แฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ยังไม่รอด! McDonald’s, Burger King, KFC เจอปัญหาการขายกิจการในเกาหลีใต้

ประเด็นการควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions หรือ M&A) รวมถึงการซื้อกิจการแบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ของโลกในประเทศเกาหลีใต้ของกลุ่มทุนการเงินต่างๆ ยังประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการประเมินมูลค่าธุรกิจลดลงอย่างต่อเนื่องท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงพฤติกรรมรวมถึงรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

McDonald’s, Burger King และ KFC แบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในประเทศเกาหลีกำลังเผชิญกับข้อกังขาเกี่ยวกับความพยายามล่าสุดในการหาเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์รายใหม่ เนื่องจากสภาพตลาดฟาสต์ฟู้ดและตลาดการเงินภายในประเทศเกาหลีใต้ได้ตกต่ำลงจากการระบาดโควิด-19 รวมถึงวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ

แฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ยังไม่รอด

ภาพจาก https://bit.ly/3yYJcjA

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมแฟรนไชส์คาดการณ์ว่า กลุ่มทุนผู้ซื้อกิจการที่มีศักยภาพภายในประเทศ จะยังคงไม่เต็มใจและพร้อมเสนอราคาที่สูงขึ้น สำหรับการเข้ามารับช่วงบริหารเครือข่ายฟาสต์ฟู้ดอเมริกาในเกาหลีใต้

โดนมีปัจจัยสำคัญมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ทำให้สภาพของตลาดในการจัดหาเงินทุนในการซื้อกิจการแย่ลง กลุ่มทุนที่สามารถจ่ายได้ราคาสูงๆ มีจำนวนน้อยลง และความพยายามในการขายกิจการพร้อมๆ กันของแฟรนไชส์อเมริกาจะส่งผลต่อการประเมินมูลค่าธุรกิจแต่ละแบรนด์อีกด้วย ที่สำคัญกลุ่มทุนยังพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนการบริหารจัดการและค่าแรงที่เพิ่มขึ้นของแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์จากอเมริกาด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบรวมกิจการกล่าวเสริมว่า แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในเกาหลีใต้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากพยายามขายกิจการในปี 2565 เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะตลาดที่เลวร้ายลงในปีหน้า

หลังจากเข้าควบคุมกิจการ KFC ในเกาหลีจากกลุ่มทุน PEF ของยุโรป ซึ่งมีชื่อว่า CVC Capital Partners KG Group ได้รับความเสียหายจากการสูญเสีย Snowball หรือความได้เปรียบของแบรนด์แฟรนไชส์ไก่ทอด KFC และแฮมเบอร์เกอร์ ส่งผลให้เงินทุนของบริษัทกลุ่มทุนที่ซื้อกิจการลดลงในปี 2020

แฟรนไชส์

ภาพจาก https://bit.ly/3PqSzQ4

โดยที่ผ่านมาเมื่อต้นปี 2565 ทางกลุ่มทุน PEF ได้ว่าจ้าง Samjong KPMG เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายเพื่อขายกิจการแฟรนไชส์ KFC ในเกาหลีใต้ ว่ากันว่าบริษัทตัวแทนการขายเกาหลีดังกล่าว หมดหวังที่จะขายแฟรนไชส์ KFC ในราคาประมาณ 100 พันล้านวอน (78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อประกันเงินสดให้เพียงพอเพื่อซื้อ SsangYong Motor

สำหรับ McDonald’s อเมริกา ได้พยายามขายสาขาย่อยในเกาหลีเป็นครั้งที่ 2 หลังจากความพยายามครั้งแรกในปี 2559 ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากกลุ่มทุนผู้ซื้อกิจการที่มีศักยภาพ อาทิ กลุ่มของ Maeil Dairies และ Carlyle Group รวมถึงกลุ่มทุนอีกแห่งที่ก่อตั้งโดย KG Group และ NHN Entertainment ถอนตัว เพราะไม่พอใจเรื่องเงื่อนไขสัญญา

กลุ่มบริษัท Mirae Asset Securities ได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายสำหรับการขายกิจการแฟรนไชส์ McDonald’s Korea ในครั้งนี้ แทนที่ Morgan Stanley ซึ่งได้รับหน้าที่เป็นตัวแทนการขายกิจการเมื่อปี 2016

แฟรนไชส์เบอร์เกอร์อเมริกา “แมคโดนัลด์” กำลังมองหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในเกาหลี เพื่อพัฒนาการการเติบโตของบริษัท และแมคโดนัลด์กำลังทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาภายนอก เพื่อตรวจสอบทางเลือกต่างๆ ให้กับกลุ่มทุนที่สนใจ

2

ภาพจาก https://bit.ly/3aVi8JQ

ที่ผ่านมาแมคโดนัลด์ พยายามขายสิทธิ์ในการเปิดร้านอาหารในต่างประเทศให้กับบริษัทในท้องถิ่น ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000 เพื่อลดหนี้และรับค่าลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ในต่างประเทศ มีรายงานว่าบริษัทต้องการขายกิจการ McDonald’s Korea ให้กับนักลงทุนเชิงกลยุทธ์ เพื่อการดำเนินงานและบริหารธุรกิจแฟรนไชส์เบอร์เกอร์อย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมั่นคง มากกว่าการขายให้กับนักลงทุนทางการเงิน เช่น PEF ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มขายกิจการเพื่อเก็งกำไรหลังจากผ่านไป 5 ปี

อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของแฟรนไชส์แมคโดนัลด์อเมริกาในเกาหลีใต้ ไม่ค่อยราบรื่น ความสามารถในการทำกำไรเสื่อมถอยของแต่ละสาขาแฟรนไชส์ในเกาหลีใต้ โดยมีรายงานข้อมูลว่าบริษัท McDonald’s Korea ขาดทุนจากการดำเนินงานถึง 44 พันล้านวอนในปี 2019, 48.3 พันล้านวอนในปี 2020 และ 27.7 พันล้านวอนในปี 2021

สาเหตุมาจากจำนวนประชากรเกาหลีใต้ลดลง จึงทำให้ตลาดในเกาหลีไม่น่าสนใจสำหรับแมคโดนัลด์อีกต่อไป อีกทั้งผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาชื่นชอบอาหารแนวสุขภาพกันมากขึ้น

ทางด้าน Affinity Equity Partners ผู้ดำเนินการด้านโฆษณา Burger King ในเกาหลี ได้หมดหวังกับการขายกิจการในเวลาที่เหมาะสม เนื่องจาก PEF ควรขายบริษัทพอร์ตในระยะเวลาอันสั้นเพื่อกระจายผลกำไรให้กับนักลงทุน

1

ภาพจาก https://bit.ly/3aTsaeJ

PEF ตั้งอยู่ในฮ่องกง ได้เข้าซื้อกิจการสาขา Burger King ในเกาหลีใต้เมื่อปี 2559 และบริษัทย่อยในญี่ปุ่น ได้พยายามตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เพื่อขายบริษัทย่อยแฟรนไชส์ทั้ง 2 แห่งด้วยเงินรวมกัน 1 ล้านล้านวอน หลังจากว่าจ้าง Goldman Sachs เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายข้อตกลง หลังจากการประมูลเบื้องต้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และมีรายงานว่าผู้ขายได้คัดเลือกกลุ่มทุนผู้ซื้อที่มีศักยภาพ 2-3 ราย รวมถึง BHC Group, KKR และ Elevation Equity Partners

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการควบรวมกิจการ หรือ M&A แสดงความสงสัยเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการแฮมเบอร์เกอร์ของกลุ่ม PEF โดยชี้ให้เห็นว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มการประเมินมูลต่อไปจนกว่าจะมีการถอนการลงทุน

จะเห็นได้ว่า แม้แต่แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของอเมริกาจะได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่สำหรับในตลาดเกาหลีใต้นั้น แฟรนไชส์เหล่านี้กลับไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปหันมาสนใจอาหารสุขภาพ จึงทำให้แบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนในท้องถิ่นมากนัก


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3yW4rT7

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3cOyO6E

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช