แฟรนไชส์อิมพอร์ตจากเกาหลี Mom’s Touch มูลค่ากว่า 100 ล้าน “เฮียฮ้อ RS” รุกธุรกิจฟาสต์ฟู้ดไทย
ตลาดเบอร์เกอร์และไก่ทอดในไทย ร้อนระอุขึ้นมาทันที หลัง “เฮียฮ้อ” ผู้บริหารบริษัท กิฟท์ อินฟินิท จำกัด (มหาชน) หรือ GIFT ส่งบริษัทย่อย GIFT Hospitality เข้าซื้อสินทรัพย์ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม Mom’s Touch แฟรนไชส์เบอร์เกอร์ และไก่ทอดต้นตำรับจากเกาหลีใต้ , OKONOMI และ Yuji Ramen ร้านอาหารญี่ปุ่นโดยเชฟชื่อดังจากนครนิวยอร์ก
แฟรนไชส์ Mom’s Touch ร้านแฟรนไชส์ไก่ทอดและเบอร์เกอร์ต้นตำรับจากเกาหลีใต้ เป็นการเข้าซื้อกิจการต่อจากบริษัท มอมส์ ทัช (ประเทศไทย) จํากัด มูลค่ากว่า 101.38 ล้านบาท ที่มี “โชติ เชษฐโชติศักดิ์” ลูกชายเฮียฮ้อเป็นกรรมการบริษัท
หากถามว่า “เฮียฮ้อ” เห็นอะไรดี ทำไมถึงกล้าซื้อแฟรนไชส์ Mom’s Touch ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงในตลาดเมืองไทย มาดูกัน
จุดเริ่มต้น Mom’s Touch
ภาพจาก www.momstouchglobal.com
Mom’s Touch เป็นแบรนด์แฟรนไชส์เบอร์เกอร์และไก่ทอดสัญชาติเกาหลีใต้ ก่อตั้งเมื่อปี 2547 เจ้าของธุรกิจได้เปิดขายแฟรนไชส์ร้านแรกในปี 2550 ก่อนบินเข้ามาทำตลาดเมืองไทยปี 2565 ภายใต้การบริหารของ “โชติ เชษฐโชติศักดิ์” ลูกชายเฮียฮ้อ ที่ได้รับสิทธิมาสเตอร์แฟรนไชส์ในไทย โดยเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลพระราม 9
โดยไทยถือเป็นประเทศที่ 2 ที่ Mom’s Touch ทำตลาดนอกเกาหลีใต้ ประเทศแรกคือสหรัฐอเมริกาดินแดนแห่งเบอร์เกอร์ และมีแผนขยายสาขาไปยังมองโกเลียในอนาคตอันใกล้ ปัจจุบัน Mom’s Touch มีสาขาทั่วโลกมากกว่า 1,400 สาขา
ภาพจาก facebook.com/momstouch.th
ส่วนในไทยมี 6 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัล พระราม 9 (ชั้น B), เอส โอเอซิส (ชั้น G), ไอซีเอส (ชั้น G), เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ (ชั้น G), สีลม คอมเพล็กซ์ (ชั้น B) และ เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางแค (ชั้น G)
ภาพจาก facebook.com/momstouch.usa
คอนเซ็ปต์ของ Mom’s Touch คือ อาหารจากรสมือแม่ เสิร์ฟอาหารเหมือนทำให้ลูกกิน จุดเด่นอยู่ที่ความใส่ใจ สดใหม่ ทำออเดอร์ต่อดออเดอร์ แม้จะใช้เวลาในการทำอาหารนาน แต่การันตีความร้อนสดใหม่ พร้อมขาย ชูความแตกต่างจากคู่แข่งเบอร์เกอร์แบรนด์สัญชาติอื่นในเรื่องเบอร์เกอร์ที่ทำมาจากสะโพกไก่ไร้กระดูก ไก่ทอดสไตล์เกาหลี รวมถึงเมนูแนะนำ “ไธเบอร์เกอร์” เบอร์เกอร์สะโพกไก่ทอดราดซอสเกาหลีเฉพาะสูตร MOM’s Touch และอาหารทานเล่นสไตล์เกาหลีครบเซ็ท
Mom’s Touch เปิด 1 ปีกว่า ขาดทุน 7 ล้านบาท
ภาพจาก facebook.com/momstouch.th
จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผลประกอบการของบริษัท มอมส์ ทัช (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งวันที่ 11 เม.ย. 2565 ทุนจดทะเบียน 45 ล้านบาท โดยมีนายโชติ เชษฐโชติศักดิ์ เป็นกรรมการบริษัท พบว่า
- ปี 2565 มีรายได้ 1.9 ล้านบาท ขาดทุน 7 ล้านบาท
ผลประกอบการขาดทุนของ Mom’s Touch อาจเป็นเพราะใช้เงินลงทุนในการขยายสาขา จนปัจจุบันมี 6 สาขาทั้งหมด
“เฮียฮ้อ” ลงทุน Mom’s Touch ได้ประโยชน์อะไร
ภาพจาก facebook.com/momstouch.th
การเข้าซื้อกิจการต่อจากบริษัท มอมส์ ทัช (ประเทศไทย) จํากัด มูลค่ากว่า 101.38 ล้านบาท ที่มี “โชติ เชษฐโชติศักดิ์” ลูกชายเฮียฮ้อเป็นกรรมการบริษัท แบ่งออกเป็น ร้าน MOM’S TOUCH จํานวน 6 สาขา มูลค่าไม่เกิน 30 ล้านบาท, ซื้อตราสินค้า MOM’S TOUCH มูลค่าไม่เกิน 38 ล้านบาท และ รับโอนสัญญาเช่าพื้นที่ร้าน MOM’S TOUCH 6 สาขา จากบริษัทเดิมในเครือฯ มูลค่าไม่เกิน 33.38 ล้านบาท
มาดูกันว่า “เฮียฮ้อ” ลงทุน Mom’s Touch ได้ประโยชน์อะไร อย่างแรก คือ การแตกไลน์ธุรกิจให้มีความหลากหลายมากขึ้น ด้วยการรุกไปสู่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่มีการเติบโตได้รับความนิยมในเมืองไทย ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลังการระบาดโควิดคลี่คลายลง อีกทั้งภาคการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างมาก รวมถึงต้องการลดพึ่งพาธุรกิจเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งเป็นธุรกิจหลักเพียงอย่างเดียวของบริษัทฯ
ภาพจาก facebook.com/momstouch.th
ดังนั้น การลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ Mom’s Touch จะช่วยกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ ทำให้บริษัทฯ ได้ลงทุนและสร้างรายได้จากหลายธุรกิจมากขึ้น แม้ว่าตลาดเบอร์เกอร์ในประเทศไทยจะมีหลายเจ้าหลายแบรนด์ แข่งขันกันรุนแรง
ไม่ว่าจะเป็น แมคโดนัลด์สัญชาติอเมริกา ที่มีสาขาทั่วโลก 39,000 สาขา ในไทยมากกว่า 245 สาขา, เบอร์เกอร์คิงสัญชาติอเมริกา มี 28,000 สาขาทั่วโลก ในไทยกว่า 127 สาขา และมอสเบอร์เกอร์สัญชาติญี่ปุ่น มี 1,260 สาขาทั่วโลก ในไทยกว่า 28 สาขา
ภาพจาก facebook.com/momstouch.th
ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า Mom’s Touch แฟรนไชส์เบอร์เกอร์และไก่ทอดเกาหลี ภายใต้การดูแลของ “เฮียฮ้อ” น่าจะมีไม้เด็ดสำหรับแข่งขันในตลาด ท้าชิง แย่งส่วนแบ่ง เมื่อตัดสินใจลุยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเต็มรูปแบบ
คลิกดู รายละเอียดแฟรนไชส์ Mom’s Touch
แหล่งข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)