แฟรนไชส์ไทย ปี 64 มีแบรนด์ไหน น่าซื้อบ้าง?
คนที่อยากมีธุรกิจแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร? ขอแนะนำให้เลือกลงทุนกับแฟรนไชส์ ที่มีหลากหลายรูปแบบทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ธุรกิจบริการ การศึกษา โดยทุกแฟรนไชส์มีการวางระบบบริหารจัดการที่ดี มีทีมงานคอยให้ความช่วยเหลือผู้ลงทุน สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะลงทุนแฟรนไชส์ไหนดี
www.ThaiSMEsCenter.com มี 7 แฟรนไชส์ไทย น่าซื้อในปี 2564 มานำเสนอเป็นทางเลือกโดยทุกแฟรนไชส์สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับผู้ลงทุนได้แน่นอน
1.บิวตี้เซ็นเตอร์ (บีโค้)
ภาพจาก แฟรนไชส์ บิวตี้เซ็นเตอร์ (บีโค้)
สินค้าออนไลน์คือช่องทางลงทุนที่ง่ายที่สุด โดยบิวตี้เซ็นเตอร์ (บีโค้) เป็นแฟรนไชส์ออนไลน์ขายครื่องสำอางความสวยงามทุกชนิด เช่น เครื่องสำอางค์ make up ทุกชนิด, ครีมบำรุงผิวทุกชนิด, อาหารเสริม, บิ๊กอาย และอุปกรณ์เกี่ยวกับความสวยทุกชนิด สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งแบบออนไลน์และการเปิดร้านสาขา ในส่วนของการขายออนไลน์ผู้ลงทุนใช้งบลงทุนเพียง 9,900 บาท
สิ่งที่จะได้รับคือเว็บไซต์ที่จัดทำอย่างสวยงาม ให้ผู้ลงทุนนำไปโปรโมท ด้วยวิธีที่ทางแฟรนไชส์สอนและอบรมให้ ซึ่งภายในเว็บไซต์จะมีระบบการขายอย่างมืออาชีพ มีการอัพเดทสินค้าให้อย่างต่อเนื่อง มีสินค้าครบทุกหมวดหมู่กว่า 1,000 – 2,000 รายการ เมื่อมีคนสนใจสินค้า และมีการสั่งซื้อ เราสามารถให้ทางแฟรนไชส์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้ในนามของเราได้ เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจในยุคออนไลน์เฟื่องฟู หรือสนใจอยากเปิดหน้าร้าน ขายเพิ่มรายได้อีกช่องทางหนึ่งก็ได้
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/35Fdz05
โทร.081-9871-422, 063-4788-880, 080-9071-389
2.ร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัสและเซเว่นอีเลฟเว่น
ภาพจาก www.facebook.com/extaplus/
การลงทุนแฟรนไชส์ร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัสและเซเว่นอีเลฟเว่น คือความฝันของหลายคน เพราะมองว่านี่คือแฟรนไชส์ที่บริหารงานโดยมืออาชีพ มีผลงานชัดเจนและมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัสและเซเว่นอีเลฟเว่น ในเครือของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าประเภทยา สินค้าสุขภาพ/สมุนไพร อาหารเสริมและเวชสำอาง โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะเน้นเรื่องของคุณภาพของสินค้า จะมีเภสัชกรประจำที่พร้อมจะให้คำปรึกษากับลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 2,330,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าอุปกรณ์ในร้าน , การตกแต่งภายใน , ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยผู้สนใจลงทุนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของทางแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด แต่ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและจะกลายเป็นธุรกิจที่ดีให้กับตัวเองได้อย่างแน่นอน
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3vLsIrp
โทร. 091-8080762, 091-8080763, 091-8080764, 02-0714174-7
3.ออฟฟิศเมท พลัส
ภาพจาก www.officemate.co.th/
ออฟฟิศเมท พลัส แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อเพื่อธุรกิจแห่งแรกของไทย ที่ตอบโจทย์ทั้งลูกค้าธุรกิจ (B2B) และลูกค้าทั่วไป (B2C) อย่างครบวงจรในที่เดียว ก่อตั้งโดยบริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ด้วยสโลแกน “ครบ ง่าย เร็ว” ให้คนลงทุนขายสินค้าเกี่ยวกับออฟฟิศได้ครบครันกว่า 60,000 รายการ ง่าย” ด้วยระบบจัดการร้านมาตรฐานสากล พร้อมช่องทางการขายที่ให้คุณสร้างรายได้ 24 ชั่วโมง และเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ที่พร้อมให้คำแนะนำด้านทำเล การจัดการร้าน การขายและการตลาด รวมถึงฝึกอบรมพนักงานอย่างมืออาชีพ
ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 85 แห่งค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 600,000 บาท ใช้งบในการลงทุน 2,900,000 – 5,900,000 บาท โดยผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องขายหน้าร้านอย่างเดียวสามารถขายผ่านระบบออนไลน์หลังร้านได้ด้วย
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3vN5Uay
โทร. 099-1285000
4.นพรัตน์ 20
ภาพจาก facebook.com/nopparat20
สินค้าราคาประหยัดคือสิ่งที่คนต้องการมากในยุคนี้ โดย นพรัตน์ 20 เป็นแฟรนไชส์ร้านสินค้าราคาเดียวที่มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 288 แห่ง โดยมีสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำของทุกๆคน อาทิ เช่น สินค้าพลาสติกต่างๆ จานชาม เมลามีน เซลามิก สินค้าเครื่องครัว สินค้าเครื่องเขียนสำนักงาน สินค้าเครื่องมือช่าง ของเด็กเล่น สินค้าตกแต่งบ้าน เป็นต้น ผู้สนใจสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนได้ตามต้องการ
งบในการลงทุน 190,000 – 1,740,000 บาท หรือถ้าเลือกขายส่งเฉพาะสินค้าอย่างเดียวไม่เปิดร้านก็ลงทุนเริ่มต้นที่ 10,000 บาทเท่านั้น โดยทางแฟรนไชส์มีสินค้าใหม่อัพเดทให้อย่างต่อเนื่องและมีทีมงานมืออาชีพคอยให้การดูแลให้คำปรึกษาแก่ผู้ลงทุนทุกคนเป็นอย่างดี
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3qfOemI
โทร. 081-3470413, 081-5849887
5.ทัดดาวทุกอย่าง 20
ภาพจาก facebook.com/TADDAOSUPER/
แฟรนไชส์ทัดดาวทุกอย่าง 20 เน้นส่งเสริมให้คนสนใจสามารถเปิดร้านสินค้าราคาประหยัดได้อย่างมืออาชีพ โดยมีสินค้าครบทุกหมวดหมู่ ครบทุกความต้องการทั้งกระเป๋าต่างๆ , ผ้าและเครื่องนุ่งห่ม , เครื่องมือช่าง , ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน , อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน , เครื่องเขียนต่างๆ , ของเล่น เป็นต้น
ปัจจุบันมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องโดยมีสาขาทั่วประเทศกว่า 99 แห่ง ผู้สนใจสามารถเลือกลงทุนได้หลายแพคเกจ งบในการลงทุนเริ่มต้น 79,000 – 699,000 บาท โดยราคาแพ๊คเกจดังกล่าวรวมค่าสินค้าและอุปกรณ์ทุกอย่างแล้ว รวมถึงมีพนักงานผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปจัดร้านให้เสร็จสมบูรณ์
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3xEFZn4
โทร. 092-6878777, 02-1013661
6.ไอดูโฟร์ไอเดีย
ภาพจาก facebook.com/ido4idea
ไอดูโฟร์ไอเดีย เป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องพิมพ์ภาพลงบนวัสดุที่สามารถพิมพ์ภาพลงบนวัสดุได้อย่างหลากหลาย ทำเป็นสินค้าไอเดียได้มากมาย ทั้งการสกรีนภาพลงบนแก้ว จาน กระเป๋า หมวก เสื้อยืด พวงกุญแจ กระจก หมอน ฯลฯ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า สร้างกำไรได้มากกว่า 600 – 1,200%
ผู้สนใจลงทุนสามารถเลือกรูปแบบของเครื่องพิมพ์ภาพได้ตามต้องการ ราคาตามความเหมาะสม ซึ่งทางแฟรนไชส์นอกจากจำหน่ายเครื่องพิมพ์ภาพ ยังมีคอร์สที่สอนเทคนิคการพิมพ์ภาพ สอนการทำตลาดออนไลน์ เพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถมีความรู้ได้อย่างครบวงจร เหมาะสำหรับคนอยากทำเป็นอาชีพเสริมหรือคนที่กำลังมองหาอาชีพออนไลน์ที่ขายง่ายขายดี
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3vKUTXa
โทร. 095-9456241, 086-6296554, 02-1984465 ต่อ 140
7.ไอดับเบิ้ลยูจี พีแอลซี
ภาพจาก ไอดับเบิ้ลยูจี พีแอลซี
ไอดับเบิ้ลยูจี พีแอลซีป็นผู้นำด้านการให้บริการพื้นที่สำนักงานให้เช่าแบบยืดหยุ่นและ Co-Working Space อันดับหนึ่งของโลก ให้บริการในเรื่อง ออฟฟิศสำเร็จรูปที่ ลูกค้าสามารถปรับขนาดพื้นที่ห้องให้เหมาะกับจำนวนคนได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ หรือการทำเป็น Co-Working Space ในการใช้พื้นที่ร่วมกัน และยังมี Virtual Office บริการออฟฟิศเสมือนช่วยให้ลูกค้ามีที่อยู่จดทะเบียนบริษัท หมายเลขโทรศัพท์ในพื้นที่ ตลอดจนการจัดการรับสายโทรศัพท์ รับพัสดุ ตอบอีเมล์ และการช่วยเหลืองานบริหารจัดการ
ปัจจุบันมีสาขาในประเทศไทยรวมกว่า 30 แห่ง ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 1,500,000 บาท โดยมีทีมงานคุณภาพคอยวางระบบและให้คำปรึกษา วิเคราะห์ทำเลให้อย่างมืออาชีพ
สนใจลงทุนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3xAOqiV
โทร. 086-0789797 , 02-0986100
การลงทุน แฟรนไชส์ไทย มีข้อดีคือลดระยะเวลาในการเริ่มต้นให้เราเริ่มมีธุรกิจของเราได้ทันที สามารถต่อยอดสร้างรายได้ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ หลายแฟรนไชส์มีฐานลูกค้าชัดเจน และมีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา การลงทุน แฟรนไชส์ไทย ยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐให้คนไทยหันมาสนใจลงทุนมากขึ้น เพราะเชื่อว่าจะทำให้คนไทยมีรายได้จากธุรกิจ แฟรนไชส์ไทย ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้ด้วย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2SWZsR2
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)