แฟรนไชส์เสริมดวง เกิดวันไหน ซื้อแฟรนไชส์ไหนดี?

เรื่องของโชคชะตา ราศีเป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่มีบทบาทในชีวิตคนไทย โดยปี 2566 ตามข้อมูลทางโหราศาสตร์เชื่อว่าดวงดาวสำคัญมีการย้ายราศีหลายดวง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลายราศีที่เคยเจอผลกระทบหนักๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีโอกาสดวงชะตาพลิกฟื้น และเชื่อว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งความหวังและความสำเร็จสำหรับหลายๆ คน

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงจัดให้กับข้อมูลวันเกิดของแต่ละคนว่าพื้นฐานเป็นอย่างไรและหากต้องการลงทุนจะเลือกแฟรนไชส์ไหนดี

1.คนเกิดวันอาทิตย์

ภาพจาก บิวตี้เซ็นเตอร์ (บีโค้)

พื้นฐานเป็นคนรักอิสระ รักเกียรติ รักศักดิ์ศรี ใจร้อน มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ใฝ่หาความรู้ คล่องแคล่ว รวดเร็ว มีสง่า มีเสน่ห์ ดวงตามีพลังอำนาจหากต้องการค้าขายสินค้าที่เหมาะสมเช่นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม หรือจะขายเครื่องประดับ น้ำหอม เพชรพลอยก็เสริมดวงให้ขายดีเช่นกัน โดยหากต้อการลงทุนมีแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ เช่น บิวตี้เซ็นเตอร์ (บีโค้) , อายตานิค บิวตี้แคร์ เป็นต้น

2.คนเกิดวันจันทร์

ภาพจาก https://bit.ly/40EDOha

โดยส่วนใหญ่คนเกิดวันนี้มีความนุ่มนวล สุภาพอ่อนโยนอ่อนหวานความอ่อนไหว ความเมตตาปราณี รักสวยรักงาม มีเสน่ห์น่ารัก ใฝ่ฝันความงาม ช่างประดิษฐ์ตกแต่ง มีความเป็นระเบียบ เป็นที่รักของคนทั่วไป มีความเป็นกัลยาณมิตร

ตามอิทธิพลดวงดาวคนเกิดในวันนี้เหมาะกับการขายของสวย ๆ งาม ๆ อาจจะเป็นพวกเครื่องประดับ หรือจะขายพวกคอมพิวเตอร์อุปกรณ์สื่อสารก็น่าสนใจเช่นกัน มีแฟรนไชส์ที่น่าสนใจลงทุน เช่น ไอดูโฟร์ไอเดีย เป็นต้น

3.คนเกิดวันอังคาร

ภาพจาก มิกุชา

ข้อดีของคนเกิดวันนี้คือกล้าได้กล้าเสีย กล้าคิด กล้าตัดสินใจ มีความขยันขันแข็ง อดทน เอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ เป็นพื้นฐานของนักสู้ ชอบปฏิบัติมากกว่าคิดหรือพูด ชอบผจญภัย ชอบบุกเบิก ดังนั้นสินค้าที่เหมาะสมได้แก่ อาหารทะเล แนวซีฟู้ด หรือเครื่องดื่มเช่นชานมไข่มุก หรือเปิดร้านกาแฟ โดยมีแฟรนไชส์น่าสนใจได้แก่ ชาไข่มุกดอทคอม , เอ็มมิลค์ นมสดแท้100% , ตะวันชา ชานมไข่มุก , ดราก้อนชา , ละคุงชา , มิกุชา , ชาฟูมิโกะ , ฮ็อป ชาเฟ่ , โอชายะ เป็นต้น


4.คนเกิดวันพุธ

ภาพจาก โกลเบิล อาร์ต แอนด์ ครีเอทีฟ

จุดเด่นของคนเกิดวันพุธคือใฝ่หาความรู้มองการณ์ไกล รู้หลักนักปราชญ์ ช่างพูด ช่างเจรจา มีปฏิภาณไหวพริบดี มีความสามารถในการ คิด พูด อ่าน เขียน เป็นนักประชาสัมพันธ์ นักพูดที่ประสบความสำเร็จ มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ คนเกิดวันพุธนี้หากมีความรู้เฉพาะทางของตนเองก็สามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้ โดยเฉพาะการทำธุรกิจด้านการศึกษา

โดยมีหลายแฟรนไชส์น่าสนใจเช่น ยู แพชชั่น , โกลเบิล อาร์ต แอนด์ ครีเอทีฟ , อีเอฟแอล เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ , จี อิงลิช อะคาเดมี่ , บ้านรักภาษาพลัส , ไบร์ทอัพคิดส์ , นาด้า , คุมอง , จินตคณิตอันซัน , ฟิวเจอร์ , ควอลิตี้ คิดส์ , สตาร์แมท จินตคณิต , อิงลิช คอนเนอร์ เป็นต้น


5.คนเกิดวันพฤหัสบดี

ภาพจาก https://bit.ly/3mWNFBq

โดยส่วนใหญ่คนเกิดวันี้เป็นผู้มีความรอบรู้ ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตา มีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีศีลธรรมประจำใจ เป็นคนมองโลกในแง่ดี รักความยุติธรรม เป็นดาวตัวแทนแห่งปัญญา ส่งผลให้เจริญรุ่งเรือง สินค้าที่แนะนำให้ค้าขายได้แก่สินค้าออนไลน์ หรือขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า สินค้าทั่วไป โดยมีแฟรนไชส์น่าสนใจให้เลือกลงทุน เช่น นพรัตน์ 20 , ทัดดาวทุกอย่าง 20 , ร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัสและเซเว่นอีเลฟเว่น เป็นต้น

6.คนเกิดวันศุกร์

ก๋วยเตี๋ยวเจ้าดังภาพจาก ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว

นิสัยของคนเกิดวันศุกร์ส่วนใหญ่จะเจ้าสำราญ ชอบสังคมสนุกสนาน รื่นเริง โดดเด่นด้านอาหาร เจ้าเสน่ห์ รักสวยรักงาม เอาใจเก่ง ชอบกินชอบใช้ มีรสนิยมสูง ชอบดนตรีและศิลปะ ดังนั้นสินค้าที่เหมาะสมจะค้าขายได้แก่กลุ่มร้านอาหาร โดยมีหลายแฟรนไชส์น่าสนใจให้เลือกลงทุน เช่น ยืน 1 หมูย่างกะทิ , ดับเบิ้ลนัวร์ , ก๋วยเตี๋ยวเรือทัพพ์ทอง , ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว , ฮ่องเต้ เป็ดย่างไฮโซ , ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส , สเต็กลุงใหญ่ , ชีสซี่ฟรายสแน็ค , โชกุน สเต็ก เป็นต้น

7.คนเกิดวันเสาร์

ภาพจาก มินญ่า ขนมบ้าบิ่นและขนมครกสิงคโปร์

พื้นฐานสำคัญของคนเกิดวันเสาร์นี้คือเป็นคนที่มีความอดทน อดกลั้น ลำบาก ตรากตรำ ความเป็นนักสู้ รักสงบ นักวางแผน รักของเก่า ของโบราณ มัธยัสถ์ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง รักสันโดษ หากสนใจเรื่องการค้าขาย สินค้าที่แนะนำเช่นขนมเค้ก ขนมหวาน เบเกอรี่ มีแฟรนไชส์ที่น่าสนใจเช่น ยู้ฮูหวานเย็น , มารุวาฟเฟิล , ครีมสตูดิโอ , มินญ่า ขนมบ้าบิ่นและขนมครกสิงคโปร์ , ดิเอ้ก แฟรนไชส์ขนมไข่

ทั้งนี้เรื่องการลงทุนในแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับวันเกิดต่างๆ เป็นเพียงแนวทางหนึ่งให้คนที่กำลังมองหาช่องทางค้าขายได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ส่วนจะขายอะไร แบบไหน อย่างไร ต้องใช้เทคนิค และมีวิธีการบริหารจัดการที่ดี ไม่ว่าเราจะเกิดวันไหน วันที่เท่าไหร่ แต่หากตั้งใจทำจริง รู้จักวางแผนการขายอย่างมีระบบ มีหัวทางการค้า มีไอเดียทางการตลาด เลือกขายอะไรก็ทำให้เรารวยได้ทั้งนั้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด