แฟรนไชส์แบบตึกเต้าหู้! สิ่งที่คนไทยต้องระวัง! ในการลงทุน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะในตลาดคอนโดมิเนียมที่คาดว่ามีมูลค่ากว่า 458,390 ล้านบาทประชาชนเกิดความไม่แน่ใจทำให้เกิดการชะลอตัวซื้อขายและสิ่งที่รุนแรงสุดจากเหตุการณ์นี้คือการที่ตึกของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ที่กำลังก่อสร้างได้พังถล่มลงมา

ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่าเป็น “โครงการกากเต้าหู้” (Tofu-dreg project) หรือ “ตึกเต้าหู้” (Tofu building) หรือไม่

คำว่าตึกเต้าหู้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยนายกรัฐมนตรี จู หรงจี ในปี 1998 ซึ่งได้กล่าวระหว่างเยี่ยมชมเขื่อนกั้นน้ำริมแม่น้ำแยงซีเกียงว่า เขื่อนกั้นน้ำเหล่านี้เปราะบางและมีรูพรุนเหมือนกากเต้าหู้ซึ่งเป็นเศษที่เหลือจากกระบวนการผลิตเต้าหู้ลักษณะสำคัญของตึกเต้าหู้ ได้แก่ การใช้วัสดุคุณภาพต่ำหรือไม่เหมาะสม

ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานและระเบียบข้อบังคับของอาคาร การดูแลและการจัดการที่ไม่เพียงพอในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง ส่งผลให้มีละเลยรายละเอียดที่สำคัญ และจุดอ่อนของโครงสร้างที่สำคัญ ซึ่งทำให้ตัวอาคารไม่ปลอดภัยและมีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายหรือพังทลาย

และจากคำว่า “ตึกเต้าหู้” ที่ว่านี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบในการลงทุนแฟรนไชส์ ก็เป็นอีกมุมมองที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งที่คนต้องการลงทุนควรพึงระวังไว้ แฟรนไชส์ไหนที่ระบบโครงสร้างการบริหารจัดการไม่แข็งแรง แต่ฉวยโอกาสเปิดขายแฟรนไชส์อาจทำให้คนลงทุนต้องประสบเคราะห์กรรม ชีวิตทางธุรกิจอาจพังทลายในอนาคตได้เช่นกัน

ถ้าย้อนดูในอดีตก็มีหลายเหตุการณ์ แฟรนไชส์แบบตึกเต้าหู้ ที่เป็นบทเรียนให้คนลงทุนได้จดจำเป็นกรณีศึกษาเช่น

1.ทิม โฮ วาน ไปไม่รอดในเมืองไทย

แฟรนไชส์แบบตึกเต้าหู้
ภาพจาก www.facebook.com/TimHoWanTH

ร้าน Tim Ho Wan (ทิม โฮ วาน) ติ่มซำระดับมิชลิน สตาร์ ร้านอาหารแฟรนไชส์จากฮ่องกงจากมีอยู่ทั้งหมด 4 สาขา ได้เริ่มทยอยปิดสาขาอำลาประเทศไทย โดย ที่ IconSiam ถือเป็นสาขาสุดท้ายที่ปิดตัวไปตั้งแต่ปี 67 เนื่องด้วยปัญหาจากหลายปัจจัยที่ทำให้ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า

2.ดารุมะ ขายแฟรนไชส์ทิพย์

แฟรนไชส์แบบตึกเต้าหู้
ภาพจาก https://bit.ly/4j2GZJq

และก็ไม่ใช่แค่แฟรนไชส์จากต่างประเทศที่จะเป็นแฟรนไชส์แบบตึกเต้าหู้ ในไทยเองก็มีหลายแบรนด์ที่ต้องระวัง เช่นในปี 2565 ที่ร้านบุฟเฟต์อย่างดารุมะซูชิปิดขาย Voucher ราคาถูกเพียง 199 บาท จนคนแห่เข้ามาจองซื้อจำนวนมากก่อนที่เจ้าของแบรนด์จะหายไปอย่างไร้ร่องลอย และยังหลอกให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนซื้อเปิดร้านในรูปแบบแฟรนไชส์ที่ไม่ถูกต้อง เพราะผู้สนใจแฟรนไชส์เพียงมีสถานที่ มีเงินลงทุน 2-2.5 ล้านบาท

ไม่รวมตกแต่งร้าน ไม่ต้องลงมือบริหารเอง เจ้าของแบรนด์จัดหาพนักงานให้ สั่งซื้อ-จัดส่งวัตถุดิบ บริหารจัดการให้ ผู้ลงทุนนั่งรอรับเงินส่วนแบ่ง 10% จากยอดขาย 1 ล้านบาท ที่ได้แต่ละเดือนเท่านั้น ซึ่งระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง ผู้ลงทุนต้องบริหารธุรกิจเอง และจ่ายค่าสิทธิให้แก่เจ้าของแบรนด์ด้วย กรณีดังกล่าว พบว่ามีผู้ที่ได้ผลกระทบไม่ต่ำกว่าพันราย สร้างความเสียไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

3.OK 20 หลอกลงทุน ไม่ส่งสินค้า

แฟรนไชส์แบบตึกเต้าหู้
ภาพจาก https://bit.ly/42cwPib

ในปี 2565 เช่นกัน เป็นกรณีของร้าน OK 20 ที่คนสนใจถูกหลอกลวงให้ซื้อแฟรนไชส์ในราคาเริ่มต้นเพียง 9,999 บาท ซึ่งมีการโฆษณาชวนเชื่อว่าคืนทุนไว กำไรดี แต่พอมีคนสนใจโอนเงินสำหรับลงทุนปรากฏว่าไม่มีการจัดส่งสินค้าตามที่ได้ระบุไว้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลงทุนเป็นจำนวนมาก

หรืออย่างกรณีของ Subway กรณีโดนลูกค้าจำนวนมากร้องเรียนเรื่องคุณภาพอาหาร ที่เบื้องลึกจริงๆ แล้วถือเป็นปัญหาภายในของซับเวย์เอง ทั้งปัญหาเรื่องของระบบแฟรนไชส์ ปัญหาสัญญาแฟรนไชส์ ปัญหาการจัดการ ปัญหาการสื่อสารในระบบแฟรนไชส์ และไม่มีการสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบ เป็นต้น

หากสังเกตให้ดีว่าแฟรนไชส์แบบตึกเต้าหู้ที่เรายกตัวอย่าง อาจไม่ใช่ปัญหาที่เรื่องของโครงสร้างการบริหารจัดการเพียงอย่างเดียว แต่มีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในมุมของคนที่ต้องการลงทุนจริงๆ ก็ควรต้องศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน เพราะปัจจุบันคนที่ทำแฟรนไชส์จริงๆ และเป็นระบบที่แข็งแรงก็มีอยู่มาก รวมถึงหลายคนที่ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์แล้วประสบความสำเร็จก็มีตัวอย่างให้เห็นไม่น้อย

และถ้ามองในแง่มุมว่าจะเลือกลงทุนแฟรนไชส์ไหนถึงจะมั่นได้สิ่งที่แฟรนไชส์ซอควรสร้างความมั่นใจให้ผู้ลงทุนคือ

  • สนับสนุนแฟรนไชส์ซีครบถ้วนเพียงพอตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมก่อนเปิดร้าน พัฒนาทักษะหลังเปิดร้าน การบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เพียงพอ การทำการตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ เป็นต้น
  • เปิดเผยข้อมูลและสื่อสารอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบโครงสร้างแฟรนไชส์ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ระยะเวลาคืนทุน รายละเอียดในสัญญาแฟรนไชส์ สินค้าและบริการต่างๆ
  • การตรวจสอบมาตรฐานสาขาแฟรนไชส์ซี ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการร้าน การจัดวางสินค้าและบริการ การให้บริการลูกค้าของพนักงาน การดูแลรักษาความสะอาด ที่ต้องให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
  • รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับแฟรนไชส์ซี คือการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายแฟรนไชส์ซี มีการติดต่อสื่อสารอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดอายุสัญญา

อย่างไรก็ดีถ้าสนใจต้องการลงทุนแฟรนไชส์แต่ไม่แน่ใจว่าแฟรนไชส์ที่เราเลือกนั้นน่าไว้วางใจแค่ไหน อาจสอบถามไปยังผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ให้แนะนำแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ เป็นอีกหนึ่งการสร้างความมั่นใจให้เราในเบื้องต้นได้ หรือการสอบถามโดยตรงกับผู้ลงทุนของแฟรนไชส์ในแต่ละสาขาว่าลงทุนแล้วเป็นอย่างไร มีการดูแลที่ดีจากแฟรนไชส์ซอแค่ไหน ก็อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่จะไม่กลายเป็นแบบตึกเต้าหู้ในอนาคต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด