แฟรนไชส์ “แดรี่ควีน” เปิดโมเดลใหม่นอกห้างฯ ปูพรม 500 สาขา บุกทำเล “คอมมิวนิตี้เพลส”

หากพูดถึงไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟที่ได้รับความนิยมในเมืองไทย หนึ่งในนั้นคงเป็น ” แดรี่ควีน ” แบรนด์ไอศกรีมภายใต้การบริหารของ บริษัท ไมเนอร์ ดีคิว จำกัด ในเครือไมเนอร์ฯ ได้เข้ามาทำตลาดครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2539 และขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ในปี 2554 จนได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ กลายเป็นเจ้าตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟในปัจจุบัน

เป็นทราบกันดีว่า กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสำคัญที่ทำให้แฟรนไชส์ “แดรี่ควีน” ประสบความสำเร็จตลอดกว่า 26 ปีที่ผ่านมา คือ การวางเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อเจาะตลาดให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายผ่านการขยายสาขาในทำเลที่มีศักยภาพ และปรับเปลี่ยนรูปแบบโมเดลร้านให้มีความหลากหลายมากขึ้น จนมีจำนวนสาขาให้บริการแล้วกว่า 500 สาขาทั่วประเทศ

แดรี่ควีน

ล่าสุดแฟรนไชส์ไอศกรีม “แดรี่ควีน” ได้เดินหน้ากลยุทธ์ที่แตกต่างเหนือกว่าคู่แข่ง ปรับรูปแบบการขยายสาขาในรูปแบบใหม่ ย้ายออกจากทำเลในห้างฯ เจาะทำเลตลาดสมัยใหม่ หรือ กลุ่มคอมมิวนิตี้เพลส (Community Place) โดยได้เปิดสาขานำร่องที่ “ธนบุรี มาร์เก็ตเพลส” เป็นสาขาแรก โดยมีจุดเด่นเปรียบเสมือนอาณาจักรแห่งอาหารสดย่านสาย 2 บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ ทำให้ “ธนบุรี มาร์เก็ตเพลส” กลายเป็นศูนย์รวมความครบครันที่ทันสมัยของผู้คนโซนฝั่งธนบุรีที่มีกำลังซื้อ

ประกอบกับตลาดสดสมัยใหม่ หรือ คอมมิวนิตี้เพลส ไม่ได้มีเพียงโซนตลาดสด อาหารแห้ง เพียงอย่างเดียว แต่มีการมิกซ์ทั้งร้านค้า ศูนย์อาหาร และร้านอาหารชั้นนำ รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภค ที่สามารถเดินเลือกซื้อได้อย่างมากมาย ในราคาที่เข้าถึงได้ ถูกใจคนทุกเพศทุกวัย

19

สำหรับจุดเด่นของทำเล “คอมมิวนิตี้เพลส ” คือ การเดินทางที่สะดวก อยู่ใกล้แหล่งชุมชน จึงเป็นตลาดสมัยใหม่ที่กำลังนิยมมากในกลุ่มคนยุคปัจจุบัน และเป็นจุดศูนย์รวมความสะดวกสบายที่ครบครัน มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สามารถดึงดูดใจได้ทั้งผู้ที่ต้องการเช่าร้านค้าและกลุ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดี

การเปิดโมเดลใหม่ของแฟรนไชส์ “แดรี่ควีน” ในครั้งนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของแบรนด์ ในการขยายธุรกิจเข้าไปให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคได้มากขึ้น ตั้งแต่โมเดลร้านค้าบนห้างสรรพสินค้า แบบสแตนอโลน, ฟู้ด ทรัค และล่าสุด “คอมมิวนิตี้เพลส” ในตลาดสมัยใหม่ของธนบุรี มาร์เก็ตเพลส

นายนครินทร์ ธรรมหทัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไมเนอร์ ดีคิว จำกัด คาดว่า โมเดลการขยายแฟรนไชส์ในรูปแบบใหม่ ทำเล “คอมมิวนิตี้เพลส” จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และขยายสาขาได้ต่ำกว่า 500 สาขา พร้อมเตรียมเดินหน้าขยายสาขาไปยังทำเลตลาดสมัยใหม่คอมมิวนิตี้เพลสอย่างต่อเนื่อง

เปิดร้านแฟรนไชส์ไอศกรีม “แดรี่ควีน” ใช้เงินเท่าไหร่

18

ภาพจาก https://bit.ly/3DctpzB

  • ขนาดร้าน 30 ตร.ม.
  • งบลงทุน 3-3.5 ล้านบาท
  • Royalty Fee 5%
  • Marketing Fee 6%
  • เปิดร้านขั้นต่ำ 2-3 สาขาในจังหวัดที่ได้รับอนุญาต
  • เปิดสาขาแรกภายใน 60 วัน หลังจากทำสัญญา และอีก 2 สาขาภายใน 12 เดือน หลังจากเปิดสาขาแรก
  • ฝึกอบรมประมาณ 30 วัน

นั่นคือ โมเดลขยายแฟรนไชส์ใหม่ แดรี่ควีน รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับการลงทุนเปิดร้าน Dairy Queen โดยเปิดร้าน 1 สาขา ใช้เงินประมาณ 3 ล้านบาท แต่ต้องเปิดร้านอย่างน้อย 2-3 สาขา ในจังหวัดที่ได้รับอนุญาตจากบริษัทแม่แฟรนไชส์

ข้อมูล https://bit.ly/3DctpzB

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3TMh2RV

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช