ใกล้ปีใหม่ “คนไทย” ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ใกล้ปีใหม่เข้ามาทุกที แถมปีนี้ภาครัฐคลายล็อคหลายอย่างจนแทบจะเรียกได้ว่าเราส่วนใหญ่สามารถดำเนินชีวิตกันไปตามปกติ และเมื่อใกล้ถึงเทศกาลหยุดยาวแบบนี้อารมณ์อยากเฉลิมฉลองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

และหลายคนก็มีแผนที่จะท่องเที่ยวในที่ต่างๆด้วย คาดว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ระหว่างวันที่ 28 – 30 ธันวาคม 2564 เฉลี่ยวันละ 60,000 คน ใช้รถโดยสาร (รถ บขส., รถร่วม, รถตู้) เฉลี่ยวันละ 4,700 เที่ยว และแน่นอนว่าเรื่อง “รายจ่าย” ในช่วงปลายปีนี้ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนวางแผนเรื่องนี้กันมาอย่างดีแต่บางทีก็ผิดแผนได้เหมือนกัน เพราะค่าครองชีพในปีนี้ถือว่าสูงมาก ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมารายได้ของคนไทยหายไปค่อนข้างมาก ค่าใช้จ่ายปลายปีแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องระวังให้ดี ลองมาดูกันว่ามีรายจ่ายอะไรที่เราจำเป็นต้องจ่ายในช่วงใกล้ปีใหม่แบบนี้บ้าง

คาดการณ์ปีใหม่ 2565 เงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้จะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยปัจจัยสนับสนุนให้คนกรุงใช้จ่ายมากขึ้นช่วงปีใหม่2565 มาจากการเปิดประเทศ และภาครัฐมีมาตรการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้ยังมีปัจจัยบวกทางด้านการระบาดของโควิด-19 และการเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น คาดว่าจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยและการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านของคนกรุงเทพฯ ให้กลับมาคึกคักมากขึ้นซึ่งหากแยกย่อยเป็นรายจ่ายต่างๆ มีตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้

  • เลี้ยงสังสรรค์ ค่าอาหาร เครื่องดื่ม เม็ดเงิน 10,750 ล้านบาท
  • ช้อปปิ้ง ซื้อสินค้าส่วนตัว ของขวัญ เม็ดเงิน 8,100 ล้านบาท
  • เดินทางในประเทศ ค่าเดินทาง ที่พัก เม็ดเงิน 7,800 ล้านบาท
  • ค่าบริการ กิจกรรมสันทนาการ เม็ดเงิน 1,900 ล้านบาท
  • ทำบุญ ไหว้พระ สวดมนต์ เม็ดเงิน 1,350 ล้านบาท
  • ค่าใช้จ่าย ให้เงินครอบครัว บัตรของขวัญ เม็ดเงิน 600 ล้านบาท

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

ในส่วนของคนกรุงเทพมีข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ Numbeo ได้ระบุว่าดัชนีชี้วัดอัตราค่าครองชีพที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตของกรุงเทพฯ อยู่ที่อันดับ 334 จาก 572 เมืองทั่วโลก โดยเงินเดือนเฉลี่ยของคนในกรุงเทพฯ ที่หักภาษีแล้ว อยู่ที่ประมาณ 22,353 บาทเมื่อนำมาหักลบกับค่าครองชีพที่จำเป็นรายเดือน 5 รายการ

ได้แก่ ค่าเช่าที่พัก ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเดินทางไปกลับในแต่ละวัน ค่าอินเตอร์เน็ตและค่าอาหาร 3 มื้อต่อวันในร้านอาหารระดับปกติ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ) ก็พบว่าคนในกรุงเทพฯ จะมีเงินเหลือราวๆ 4,700 บาท หรือ 21% ต่อเดือน นั่นหมายความว่าถ้าไม่มีการเก็บออมและวางแผนมาให้ดีๆ ปลายปีที่เป็นช่วงแห่งความสุขแบบนี้ เราอาจไม่มีเงินมากพอให้ใช้จ่ายได้

รวมรายจ่ายใกล้ปีใหม่ มีอะไรบ้าง

1.ค่าเดินทางท่องเที่ยว/กลับต่างจังหวัด

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

รายจ่ายส่วนนี้จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนในการเดินทาง ในปีนี้ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยแคมเปญต่างๆ ก็อาจลดค่าใช้จ่ายได้ในบางส่วนแต่โดยภาพรวมก็ถือว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ยังค่อนข้างสูงคิดตัวเลขแบบง่ายๆสำหรับคนที่เดินทางในพื้นที่ใกล้ๆ ต้องมีค่าน้ำมันรถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด รวมๆ แล้วต้องมีเงินไม่ต่ำกว่า 10,000 – 20,000 บาท

2.ค่าประกันชีวิต

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

บางคนเลือกทำประกันชีวิตแบบจ่ายรายปี และบางทีค่าประกันชีวิตก็จะมาลงล็อคในช่วงนี้พอดี ส่วนรายจ่ายตรงนี้จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เราได้ทำ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นการจ่ายแบบรายปีที่มีประกันชีวิต+สุขภาพ เบี้ยประกันคาดว่าจะไม่น้อยกว่า 20,000 บาท

3.ค่าภาษีรถยนต์/ พรบ.รถยนต์

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

สำหรับคนที่มีรถยนต์ในช่วงปลายปีนี้อาจต้องมีเงินส่วนหนึ่งไว้จ่ายค่าภาษีรถยนต์ ต่อ พรบ. รถยนต์ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับรถที่เราใช้งาน และรูปแบบ พรบ.ที่เราเลือก แต่เบ็ดเสร็จก็ควรที่จะมีเงินในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท

4.ค่าเลี้ยงสังสรรค์/ช็อปปิ้ง

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

ช่วงเทศกาลแบบนี้จะไม่ช็อปปิ้ง จะไม่กินเลี้ยงก็คงเป็นไปได้ยาก ยิ่งช่วงที่ราคาสินค้าตอนนี้พุ่งสูงมากทั้งเนื้อหมู ผักสด ผลไม้ รวมถึงบุหรี่ และแอลกอฮอลล์ต่างๆ ราคาก็เพิ่มสูงมาก จึงต้องเป็นหน้าที่ของเราเองที่จะวางแผนใช้จ่ายในส่วนนี้อย่างรัดกุมแต่คาดว่าอย่างน้อยก็ต้องมีงบในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 -5,000 บาท

5.ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่างๆ

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่น่าจะต้องมีเหล่านี้ก็ยังเชื่อว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่อยู่เหนือความคาดหมายอีกหลายอย่าง ยิ่งเป็นเทศกาลหยุดยาวแบบนี้ถ้าเดินทางไปต่างจังหวัดหรือท่องเที่ยวในที่ต่างๆ อาจมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นได้ โดยรวมแล้วการตั้งงบสำหรับการท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ควรเผื่อเหลือไว้สักเล็กน้อยด้วย

ใช้จ่ายอะไรมากที่สุด

ภาพจาก freepik.com

ทั้งนี้ได้คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับการเลี้ยงสังสรรค์ ค่าอาหารและเครื่องดื่มปีนี้จะปรับเพิ่มขึ้นจาก 2,000 บาทต่อคนในปีที่แล้ว เป็น 3,000 บาทต่อคน ซึ่งสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติ กรรมจากปีที่แล้วที่ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อวัตถุดิบมาปรุงเองหรือสั่งซื้ออาหารมารับประทานที่บ้าน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเลี้ยงสังสรรค์ รับประทานอาหารโดยรวมขยายตัวมากขึ้น

สำหรับการใช้จ่ายซื้อสินค้าและของขวัญในช่วงส่งท้ายปี 64 น่าจะฟื้นตัวจากภาวะหดตัวในปีก่อนที่ประชาชนปรับลดงบประมาณการช็อปปิ้ง สอดคล้องกับผลสำรวจที่ผู้ตอบแบบสำรวจ 70% ของกลุ่มตัวอย่าง มีแผนจะซื้อสินค้าด้วยงบประมาณเท่าเดิมหรือมากกว่าปีก่อน และมากกว่า 20% คิดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น หากภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกในช่วงที่เหลือของปีจนถึงต้นปี 65

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/33A6ZKr , https://bit.ly/3H0u7jP , https://bit.ly/3mm8jak , https://bit.ly/3ecV4V6 , https://bit.ly/3yKieLX

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sEPxiG


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด