แฟรนไชส์ราคาถูก คือ “โอกาส VS กับดัก”
ยุคโควิด-19 บวกกับสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ คงเป็นเรื่องยากที่จะมีใครอยากควักกระเป๋า เอาเงินก้อนใหญ่ไปลงทุนทำธุรกิจอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่เปิดโอกาสให้กับผู้ว่างงาน ตกงาน รวมถึงผู้ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะไม่ต้องมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน ก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการสาขาแฟรนไชส์ได้
โดยเฉพาะสาขาแฟรนไชส์ขนาดเล็ก แฟรนไชส์ราคาถูก ใช้เงินลงทุนต่ำ คืนทุนไว เปิดร้านขายได้เร็ว ระบบการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ยุ่งยากเหมือนกับแฟรนไชส์ลงทุนสูง จึงทำให้ใครๆ เป็นเจ้าของร้านสาขาแฟรนไชส์ได้ง่ายกว่าแฟรนไชส์ลงทุนสูง
สำหรับใครที่อยากซื้อ แฟรนไชส์ราคาถูก หรือที่เรียกกันว่าแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ต้องไม่พลาดอ่านบทความด้านล่าง!!! มาดูกันว่าจะเป็น “โอกาส หรือ กับดัก” วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ
แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ราคาหลักพัน หลักหมื่น ส่วนมากมีโอกาสไปไม่รอด หากมีระบบบริหารจัดการไม่ดี โดยปัญหาจากการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ไม่เข้มงวด ใครมีเงินเดินเข้ามาซื้อก็ขาย เพราะอยากได้ค่าแฟรนไชส์ เจ้าแฟรนไชส์มักติดกับดักตรงที่เห็นรายได้เข้ามาง่าย จึงรีบๆ ขายแฟรนไชส์ออกไป โดยไม่ดูให้ดีว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความเหมาะสมกับแฟรนไชส์หรือเปล่า
ปัญหาที่จะตามมาอีกอย่าง ก็คือ พอมีคนซื้อแฟรนไชส์เยอะ กระจัดกระจายทุกพื้นที่ หากเจ้าของแฟรนไชส์ไม่มีระบบบริหารที่เป็นมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน การตรวจสอบมาตรฐานสาขา การจัดส่งวัตถุดิบ และอื่นๆ ก็จะส่งผลเสียต่อสาขาแฟรนไชส์ซี และกระทบต่อภาพลักษณ์ในภาพรวมของแบรนด์แฟรนไชส์ คนที่คิดจะซื้อแฟรนไชส์ก็จะไม่กล้าซื้อ
ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น สาเหตุหลักๆ มาจากการขยายกิจการ หรือสาขาเร็วเกินไป แม้ว่าการเติบโตเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่เร็วและไม่รีบร้อนจนเกินไป เหมือนเราโตเกินความสามารถของธุรกิจ หรือโตเกินขอบข่ายของการบริหารจัดการเครือข่าย
ลองนึกภาพ 7-Eleven, KFC หรือแมคโดนัลด์ ที่มีระบบบริหารจัดการทุกอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่แค่การใช้ชื่อเดียวกัน หรือแค่สูตรเดียวกัน เพราะแฟรนไชส์จริงๆ คือ ระบบการตลาด การดำเนินงาน และการเงิน
ภาพจาก https://bit.ly/35ON8Fn
แฟรนไชส์ซอร์ ต้องมีระบบการบริหารจัดการสาขาที่ดี ไม่ใช่เอาแต่เพียงเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว แล้วไม่ทำอะไรให้เลย คอยแต่จะขายสินค้าวัตถุดิบให้ เพราะจริงๆ แล้วค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า หรือค่าแฟรนไชส์นั้น ไม่ใช่เครื่องมือของแฟรนไชส์ซอร์ในการหารายได้ แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน เพื่อที่จะให้เกิดร้านสาขาในระบบดีๆ เพิ่มขึ้น
ดังนั้น กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ อยู่ที่การวางระบบให้สาขาแฟรนไชส์ซีสามารถสร้างกำไร มียอดขายสูงขึ้น เพื่อที่จะให้แฟรนไชส์ซีจ่ายเงินส่วนแบ่งในการบริหารกลับเข้ามา หรือเรียกว่า Royalty Fee นั่นคือ กำไรของธุรกิจแฟรนไชส์ของจริง
เจ้าของแฟรนไชส์ที่เน้นการขายสินค้า การให้เช่าป้าย หรือการขายสูตรลับ จะต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะการสร้างระบบแฟรนไชส์ต้องบริหารให้สาขาอยู่รอด มีกำไร อย่าคิดเพียงเอาตัวรอดไปชั่วคราว จะไม่ยั่งยืน โดยมีข้อมูลที่น่าจะเชื่อถือได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนต่ำกว่า 1 แสนบาท จะล้มเหลวไม่เกิน 3 ปีแรกที่ลงทุน
เพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ จะเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าครั้งเดียว เสร็จแล้วขายของ ขายวัตถุดิบ ไม่ส่งเสริมการขาย การตลาดให้ร้านสาขาแฟรนไชส์ซี ยิ่งสาขาแฟรนไชส์อยู่ไกลก็ต้องมีค่าเครื่องบิน ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเช่ารถ ทีมงาน และอื่นๆ
แล้วคุณคิดว่าค่าแฟรนไชส์แรกเข้าที่แฟรนไชส์ซอร์ได้รับหลักพัน หลักหมื่น จะเพียงพอสำหรับการสนับสนุนแฟรนไชส์หรือไม่ ซึ่งจะแตกต่างจากธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนสูงๆ ที่คิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์หลักแสน หลักล้านบาท และค่า Royalty Fee ประมาณ 3-5% ต่อเดือน ที่จะเอาเงินส่วนนี้ไปสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้อยู่รอดและเติบโต
มาถึงตรงนี้ พอจะรู้หรือยังว่า แฟรนไชส์ราคาถูก หรือแฟรนไชส์สร้างอาชีพ จะเป็นโอกาส หรือ กับดัก แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ใช่เสมอไปที่แฟรนไชส์ลงทุนต่ำจะไปไม่รอด แต่ถ้าเรารู้จักเลือกลงทุนแฟรนไชส์ที่มีโอกาส สินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เจ้าของแฟรนไชส์มีความรู้และประสบการณ์ รวมถึงมีความตั้งใจในการทำธุรกิจ เชื่อว่าจะเป็นโอกาสแน่นอนครับ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gZO3Jl
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)