แฟรนไชส์โดนัทคริสปี้ ครีม ทำไมต้องเป็นของฝากจากกรุงเทพฯ
โรตีบอย คริสปี้ครีม ไอศกรีมกูลิโกะ เคยสร้างปรากฏการณ์ให้คนเข้าคิวต่อแถวซื้อมาแล้ว โดยเฉพาะคริสปี้ครีม แฟรนไชส์โดนัทชื่อดังจากประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเป็นกระแสคนพูดถึงกันมาก กำลังขึ้นแท่นเป็นของฝากจากกรุงเทพฯ ที่คนจะกลับต่างจังหวัดซื้อไปฝากคนที่บ้านไปเสียแล้ว โดยเฉพาะคนที่เดินทางภายในประเทศด้วยเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง
ต้องต่อแถวซื้อคริสปี้ครีมจากร้านใกล้ประตูทางออกเป็นของฝากขึ้นชื่อกลับบ้าน ทำให้หลายคนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่าทำไมคริสปี้ครีมที่เป็นขนมโดนัทธรรมดาเหมือนยี่ห้ออื่น ที่สามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจึงกลายเป็นของฝากขึ้นชื่อของกรุงเทพฯ ที่คนต้องซื้อกลับไปฝากคนที่บ้านจนเป็นที่ฮือฮาในตอนนี้
ภาพจาก FB : Krispy Kreme Thailand
ย้อนกลับไปคริสปี้ครีมเข้ามาเปิดสาขาแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2553 ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน สร้างปรากฏการณ์มีการต่อคิวซื้อกันนานหลายชั่วโมง จนมีอาชีพรับจ้างหิ้วโดนัทคริสปี้ครีมเกิดขึ้นเลยทีเดียว ก่อนที่จะขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันมีสาขารวมกันทั้งสิ้น 57 สาขา
โดยสาขาของคริสปี้ครีมในพื้นที่ต่างจังหวัดจะมีเพียงแค่ พัทยา ระยอง จันทบุรี ชลบุรี อยุธยา นครราชสีมา และนครสวรรค์ ส่วนเมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ และภูเก็ต ยังไม่มีสาขาของคริสปี้ครีมไปเปิด
นั่นจึงเป็นสาเหตุให้คนที่เดินทางกลับต่างจังหวัดโดยเครื่องบินจำเป็นต้องซื้อคริสปี้ครีมกลับไปเป็นของฝาก เหมือนแคปหมูจากเชียงใหม่ ซึ่งคริสปี้ครีมกลายเป็นของหายากสำหรับคนในพื้นที่ต่างจังหวัด ไม่เหมือนโดนัทยี่ห้ออื่นที่หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ
คริสปี้ ครีม ถูกนำเข้ามาในรูปแบบมาสเตอร์แฟรนไชส์ภายใต้การบริหารของ “คุณอุษณีย์ มหากิจศิริ ลีโอณีโอ” ผู้บริหารบริษัท เคดีเอ็น จำกัด บริษัทลูกใต้ร่ม บริษัท เคเอฟยู จำกัด ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบขาดแคลน ขยายสาขาน้อย
คนมักต้องการสิ่งที่หามายาก จำกัดด้วยเวลา ปริมาณ การเข้าถึง การเป็นของดีพิเศษ อร่อย เป็นของที่คนต้องการสูง โดยอิงกับหลักจิตวิทยาอย่าง “Scarcity Effect” ของอะไรที่ได้มายาก คนจะรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม อยากครอบครอง
จะเห็นได้ว่า คริสปี้ครีม ช่วงเปิดสาขาแรกที่สยามพารากอนเคยเป็นของหายากสำหรับคนกรุงเทพฯ จนต้องมีการจ้างคนไปต่อคิวนานหลายชั่วโมง เพื่อซื้อโดนัทคริสปี้ครีมที่หลายคนบอกว่ารสชาติอร่อยแตกต่างจากโดนัทยี่ห้ออื่น
ใครที่ได้กินหรือครอบครองในตอนนั้นมักจะถ่ายรูปแชร์ต่อกันไปเรื่อยๆ จนเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์อยู่พักหนึ่ง จนกระทั่งครสิปี้ครีมมีการขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทำให้คริสปี้ครีมไม่ใช่ของหายากสำหรับคนในกรุงเทพฯอีกต่อไป
รายได้ของคริสปี้ครีม
ภาพจาก FB : Krispy Kreme Thailand
- ปี 2563 รายได้รวม 646 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19.9 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้รวม 692 ล้านบาท กำไรสุทธิ 22 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้รวม 871 ล้านบาท กำไรสุทธิ 28 ล้านบาท
สรุป สาเหตุที่ทำให้คริสปี้ครีมกลายเป็นของฝากจากกรุงเทพฯ มาจาก
- เป็นโดนัทที่อร่อยกว่ายี่ห้ออื่นๆ นุ่มกว่า ของดีหาซื้อได้ยาก และไม่มีสาขาในต่างจังหวัด ไม่เหมือนกับโดนัทยี่ห้ออื่นมีแทบทุกจังหวัด จึงไม่แปลกที่คนกลับต่างจังหวัดจะซื้อไปฝากคนที่บ้าน
- คริสปี้ครีมเปิดขายที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ราคาไม่แพงมากนัก ทำให้คนที่อยากทานอยู่แล้วซื้อได้ง่ายก่อนขึ้นเครื่อง ร้านอยู่หน้าเกตพอดีสามารถซื้อแล้วหิ้วขึ้นเครื่องได้เลย สะดวกสบาย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ข้อมูลจาก
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)