับเรามากคือการมีธุรกิจออนไลน์พวกแอพพลิเคชั่นต่างๆ ทยอยกันเปิดตัวมาให้บริการด้านหนึ่งคือช่วยทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้นง่ายขึ้นแม้จะยอมเสียเงินเพิ่มอีกนิดหน่อยแต่ฐานลูกค้าเหล่านี้ก็ยินดีและเต็มใจเป็นอย่างมาก
จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่าในบางแอพเหมือนให้บริการฟรีแล้วเช่นนี้รายได้ของแอพเหล่านั้นมาจากที่ไหนเรื่องนี้ถ้าจำไม่ผิด www.ThaiSMEsCenter.com เขียนถึงกลยุทธ์การตลาดแบบออนไลน์ไปบ้างแล้วแต่เพื่อให้เห็นภาพการทำธุรกิจแนวนี้ที่ชัดเจนมากขึ้นเราต้องรู้จักกลยุทธ์ที่เรียกว่า “ ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง ” ที่บางครั้งเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเราได้จ่ายเงินให้กับแอพเหล่านี้ไปแล้ว
ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง การทำตลาดแบบ Freemium Apps
เราอาจจะคุ้นเคยกับการใช้แอพแบบต่างๆ บางทีเราก็ใช้กันจนเพลินและสูญเสียเงินให้กับแอพเหล่านี้แบบไม่รู้ตัว แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาส่วนใหญ่จะพึงพอใจกับบริการที่ได้รับหรือบางทีเราก็รู้สึกว่าแอพเหล่านี้มีส่วนทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นจึงยอมจ่ายเงินใช้บริการแบบไม่รู้สึกติดใจ
หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่นำไปสู่ความคิดเช่นนั้นก็คือรูปแบบของ Freemium Apps พูดง่ายๆที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนก็คือ การทำตลาดของธุรกิจออนไลน์แบบใช้ก่อนจ่ายทีหลัง หากยังนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงบรรดาเกมส์ต่างๆที่อยู่ในโทรศัพท์เช่น Farmville หรือ Clash of Clans ที่เริ่มแรกมักจะเปิดใช้เล่นกันฟรีๆ เมื่อเรารู้สึกสนุกก็จะเริ่มมีโหมดเสียเงินที่ทำให้เราเล่นเกมส์ได้ง่ายขึ้น
ผ่านด่านได้ง่ายขึ้น หรือเสียเงินเพื่อซื้อไอเทมอัพเลเวลในเกมส์ แต่สำหรับธุรกิจที่ไม่ใช่เกมส์กลยุทธ์แบบ Freemium ก็ยังใช้ได้ผลดีเช่นกัน Spotify ก็ถือเป็นแอพฟรีเมี่ยมเช่นกันเพราะคนใช้งานสามารถจ่ายเงินเพื่อแลกกับการฟังเพลงที่มีคุณภาพดีขึ้นและอีกหลายฟีเจอร์ที่ต้องจ่ายเงินก่อนใช้บริการใน Spotify
และอย่าดูถูกการตลาดแนวนี้เป็นอันขาดธุรกิจแบบแอพฟรีเมี่ยมนั้นเพราะในขณะที่บริการแอพพลิเคชั่นธรรมดาก็ว่าทำรายได้ดีพอตัวแล้วแต่แอพแบบฟรีเมี่ยมนี้ทำรายได้ที่ดีกว่าโดยในปี 2016 ที่ผ่านมาสร้างรายได้รวมไม่ต่ำกว่า 30 พันล้านเหรียญ และคาดว่าจะทำรายได้มากกว่า 60 พันล้านเหรียญในปี 2020
โดยสรุปแล้วนั้นโฆษณาติดตั้งในมือถือและแอพฟรีเมี่ยมทำรายได้ไปกว่า 90% ของรายได้ทั้งหมดระหว่างปี 2015 และ 2020 กันเลยทีเดียว และต่อไปนี้คือสุดยอด 5 แอพพลิเคชั่นแบบ Freemium ที่โดดเด่นและน่าสนใจที่สุด
1.Netflix
Netflix ให้บริการสตรีมมิ่ง เป็นแอปฯฟรีเมี่ยมที่ใช้โมเดลการเสียค่าใช้จ่ายเพื่อสมัครสมาชิก และโมเดลนี้ก็กำลังเป็นเรื่องปรกติไปแล้วและทำรายได้ไป 15% จากรายได้ของแอปฯทั้งหมด โดย Netflix ให้ทดลองใช้บริการฟีเต็มๆหนึ่งเดือน เป็นการจูงใจให้ผู้ใช้งานเห็นถึงคุณค่าของแอปฯและช่วย Netflix รักษาฐานผู้ใช้งานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.Dropbox
หากจะพูดถึงบริการจัดเก็บไฟล์แล้ว ต้องนึกถึง Dropbox แน่นอน ซึ่งเจ้า Dropbox ได้ทำเงินจากบริการนี้โดยการทะลุข้อจำกัดของตัวเองไป หมายความมว่าแอพตัวนี้จะให้บริการเนื้อที่จัดเก็บไฟล์ที่จำกัดฟรี
ใครอยากได้เนื้อที่เพื่มก็ต้องจ่ายเพิ่มและอีกหลายๆบริการที่ใช้โมเดลฟรีเมี่ยมในลักษณะนี้อย่าง The New York Times ที่จำกัดบทความที่เราอ่านได้ก่อนที่จะเด้งกล่องลงทะเบียนให้เรากรอกเพื่ออ่านบทความทั้งหมด แม้กระทั่งเกมส์อย่าง Candy Crush ก็บังคับให้เราจ่าย 0.99 เซนต์เพื่อปลกล็อกเกมด่านต่อไปเช่นกัน
3.Line
เป็นแอพแชทยอดฮิตโดยเฉพาะในไทยอย่าง Line ก็เป็นแอพฟรีเมี่ยมอีกตัวที่ทำยอดขายจากฟีเจอร์เสริมไปได้รวม 1 พันล้านเหรียญ กลายเป็นแอพที่ทำเงินสูงสุดในประเภทแอพที่ไม่ใช่เกมทั้งหมด ยอดขายมากกว่า 40% ถูกกระจายไปอยู่ที่การซื้อขายในแอพเกมโซเชี่ยว ซึ่งแอพพวกนี้โหลดฟรีทั้งหมด มีเพียงแอพไม่กี่ตัวที่ขายสติ๊กเกอร์
เชื่อหรือไม่ว่าคนซื้อสติกเกอร์ในแชทแอพเพราะได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการแชท ผู้ใช้งานจะได้สติ๊กเกอร์พื้นฐานฟรี หากอยากได้สต็กเกอร์มากกว่านี้ก็ต้องเช่าไปดูสติ๊กเกอร์อื่นๆใน Library และจ่ายเงินแม้แต่ซื้อสติ๊กเกอร์ให้เพื่อนด้วย
4.Trivia Crack
เป็นโมเดลโฆษณาเพื่อจูงใจผู้ใช้งานให้จ่ายเช่น Trivia Crack โดยจ่ายเพิ่มอีกนิดเพื่อเอาโฆษณาออกแต่โมเดลนี้มีสมมติฐานอยู่ที่ว่าผู้ใช้งานหาทางอื่นไม่ได้อีกแล้ว วิธีฟรีๆอย่างโมบายและบล็อกเกอร์ก็เอาไว้เอาโฆษณาออกตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แอพพวกนี้ยังเสี่ยงถูกเขี่ยทิ้งหากต้องแข่งกับแอพที่ไม่มีโฆษณารกๆ เพราะผู้ใช้งานจะหันมาใช้แอพของคู่แข่งแทนนั่นเอง
5.Spotify
เป็นแอพฟังเพลงที่ใช้การผสมผสานกันระหว่างการเสียเงินกับไม่เสียเงินภายในแอพเดียวเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เป็นลูกค้าจริงๆเสียที Spotify เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ Spotify ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงก็ให้บริการฟรีแก่ผู้ใช้งานไประยะหนึ่งก่อนที่จะเสนอค่าสมาชิก
ซึ่งวิธีนี้แม้จะเหมือน Netflix แต่ Spotify ให้ผู้ใช้งานได้ใช้บริการฟรีได้ต่อไปแต่บริการฟรีที่ว่านี้กลายเป็นคนละเวอร์ชั่นกับบริการของสมาชิกไปแล้ว Spotify มีโฆษณาคั่นระหว่างเนื้อเพลง เหมือนกับ Trivia Crack มีคุณภาพเสียงเพลงที่จำกัด
หากอยากได้เสียงดีกว่านี้ก็ต้องจ่ายเพิ่มเช่นเดียวกับ Dropbox Spotify ให้คุณจ่ายเพิ่อมเพื่อเอาโฆษณษออก เพื่อคุณภาพเสียงชัดเจนถึง 320kbps แถมให้เข้าถึงบริการฟังเพลงออฟไลน์ด้วย
และนอกจากแอพที่กล่าวมานี้แล้วก็ยังมีรูปแบบของแอพฟรีเมี่ยมที่อยู่ในชีวิตประจำวันเราอีกมาก ในชีวิตประจำวันของเราตอนนี้ดูเหมือนว่าสิ่งเหล่านี้จะขาดแทบไม่ได้
สำหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์ในลักษณะนี้ก็ควรตั้งโจทย์การตลาดตัวเองให้ดี เติมเต็มในสิ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องการ ตลาดแอพพลิเคชั่นยังมีช่องว่างอีกมากแต่พื้นที่นี้สงวนไว้สำหรับคนที่มีหัวการตลาดและมีความชำนาญในเรื่องของไอทีอย่างแท้จริงเท่านั้น
SMEs Tipc (ออกแบบแอพพลิเคชั่นอย่างไรให้ดึงดูดคนใช้)
- ใช้งานให้ง่ายขั้นตอนอย่ายุ่งยากโดยเฉพาะการลงทะเบียนเข้าใช้
- มีลูกเล่นที่หลากหลายและพัฒนาต่อเนื่อง
- เป็นแอพที่ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของคนเราได้
- เมื่อมีฐานลูกค้าอาจเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆเป็นทางเลือกให้ลูกค้า
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก goo.gl/UEKSz9