แฟรนไชส์จีน บุกไทย ทำไมดราม่า!
กระแส แฟรนไชส์จีน บุกตลาดในไทยกลายเป็นดราม่าทุกที ตั้งแต่ Mixue แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีน เข้ามาในไทยเมื่อช่วงกลางปี 2565 ขายสินค้าราคาถูก กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์ ไม่ต้องโฆษณาใดๆ ลูกค้ากระจายข่าวให้แบบฟรีๆ
ไม่ทันข้ามปี ก็มี Ai-Cha แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากอินโดนีเซียอีกรายเข้ามาสมทบ ไม่พอยังมี Wedrink แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาน้องใหม่จากจีนตามเข้ามาอีก กลายเป็นดราม่าหนักขึ้นไปอีก
กระแสดราม่าทุนจีนบุกไทยยังไม่ทันจางดีเลย เมื่อช่วงต้นปี 2567 ก็มีแฟรนไชส์ไก่ทอดและเบอร์เกอร์ Zhendxin Chicken (ไก่ทอดเจิ้งซิน) จากจีนบุกตลาดในไทยอีกแบรนด์ ยิ่งกลายเป็นประเด็นดราม่าหนักขึ้นอีก เพราะแบรนด์จากจีนทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งไอศกรีม ชา ไก่ทอด ใช้กลยุทธ์เดียวกัน ขายราคาถูก 15-50 บาท สงบคู่แข่งแทบไปต่อไม่ได้
แน่นอนว่าการที่ธุรกิจจากจีนเข้ามาเปิดในไทยเป็นเรื่องดี เพราะรัฐบาลจะได้เงินการลงทุนจากต่างประเทศ มีการจ้างงานคนไทยเพิ่ม แต่ในมุมมองกลับกัน ทุนจีนหรือแฟรนไชส์จากจีนที่มีการหลั่งไหลเข้ามามากๆ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจรายเล็กรายน้อย หรือ SME ในประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ จะขายแพงก็เจ๊ง ขายถูกก็เจ๊ง
อย่างกรณี Mixue ขายแฟรนไชส์ราคาถูก รวมๆ แล้วหลักล้านบาทต้นๆ ทำให้ขยายสาขาได้เร็วมากกว่า 200 สาขาแล้วในตอนนี้ เมื่อขยายสาขาได้มาก ครอบคลุมไปทุกพื้นที่ ก็กระทบธุรกิจประเภทเดียวกันที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หรือท้องถิ่นนั้นก่อน เพราะเรารู้ดีอยู่แล้วว่าลูกค้าก็ต้องอยากซื้อของราคาถูก อีกทั้งรสชาติอาหารของจีนในสมัยนี้ก็ดีอีกต่างหาก
ปัจจัยเกิดดราม่า…แบรนด์จีน
1.การแข่งขันในตลาด
แฟรนไชส์จีน บุกตลาดไทยทำให้เกิดการแข่งขันรุนแรงกับธุรกิจท้องถิ่น เพราะแบรนด์จีนขายราคาถูก โมเดลธุรกิจดึงดูดลูกค้าได้ดี ทำให้ธุรกิจท้องถิ่นแข่งขันไม่ได้
2. คุณภาพสินค้าและบริการ
ประเด็นดราม่าเมื่อแฟรนไชส์หรือธุรกิจจีนบุกไทยอีกอย่าง คือ คนไทยมีความกังวลในเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการที่นำเข้าจากจีน อาจเกี่ยวกับมาตรฐานและความปลอดภัย
3. ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
แบรนด์จีนอาจมีการทำธุรกิจหรือใช้กลยุทธ์การตลาดที่ต่างจากไทย ทำให้เกิดความไม่เข้าใจของลูกค้าหรือคู่แข่งในไทย
4. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เมื่อแฟรนไชส์หรือธุรกิจจีนเข้ามาเปิดในไทย ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจท้องถิ่น เช่น ปิดกิจการ เลิกจ้างงาน รวมไปถึงการย้ายฐานการผลิตของคู่แข่งในท้องถิ่น ทำให้เงินไหลออกต่างประเทศ
5. ปัญหาทางกฎหมายและกฎระเบียบ
อาจมีความกังวลเกี่ยวกับการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับตามกฎหมายของประเทศไทย รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่ไม่โปร่งใส
6. ความรู้สึกเกี่ยวชาติพันธุ์
คนไทยอาจรู้สึกว่าการเข้ามาของแบรนด์จีน หรือนักธุรกิจจีน เป็นการฉาบฉวย เอารัดเอาเปรียบคนไทยและธุรกิจไทย
สรุปก็คือ การจัดการปัญหาดราม่าต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเข้ามาบุกตลาดในไทยของแบรนด์จีน จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง และสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ทั้งนักลงทุนจีน นักลงทุนท้องถิ่น สังคมท้องถิ่น เพื่อให้การลงทุนจากแบรนด์จีนในไทยเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้ง 2 ประเทศในระยะยาว
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consul