โรคลมชักในเด็กรู้ก่อนรักษาได้ ไม่ต้องใช้ยาตลอดชีวิต
บ้านไหนที่มีลูกเล็ก สิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษนอกจากเรื่องของอาหารการกินแล้ว ก็คงจะเป็นเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาจจะเป็นโรคติดต่อที่มาจากโรงเรียน ตลอดไปจนถึงอาการผิดปกติภายในร่างกายของเด็กๆ เองที่พ่อแม่สมัยนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หนึ่งในอาการนั้นก็คือโรคลมชักในเด็ก หรือที่คนสมัยก่อนมักจะคุ้นหูกับคำว่าโรคลมบ้าหมู โรคลมชัก มักพบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึง 6 ปี แต่จะมีอะไรที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคลมชักในเด็กบ้าง บทความนี้อาสานำเอาข้อมูลดีๆ มาแชร์กัน
สาเหตุและที่มาของโรค
เริ่มต้นที่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่พ่อแม่มือใหม่อยากรู้มากที่สุดก็คือโรคลมชักในเด็กนั้นเกิดจากอะไร ส่วนใหญ่แล้วอาจจะมาจากการที่คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นลมชักมาก่อน ตลอดไปจนถึงสมดุลเกลือแร่ในร่างกายเด็กผิดปกติ มีการสูญเสียเกลือแร่เยอะอาจจะมาจากท้องเสีย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือเด็กที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะจนทำให้เกิดภาวะในสมองก็อาจส่งผลให้เกิดโรคลมชักในเด็กได้เช่นกัน
อาการชัก
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทราบเกี่ยวกับโรคลมชักในเด็กนั่นก็คืออาการของโรค เพื่อที่จะได้สังเกตลูกได้ทัน สำหรับอาการของโรคนี้คือจะมีการชักกระตุกไปทั่วทั้งตัวเป็นจังหวะเดียวกัน แต่ก่อนจะกระตุกเด็กอาจจะมีอาการเหม่อลอย หมดสติ แล้วตามด้วยการชักกระตุกเป็นครั้งๆ ร่วมกับอาการเกร็ง ซึ่งในระหว่างเกิดโรคลมชักในเด็กนั้น จะไม่มีการรับรู้หรือตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมรอบนอกแต่อย่างใด
วิธีการรับมือ
เมื่อสังเกตและพบว่าลูกของตัวเองเริ่มมีอาการโรคลมชักในเด็กตามอาการชักที่ได้เกริ่นไปในข้างต้นแล้ว วิธีการที่พ่อแม่ควรรับมืออันดับแรกคือจับเด็กนอนราบแล้วตะแคงศีรษะไปที่ด้านข้าง จากนั้นให้ระบายของเหลวหรือสิ่งที่อยู่ในปากเด็กออกมาให้หมด หลีกเลี่ยงการสอดใส่วัตถุต่างๆ เข้าไปในปากตามที่เคยบอกต่อๆ กันมาว่าป้องกันไม่ให้เด็กกัดลิ้น และโดยปกติแล้วโรคลมชักในเด็กนั้นมักจะไม่เกิน 5 นาที หลังจากอาการชักหยุดแล้วให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
สำหรับโรคลมชักในเด็กนั้นเป็นอาการที่ต้องพบแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แพทย์เฝ้าติดตามและประเมินอาการ ตลอดไปจนถึงตัวเด็กเองก็จำเป็นต้องรับยากันชักซ้ำ ส่วนสิ่งที่พ่อแม่จะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดโรคลมชักในเด็กซ้ำนั่นก็คือควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กมีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศา อย่างน้อยให้รีบเช็ดตัวหรือรับประทานยาเพื่อให้ไข้ลดก่อนที่จะเกิดโรคลมชักในเด็กซ้ำขึ้นอีกครั้ง ส่วนเด็กที่รับประทานยากันชักตามคำสั่งแพทย์นั้นจะต้องรับยาอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยๆ 2 ปีจนกว่าอาการชักจะหายไปเอง