โลก 2 ด้าน คนมอง 2 ขั้ว “โชห่วย” ยิ่งอยู่ ยิ่งเหนื่อย “สะดวกซื้อ” ยิ่งทำ ยิ่งปัง!

หลายคนคิดว่า “โชห่วย” กำลังถูกกลืนกินโดย “ร้านสะดวกซื้อ” หรือร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น 7-Eleven, Mini Big C, CJ More, Lawson 108, Lotus go Fresh และ Tops Daily ที่พึ่งเขย่าตลาดร้านสะดวกซื้อในไทย เปิดโมเดลขายแฟรนไชส์ทั่วประเทศ แต่ว่าเรื่องนี้มีความเป็นความไปได้มากแค่ไหน มาดูกัน

โชห่วย

โชห่วย

ยุคที่ร้านสะดวกซื้อผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด จนแทบจะมองไม่เห็นร้านโชห่วยตามชุมชนต่างๆ แล้ว แต่ยังมีร้านโชห่วยจำนวนมากอยู่รอด และสามารถแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อได้ จนมัดใจลูกค้าในแต่ละชุมชนไว้ได้อย่างเหนียวแน่น โดยใช้เสน่ห์แบบดั้งเดิม ที่บรรดาร้านสะดวกซื้อไม่มี อาทิ

  • มีความใกล้ชิดกับลูกค้าในชุมชน
  • สะดวกเดินไปซื้อของ อยู่ปากซอยใกล้บ้าน
  • สินค้าราคาเป็นกันเอง ต่อรองราคาได้
  • มีสินค้าท้องถิ่นหายาก พืชผัก ข้าวสาร อาหารแห้ง รวมถึงอุปกรณ์ในครัวต่างๆ
  • สินค้าหลายๆ อย่างแบ่งขายได้ เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำแข็ง บุหรี่ เหล้า
  • ซื้อสินค้าวันนี้ จ่ายวันหลัง หรือสิ้นเดือนได้
  • มีสินค้าที่ต้องการเฉพาะ และเป็นที่ต้องการของคนในชุมชน
  • มีความคุ้นเคยหรือมีความสัมพันธ์ที่ดีเสมือนญาติพี่น้อง
  • เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน หลายร้านทำโต๊ะ ที่นั่งให้ลูกค้า นั่งกิน นั่งได้อย่างสบายใจ

ข้อเสียของร้านโชห่วยทำให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าร้านสะดวกซื้อ บางร้านมีสินค้าให้เลือกน้อย วางสินค้าไม่สวยงาม ไม่ค่อยสะอาด ไม่สว่าง บางร้านมีหมา มีแมวในร้าน สินค้าอาจจะหมดอายุ ไม่มีคุณภาพ ไม่สดใหม่ สินค้าเก่าหมุนเวียนเปลี่ยนไม่ได้ ไม่มีอำนาจต่อรองกับบริษัทหรือผู้ขายส่งได้ จึงทำให้จะต้องดั้นด้นขายเท่าที่มีให้หมดไปเพราะทุกชิ้นเป็นต้นทุน

สะดวกซื้อ

โชห่วย

ส่วนเสน่ห์ของ “ร้านสะดวกซื้อ” ที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้บริการแทนโชห่วย

  • สะดวกซื้อ เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
  • สินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน สดใหม่ ทันสมัย สะอาด
  • มีสินค้ามากมาย ทั้งของกิน ของใช้ เครื่องดื่มหลากหลาย
  • จัดวางสินค้าสวยงาม เป็นระเบียบ หยิบจับสินค้าได้ง่าย
  • ติดแอร์ เย็นสบาย แสงไฟสว่างไสว
  • มีสินค้าโปรโมชันตลอดเวลา
  • ทำธุรกรรมทางการเงินได้หลากหลาย
  • มีบริการเดลิเวอรี่ จัดส่งฟรี
  • มีบริการชำระเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ ทั้งจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่างวดรถ เเละอื่นๆ
  • ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่มีตู้เอทีเอ็ม เงินหมด กดแล้วเดินเข้าร้านได้เลย
  • ร้านสะดวกซื้อเป็นสถานที่แลกเงินแบงก์ใหญ่ได้

แม้ร้านสะดวกซื้อจะมีข้อได้เปรียบร้านโชห่วยอยู่มากมาย แต่จุดด้อยก็มีเช่นกัน อาทิ ร้านเปิด 24 ชั่วโมงก็ตามแต่บางร้านอยู่ไกลที่พัก ยากต่อการเดินทางไปซื้อ พนักงานบางร้านหน้าไม่รับแขก พูดจาไม่ดี ไม่ใกล้ชิดกับลูกค้า บางร้านพนักงานเมินเฉย ทำงานอื่นไม่มาบริการลูกค้าก่อน ทำให้ลูกค้าต้องต้องยืนรอนาน สินค้าบางรายการหมดบ่อย

โชห่วยจะรอดมั๊ย?

โชห่วย

เมื่อสารพัดข้อได้เปรียบของร้านสะดวกซื้อมีมากกว่าร้านโชห่วย แล้วโชห่วยจะสูญพันธุ์มั๊ย ถ้าโชห่วยศูนย์พันธุ์ ทำไม Makro มียอดขายเติบโตทุกปีกว่า 80% เพราะเรารู้กันอยู่แล้วว่า Makro เน้นขายสินค้าให้โชห่วย

จากข้อมูลกรมธุรกิจการค้า ปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีร้านโชห่วยขนาดเล็กราวๆ 400,000 ร้าน ขนาดกลางจำนวนกว่า 18,000 ร้าน ร้านค้าปลีกกลุ่มใหญ่ในไทยยังเป็นร้านโชห่วย ครองส่วนแบ่งตลาด 44% ร้านสะดวกซื้อ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เกต 24.1% ร้านโชห่วยเป็นร้านเก่าแก่อยู่มานานส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น แม้จะมีปิดตัวลงไปบ้าง แต่ก็มีร้านเปิดใหม่มากทดแทน เห็นได้จัดเจนร้านโชห่วยในชุมชนต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ยังเปิดขายได้อย่างสบาย

โชห่วย

ส่วนสาเหตุที่ร้านโชห่วยหลายๆ ร้านสูญพันธุ์ อาจเป็นเพราะรุ่นลูกไม่สานกิจการต่อจากรุ่นพ่อแม่ แต่ถึงอย่างไรถ้าร้านโชห่วยอยากอยู่รอดมีลูกค้าใช้บริการเป็นประจำ ควรยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้กับร้าน ปรับปรุงตกแต่งร้านให้สวยงาม หาบริการเสริมและสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการลูกค้า หรือหาสิ่งดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการที่ร้าน เช่น ตู้กดน้ำดื่มหยอดเหรียญ, ตู้เติมเงิน, ตู้เติมน้ำมัน, บริการโอนเงิน, เข้าร่วมโครงการของรัฐ, นำเทคโนโลยีมาใช้ในร้าน

สุดท้ายแล้ว ร้านโชห่วยจะอยู่รอดได้ ไม่สูญพันธุ์ อยู่ที่การปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย คงเสน่ห์ความดั้งเดิมและความใกล้ชิดกับสังคมไทยที่อยู่กันอย่างญาติพี่น้อง มอบสินค้าและบริการลูกค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้า

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช