แฟรนไชส์ เครปอะเดย์ รุกหนักเปิด 30 สาขาในปีเดียว!

นึกถึงเครปเย็นต้อง เครปอะเดย์ ณ นาทีนี้เราสามารถพูดได้ชัดเจนว่านี่คือสุดยอดแฟรนไชส์ที่มาแรงมาก และหากดูระยะเวลาในการเริ่มต้นธุรกิจมาถึงตอนนี้เพียงแค่ 1 ปีจะยิ่งร้องว้าวววว อัตราการขยายสาขาที่

เครปอะเดย์

www.ThaiSMEsCenter.com ได้ทำสถิติเอาไว้ระบุชัดเจนว่าการมีถึง 30 สาขาเพียงในปีแรกที่เปิดตัวคืออัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น 2,900% คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยคือ 1,450% เป็นการก้าวกระโดดแบบติดสปริง ที่ไม่ได้คิดจะหยุดแค่นี้แต่ในปี 2562

“แฟรนไชส์เครปอะเดย์” มีแผนในการต่อยอดธุรกิจตัวเองไปสู่จุดที่สูงยิ่งกว่า นับเป็นโอกาสของผู้ลงทุนที่กำลังมองหาแฟรนไชส์ในการสร้างรายได้แบบไม่ต้องลงทุนมากแต่ได้กำไรดีเหลือเชื่อ

กว่าจะมาเป็นสุดยอดแฟรนไชส์ “เครปอะเดย์”

เครปอะเดย์

ธุรกิจที่เกี่ยวกับขนมหวานในเมืองไทยมีหลายแบรนด์ การแข่งขันก็สูง แต่สิ่งที่ทำให้ คุณสุปรียา งามศิริสมสกุลหรือคุณปอย เลือกเดินหน้าสร้างแฟรนไชส์ “เครปอะเดย์”ขึ้นมา คือความต้องการที่ให้คนไทยได้มีโอกาสรับประทานเครปเย็น เป็นการหักล้างภาพจำของคนไทยที่รู้จักแต่เครปร้อนซะเป็นส่วนมาก

สินค้าอย่าง “เครปเย็น” จึงถือเป็นอะไรที่ใหม่ แต่เมื่อคิดจะทำก็ต้องให้แตกต่างแบบใครไม่กล้าเลียนแบบ จึงเป็นที่มาของ “เครปเย็นนมสดฮอกไกโด” ที่แป้งเครปและครีมนมสดหอมมันไม่เหมือนใคร อาศัยประสบการณ์ที่อยู่ในแวดวงเบเกอรี่มาก่อนหน้านี้กว่า 10 ปี และได้นำสูตรต้นตำหรับจากญี่ปุ่นมาพัฒนาซึ่งใช้เวลากว่า 6 เดือนจนกลายเป็นสูตรเฉพาะ ลูกค้าทุกคนเมื่อได้ลองชิมจะรู้ถึงความแตกต่างชนิดที่ชิ้นเดียวไม่เคยพอต้องขอเบิ้ลเป็นสองชิ้นสามชิ้นจนมีลูกค้าที่เป็นขาประจำมากมาย

5 จุดเด่นเห็นก็รู้ว่านี่คือ “เครปอะเดย์”

เครปอะเดย์

วิธีการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ต้องเริ่มจากร้านต้นแบบที่แข็งแรง และหลังจากที่เครปอะเดย์เปิดตัวร้านต้นแบบและมีคนสนใจจำนวนมาก ขั้นต่อมาคือการทดลองเปิดสาขาที่ 2 เพื่อให้รู้ปัญหาในการบริหารจัดการและเมื่อบริการสาขาแรกและสาขาที่ 2 ให้เดินหน้าได้ก็เริ่มเปิดรับคนสนใจลงทุนหรือบรรดาแฟรนไชส์ซี ซึ่งก็มีคนสนใจจำนวนมากโดยมีจุดเด่นที่คนโฟกัส 3 ประการในการลงทุนกับแฟรนไชส์เครปอะเดย์คือ

1.สูตรเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร

เครปอะเดย์

โดยแป้งของเครปอะเดย์มีความนุ่มละมุนลิ้น ไม่หนามาก แม้แต่กินแป้งเปล่าๆก็ยังติดใจ

2.ทีเด็ดคือไส้ครีมนมสด

เครปอะเดย์

เป็นซิกเนเจอร์ของเครปอะเดย์ที่ลูกค้าจะนึกถึงความข้น หอม มัน หวานกำลังดี เคล็ดลับคือวัตถุดิบคัดสรรอย่างดีและเป็นสูตรไส้ครีมเฉพาะของทางร้านหาจากแบรนด์อื่นไม่ได้แน่นอน

3.ราคาไม่แพง

เครปอะเดย์

เป็นจุดขายที่เรียกลูกค้าทั้งสินค้าที่ดูหน้าตาน่ากิน แถมยังขายไม่แพง เป็นราคาที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจยุคนี้ เรียกว่าเด็กกินได้ ผู้ใหญ่ คนวัยทำงาน เลือกซื้อทานได้แบบไม่สะเทือนกระเป๋า ซึ่งหากใครเคยกินเครปเย็นแท้ๆ จากญี่ปุ่นซึ่งมีราคาแพงมาลองเครปอะเดย์สักครั้งรสชาติไม่แตกต่างแต่ประหยัดเงินในกระเป๋าได้เยอะ

เครปอะเดย์

นอกจากนี้ด้วยความที่สินค้าสมัยใหม่ถูกใจกลุ่มวัยรุ่นวัยทำงาน และยังมีการสอนเทคนิคการทำทุกเมนู และร่วมวิเคราะห์ทำเลก่อนเปิดร้านจริง ทำให้มีโอกาสคืนทุนได้รวดเร็วโดยเฉลี่ยหากเป็นคีออสทั่วไปการคืนทุนประมาณ 2-4 เดือนหรือหากเป็นแพคเกจสำหรับห้างสรรพสินค้าระยะเวลาคืนทุนประมาณ 6-8 เดือน

ต่อยอดความยิ่งใหญ่ลุยตลาดห้างสรรพสินค้า

เครปอะเดย์

นับเป็นการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบัน “เครปอะเดย์” นอกจากเปิดตลาดด้วยคีออสขนาดเล็กสำหรับตลาดทั่วไปยังได้พัฒนาแพคเกจการลงทุนในห้างสรรพสินค้าซึ่งโดยภาพรวม เครปอะเดย์จะมีแพคเกจการลงทุนให้เลือก 4 รูปแบบด้วยกันคือ

  • แพคเกจ 59,000 บาท
  • แพคเกจ 69,000 บาท
  • แพคเกจห้างสรรพสินค้า 99,000 บาท (เครปเย็นนมสดฮอกไกโด+เครื่องดื่ม)
  • แพคเกจห้างสรรพสินค้า 120,000 บาท (เครปเย็นนมสดฮอกไกโด + เครื่องดื่ม + ปังเย็น + โทสต์)

โดยทุกแพคเกจจะได้รับอุปกรณ์ตามที่กำหนดในแต่ละแพคเกจพร้อมวัตถุดิบตั้งต้นพร้อมขายและการฝึกอบรมวิธีการทำ การขาย สนับสนุนการตลาด พร้อมการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจุดเด่นที่ทำให้เครปอะเดย์เติบโตในห้างสรรพสินค้าได้อย่างดีคือ

1.บรรยากาศร้านที่ดึงดูด

ด้วยโทนสีแบบขนมหวานสื่อความหมายให้ลูกค้ารู้สึกถึงความผ่อนคลาย และเป็นจุดนัดพบที่ดีสำหรับเพื่อน หรือครอบครัว

2.มุมนั่งสบาย

การออกแบบร้านให้มีมุมนั่งทานในบรรยากาศเป็นกันเองคือจุดเด่นที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกดีมากยิ่งขึ้น

3.สินค้าหลากหลายแถมอร่อยทุกเมนู

ปัจจุบันนอกจากเครปเย็นที่เป็นซิกเนเจอร์ของร้าน สินค้าใหม่ๆยังมีออกมาต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเช่นชาผลไม้ , โทสต์ , ปังเย็น เป็นต้น

4.เป็นแม่เหล็กดึงดูดลูกค้าที่ห้างสรรพสินค้าต้องการ

ด้วยสีสันร้านอันโดดเด่นด้วยโทนสีชมพูสดใส และสินค้าอย่างเครปเย็นที่ลูกค้านิยมอย่างมาก กระแสความนิยมที่มากมายนี้ทำให้ห้างสรรพสินค้าเองก็ต้องการให้เครปอะเดย์มาเปิดสาขาในห้างเพื่อใช้ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการถือเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่เสมือนแม่เหล็กดึงดูดคนได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้การลงทุนในห้างสรรพสินค้าต้นทุนเบื้องต้นต้องมีงบประมาณคร่าวๆ 400,000-500,000 บาท(คิดจากพื้นที่ประมาณ 25-30 ตร.ม.) นอกจากเป็นค่าแฟรนไชส์ตามแพคเกจที่เลือกที่เหลือคือต้นทุนในการจัดแต่งร้าน ค่าเช่าสถานที่ และสำหรับคนที่เลือกแพคเกจแบบคีออสตามตลาดทั่วไปก็ควรมีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน

โดยสินค้าอย่างเครปเย็นถือเป็นขนมทานเล่นที่กินง่ายและกินได้ไม่มีเบื่อ อีกทั้งยังมีการพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ให้น่าสนใจอย่างต่อเนื่องจึงเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้ระยะยาว ยิ่งหากได้อยู่ในห้างสรรพสินค้าที่คนนิยมหรือมีทำเลตามหน้าโรงเรียน ตลาดนัด สถานที่ชุมชน โซนออฟฟิศหรือสำนักงาน ถือเป็นทำเลทองที่รายได้ดีเกินคาด

นอกจากนี้เครปอะเดย์ยังมีแผนในการขยายสาขาไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีกำหนดเปิดสาขาอย่างเป็นทางการภายในต้นปี 2562 ส่วนในประเทศก็ตั้งเป้าในการขยายสาขาไปตามภูมิภาคต่าง ๆให้ ทั่วประเทศซึ่งภายในปี 2562 นี้สาขาแฟรนไชส์เครปอะเดย์จะเพิ่มมากขึ้นอีกหลายเท่าตัวถือเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์มาแรงที่เหมาะสมลงทุนเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ต้องการลงทุนแฟรนไชส์
เครปอะเดย์
โทร. : 097-9624296

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Hq0dHw


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต