โคตรทรงพลัง! ตู้สั่งอาหาร McDonald’s บริการลูกค้ากว่า 35 ล้านคน

McDonald’s ก่อตั้งมานานกว่า 76 ปีตอนนี้คือแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดอันดับ 1 ของโลก นับรวมสาขาทั่วโลกมากกว่า 41,000 แห่ง มีพนักงานทั่วโลกรวมกว่า 2.2 ล้านคน และมียอดรวมลูกค้าทั่วโลกที่เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 65 ล้านคนต่อวัน โดยมีมูลค่าทางการตลาดในปี 2023 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.07 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งความสำเร็จของ McDonald’s ไม่ได้สร้างในเวลาอันสั้นแต่ให้ระยะเวลาบ่มฟัก และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายปัญหา แต่ก็ต้องยอมรับว่า McDonald’s เป็นแบรนด์ที่ทำกลยุทธ์การตลาดได้เก่งมาก จุดเด่นที่แบรนด์แฟรนไชส์อื่นๆควรศึกษาเอาไว้ เช่น

  • การรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการให้เหมือนกันทั่วโลก
  • การตั้งราคาที่ลูกค้ายอมจ่าย (value-based pricing strategy) โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาราคาให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของแต่ละกลุ่ม
  • การวาง brand positioning ให้เข้ากับผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัยไม่ได้เฉพาะเจาะจงกลุ่มใดเป็นหลัก
  • การสร้าง Brand image และ Brand identity ที่แข็งแกร่ง
  • การใช้เทคนิค Localization ปรับสินค้าให้เข้ากับท้องถิ่นของแต่ละประเทศ
  • พัฒนาธุรกิจให้ทันยุคสมัยต่อเนื่อง (Digital Transformation)

ตู้สั่งอาหาร

ภาพจาก https://bit.ly/3zvzvNE

โดยเฉพาะในเรื่องของ Digital Transformation ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ McDonald’s ไม่เคยตกยุค ตกเทรนด์แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม ถ้าลองไล่เรียงตั้งแต่อดีตพบว่ามีหลายเทคโนโลยีที่ McDonald’s นำมาปรับใช้ได้แก่

  • ปี 2015 เปิดตัวแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ลูกค้าสามารถหา Location ของร้านได้
  • ปี 2016 เปิดตัว Self-Ordering Kiosks ตู้สั่งอาหาร อัตโนมัติในร้านสาขา
  • ปี 2019 เข้าซื้อกิจการของ Apprente บริษัทผู้พัฒนาระบบเสียงสั่งการ AI เพื่อมายกระดับบริการ Drive-Thru

ตู้สั่งอาหาร

ภาพจาก https://bit.ly/4ekd4dK

ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้คือกลยุทธ์ที่ไม่ใช่แค่ทำให้ McDonald’s เป็นหนึ่งในใจลูกค้า แต่ยังมีบทบาทในการเพิ่มยอดขายได้อย่างไม่น่าเชื่อ หากดูข้อมูลในปี 2022 ระบุว่า McDonald’s ทำยอดขายทั่วโลกจากการขายสินค้าผ่านบริการดิจิทัลได้กว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยเป็นรายได้ที่มาจาก Self-Ordering Kiosks มากกว่า 30% หรือถ้าเทียบเป็นปริมาณลูกค้าจะเห็นว่า McDonald’s มีลูกค้าทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 69 ล้านคน และลูกค้าส่วนใหญ่สั่งสินค้าผ่านระบบดิจิทัลกว่า 35 ล้านคนในจำนวนนี้คือการสั่งผ่าน Self-Ordering Kiosks ที่อยู่ตามหน้าร้านของแต่ละสาขาด้วย

เหตุผลสำคัญที่ลูกค้านิยมใช้บริการ ตู้สั่งอาหาร หรือ Self-Ordering Kiosks ของ McDonald’s เพราะไม่อยากต่อแถวรอคิวสั่งอาหาร เป็นกรณีศึกษาที่พบว่า 70% ของลูกค้าเลือกที่จะไม่รอต่อแถวที่มีคิวเกินกว่า 7 คน แถมยังทำให้ความอยากอาหารลดลง ตู้สั่งอาหาร อัตโนมัติเข้ามาเติมเต็มในเรื่องนี้ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังพบว่า ในการสั่งผ่าน Self-Ordering Kiosks จะเป็นออเดอร์ที่ราคาสูงกว่าสั่งกับเคาน์เตอร์มากถึง 20-30%

และประโยชน์ทางอ้อมที่ได้จากตู้กดสั่งอาหารอัตโนมัติคือ ยิ่งมีผู้ใช้งานผ่าน Self-Ordering Kiosks เพิ่มมากขึ้นยิ่งทำให้ McDonald’s มีข้อมูลการสั่งสินค้าจำนวนมากของลูกค้า โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปพัฒนาหน้า Interface ของตู้ และปรับเปลี่ยนการนำเสนอสินค้าตามข้อมูลที่ได้มาจากลูกค้าในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ลูกค้าสั่งของมากขึ้นได้อีกด้วย

ภาพจาก https://bit.ly/4dckrSY

สำหรับ McDonald’s ในประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้าเรื่องนี้บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าวว่า แมคโดนัลด์ได้เร่งขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยมีแผนเปิดสาขาใหม่ 10-15 สาขา และได้ทยอยปรับสาขาทั้งหมดให้มีตู้ Mc Easy Order เครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติ (Self-Ordering Kiosk) ในทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าสั่งอาหารและจ่ายเงินได้ทันที สอดคล้องกับกลยุทธ์ Feel good moment ที่พร้อมร่วมสร้างความสุขให้แก่ลูกค้าทั่วประเทศ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด