แฟรนไชส์ Sizzler ไม่เหลือในออสเตรเลีย ประเทศเจ้าของแบรนด์ แต่กลับโตในไทย
รู้หรือไม่ว่า Sizzler ร้านสเต๊ก ซีฟู้ด และสลัด สไตล์ตะวันตก แม้ต้นกำเนิดจะมาจากสหรัฐอเมริกา แต่บริษัทเจ้าของแบรนด์ แฟรนไชส์ Sizzler ทั่วโลก ยกเว้นอเมริกา เปอร์โตริโก และกัวเตมาลา คือ Collins Foods บริษัทสัญชาติออสเตรเลีย
แม้ว่า Sizzler จะประสบความสำเร็จในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย แต่ในช่วงปลายทศวรรษ 2010 หรือ พ.ศ. 2553 สาขาของ Sizzler ในออสเตรเลียประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดที่รุนแรง พฤติกรรมลูกค้าไม่นิยมเหมือนเดิม บวกกับการระบาดโควิด จึงทำให้ Sizzler ต้องปิดสาขาทั้งหมดในออสเตรเลียปี 2020 หรือ พ.ศ. 2563 หลังจากดำเนินธุรกิจมากว่า 39 ปี
ไม่เพียงแต่ Sizzler ในออสเตรเลียที่ประสบปัญหา ในสหรัฐอเมริกาต้นกำเนิด Sizzler ก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน จากที่เคยมีกว่า 270 สาขา ปัจจุบันเหลือราวๆ 80 สาขาเท่านั้น เรื่องราวของ Sizzler น่าสนใจอย่างไร ทำไมขาลงในอเมริกา และปิดทุกสาขาในออสเตรีย แต่กลับเติบโตในไทย
จุดเริ่ม Sizzler
Sizzler เกิดขึ้นในปี 2501 โดย มร. เดล จอห์นสัน และภรรยา เฮเลน เปิดสาขาแรกที่เมืองคลูเวอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยชื่อ Sizzler มีที่มาจากเสียง “ฉ่า” ของสเต๊กเมื่อเสิร์ฟบนกระทะร้อนๆ
ในปี 2509 มร. จอห์นสัน ได้เสนอขายกิจการร้าน Sizzler ให้กับ มร. จิมคอลลินส์ ซึ่งเป็นเพิ่มของเขาไปบริหารต่อ จิมคอลลินส์ยังบริหารร้านอาหารอยู่หลายแบรนด์ เช่น KFC ด้วย ซึ่งภายหลังเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่สุดในฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
ต่อมาในปี 2528 Sizzler ได้ขยายธุรกิจไปถึงประเทศออสเตรเลีย ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท คอลลินส์ ฟู้ด (Collins Foods) สาขาแรกตั้งอยู่ที่เมืองแอนเนอร์เลย์ รัฐควีนส์แลนด์ ก่อนที่จะขยายสาขากระจายไปทั่วรัฐควีนส์แลนด์ นิวเซาท์เวลล์ ออสเตรเลียเหนือ และออสเตรเลียตะวันตกในปัจจุบัน
สำหรับ Sizzler ในไทย อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด บริษัทในเครือไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ “MINT” โดยได้ไปซื้อแฟรนไชส์จากบริษัท Collins Foods ของออสเตรเลียมาบริหารตั้งแต่ปี 1992 หรือ พ.ศ. 2535
เปิดสาขาแรกที่อาคารฟิฟฟ์ตี้ฟิฟฟ์ พลาซ่า (Fifty Fifth Plaza) สุขุมวิท 55 (ปิดบริการแล้ว) และได้ขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมี 68 สาขา ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนสาขา Sizzler มากที่สุดในเอเชีย
ในปี 2566 หลังจาก Collins Foods บริษัทเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ Sizzler ทั่วโลก ปิดกิจการทุกสาขาในออสเตรเลียได้ 3 ปี บริษัท ไมเนอร์ฯ ก็ได้ไปซื้อแบรนด์แฟรนไชส์ Sizzler ต่อจาก Collins Foods ในวงเงิน 547 ล้านบาท ทำให้ไมเนอร์ฯ เป็นเจ้าแบรนด์แฟรนไชส์ Sizzler เต็มตัว ยกเว้นในสหรัฐอเมริกา กัวเตมาลา และเปอร์โตริโก
หลังจากซื้อ Sizzler มาแล้ว ทำให้ไมเนอร์ฯ กลายเป็นบริษัทแม่แฟรนไชส์ Sizzler ในญี่ปุ่นอีก 10 สาขา และยังจะได้รับค่า Royalty Fee ปีละ 90-100 ล้านบาท อีกทั้งไม่ต้องจ่ายค่า Royalty Fee ในไทยให้กับ Collins Foods ของออสเตรเลียอีกต่อไป
โดยมีเป้าหมายขยายสาขาในอาเซียน ตะวันออกกลาง และเมื่อต้นปี 2567 ไมเนอร์ฯ ได้เปิด Sizzler สาขาแรกในเวียดนาม
ปัจจุบัน Sizzler ในประเทศไทย ภายใต้การบริหารของบริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ในเครือไมเนอร์ฯ ถือว่าประสบความสำเร็จอยู่ไม่น้อย ทั้งจำนวนสาขา และรายได้
- ปี 2562 รายได้ 2,690 ล้านบาท กำไร 124 ล้านบาท
- ปี 2563 รายได้ 1,757 ล้านบาท ขาดทุน 53 ล้านบาท
- ปี 2564 รายได้ 1,455 ล้านบาท ขาดทุน 38 ล้านบาท
- ปี 2565 รายได้ 2,359 ล้านบาท กำไร 95 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 2,461 ล้านบาท กำไร 98.6 ล้านบาท
ทำไม Sizzler ไม่รอดในออสเตรเลีย แต่เติบโตในไทย
Sizzler ปิดทุกสาขาในออสเตรเลีย มาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและการแข่งขันในตลาดที่มีความท้าทายมากขึ้น โดยมีปัจจัยหลักๆ ดังนี้
1. การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมร้านอาหารในออสเตรเลียมีการแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะร้านอาหารประเภท “บุฟเฟ่ต์” และ “ฟาสต์ฟู้ด” ทำให้ Sizzler ต้องเผชิญกับแรงกดดัน และความท้าทายในการรักษาลูกค้าและการทำกำไร
2. พฤติกรรมของผู้บริโภค
ผู้บริโภคในออสเตรเลียมีความนิยมทานอาหารที่มีความหลากหลาย มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการสั่งอาหารออนไลน์ หรือการเลือกทานอาหารที่มีคุณภาพและส่วนผสมที่ดีขึ้น ทำให้ร้านบุฟเฟ่ต์แบบ Sizzler ไม่ได้รับความนิยมเหมือนเดิม
3. ผลกระทบจากโควิด-19
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารในออสเตรเลีย โดยเฉพาะร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ที่ต้องปิดชั่วคราวระหว่างการล็อกดาวน์ ทำให้ Sizzler ขาดรายได้และไม่สามารถฟื้นตัวได้
4. กลยุทธ์ขยายสาขา
หลังจากการปิดตัวในออสเตรเลียปี 2528 บริษัทได้ตัดสินใจมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและสร้างการเติบโตในตลาดอื่นๆ เช่น ในไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจที่ดีกว่าในออสเตรเลีย
ทำไม Sizzler เติบโตในไทย
Sizzler สามารถเติบโตได้ในประเทศไทยจากหลายปัจจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในท้องถิ่น โดยเฉพาะการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมและแนวโน้มในตลาดไทย ดังนี้
1.ความนิยมอาหารบุฟเฟ่ต์
คนไทยชื่นชอบอาหารบุฟเฟ่ต์ที่สามารถเลือกทานได้หลายรูปแบบ โดย Sizzler ให้บริการบุฟเฟ่ต์ มีทั้งสเต๊ก สลัดบาร์ที่ใหญ่ที่สุด ซีฟู้ด และของหวานที่หลากหลาย จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความหลากหลาย
2. กลยุทธ์การตลาดที่ดี
Sizzler ทำการตลาดที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ในการทานอาหารที่ดี โดยออกเมนูใหม่ๆ และการจัดโปรโมชั่นต่างๆ ที่ดึงดูดลูกค้า เช่น โปรโมชั่น “บุฟเฟ่ต์” หรือ “เซตเมนู” ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าในการใช้บริการ
3. สาขาที่ตั้งในทำเลที่ดี
Sizzler มีสาขาส่วนใหญ่ในห้างสรรพสินค้าที่มีการเดินทางสะดวก ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงร้านได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่นหรือมีผู้คนเดินทางมาก เช่น เซ็นทรัล, ฟิวเจอร์พาร์ค สยามพารากอน และอื่นๆ
4. ปรับเมนูเข้ากับผู้บริโภค
Sizzler นำไทยได้ปรับเมนูให้สอดคล้องกับรสชาติและความชอบของคนไทย เช่น การนำเสนออาหารที่มีรสชาติแบบไทยๆ หรือเมนูที่เป็นที่นิยมในประเทศ เมนูตามฤดูกาลต่างๆ จึงทำให้ร้านสามารถดึงดูดลูกค้าได้ดี
5. การบริการที่ดี
การบริการที่ใส่ใจและอบอุ่น ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและอยากกลับมาใช้บริการซ้ำ Sizzler ให้บริการที่มีคุณภาพและมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าที่ไปใช้บริการ เป็นสิ่งที่ทำให้ Sizzler ได้รับการตอบรับที่ดีในประเทศไทย
ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ช่วยให้ Sizzler ประสบความสำเร็จและเติบโตในประเทศไทย แม้ว่าในประเทศอื่นๆ อาจจะมีอุปสรรค แต่ในตลาดเมืองไทยมีโอกาสทางธุรกิจที่ดี ทำให้ Sizzler สามารถขยายสาขาและรักษาฐานลูกค้าในไทยได้เป็นอย่างดี
แหล่งข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy