แบบไหนรวยเร็วกว่า! หัวการค้า vs หัวธุรกิจ

คุณสมบัติของคนที่จะรวยสิ่งที่ต้องมีคือ “หัวการค้า” ที่จะต่อยอดไปสู่การเป็น “หัวธุรกิจ” ในอนาคตได้ ก่อนอื่นต้องบอกว่า 2 คำนี้ความหมายคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน

หัวการค้า คือผู้ที่ลงทุนอะไรไปแล้วต้องกำไรทันที เช่น การขายสินค้า ซื้อ มา 100 บาท ขาย 150 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้วยังต้องกำไร จะกำไรมากหรือกำไรน้อยแต่ก็ขอให้มีกำไร ซึ่งคนหัวการค้าถ้าไม่มีการต่อยอดก็ยังเป็นแค่พ่อค้าทั่วไป

หัวธุรกิจ คือผู้ที่ยอมลงทุนก่อนโดยไม่ได้หวังว่าจะต้องกำไรในทันที บางครั้งยอมขาดทุนก่อนเพื่อหวังผลกำไรในระยะยาวและคนหัวธุรกิจจะรู้จักการพัฒนาธุรกิจตัวเองให้เติบโตขึ้นเป็นลำดับขั้น มีการสร้างระบบมีการสร้างทีมงานเพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตสูงสุด

ซึ่งนอกจากวิสัยทัศน์ที่แตกต่างและความกล้าได้กล้าเสีย ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่หัวการค้าและหัวธุรกิจ นั้นต่างกันเช่น

พ่อค้ามักยึดติดกับตัวเอง แต่หัวธุรกิจเน้นหาคนเก่งมาช่วย

หัวการค้า

พ่อค้ามักไม่ค่อยจ้างพนักงานเพราะมองว่าบริหารด้วยตัวเองจะดีกว่า รวมถึงไม่เชื่อใจคนอื่นว่าจะมาทำงานได้ดีเหมือนที่ตัวเองทำแตกต่างจากนักธุรกิจที่ พร้อมเปิดรับคนมาช่วยทำงานเพราะคนหัวธุรกิจจะมองว่าตัวเองไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบหรือเก่งเหนือคนอื่นแต่สิ่งที่ต้องมีคือ คิดเร็ว ทำเร็ว มองเกมออก และไม่ได้ทำทุกอย่างเองทั้งหมด อะไรที่ไม่ถนัดก็จ้างผู้เชี่ยวชาญมาช่วย

พ่อค้าไม่ได้คิดเรื่องกลุ่มลูกค้า แต่นักธุรกิจให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมาย

หัวการค้า

คนที่มีหัวธุรกิจจะเน้นกลุ่มเป้าหมายมากกว่าโฟกัสแค่กลุ่มลูกค้า ยกตัวอย่างพ่อค้า 1 คนสร้างร้านค้าใช้เวลา 1 ปีทำให้ 1,000 คนรู้จักร้าน แต่นักธุรกิจอาจใช้เวลา 6 เดือนในการทำให้คนกว่า 10,000 คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รู้จักธุรกิจจากนั้นจะกลายมาเป็นลูกค้ามากแค่ไหนก็อยู่ที่สินค้าและบริการเป็นสำคัญ แนวคิดของหัวธุรกิจคือยิ่งคนรู้จักแบรนด์ ยิ่งผ่านสายตาคนได้มาก โอกาสขายก็มีมากขึ้นเช่นกัน

หัวธุรกิจรู้จักต่อยอดและเปลี่ยนแปลง

คนที่มีหัวธุรกิจรู้ดีว่าการค้าขายย่อมมีโอกาสเจอคู่แข่งมาก จำเป็นต้องต่อยอดจากสิ่งเดิมให้ดียิ่งกว่า ในความคิดของหัวธุรกิจมองว่าโอกาสมีอยู่รอบตัวเพียงแต่ใครจะเห็นและคว้ามาก่อน เหมือนอย่างที่ CP ที่ดึงเอา 7-Eleven มาลงทุนในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงวงการค้าปลีกเมืองไทยอย่างสิ้นเชิงนั้นคือหนึ่งในการต่อยอดและเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุด

ดังนั้นถ้าย้อนไปที่คำถามว่า “แบบไหนรวยเร็วกว่า” คำตอบก็ชัดเจนว่า “หัวธุรกิจ” รวยเร็วกว่า

ถ้าจะพูดให้เห็นภาพต้องยกตัวอย่าง “คนจีน” ที่มีทั้งหัวการค้าและหัวธุรกิจอยู่รวมภายในตัวเอง ซึ่ง มีผลสำรวจที่น่าสนใจระบุว่า มีคนจีนกว่า 3 ล้านคนที่มีสินทรัพย์เกิน 30 ล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 1 ล้านคน มีสินทรัพย์เกิน 50 ล้านบาท โดยคนเหล่านี้อยู่ในวัย 40-50 ปี ในเมืองไทยเองก็มีคนไทยเชื้อสายจีนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอยู่จำนวนมาก เช่น คุณธนินท์ เจียรวนนท์ (แซ่เจี๋ย) , คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี (แซ่โซว) ,ตระกูลจิราธิวัฒน์ (แซ่เจ็ง) เป็นต้น

ปรัชญาการทำธุรกิจของคนจีนที่จริงสามารถใช้เป็นต้นแบบของความสำเร็จได้อย่างดีเพราะมีทั้งหัวการค้าและหัวธุรกิจรวมไว้ด้วยกันเราจะเห็นว่าคนจีนมักสอนลูกหลานว่าเมื่อมีเงินอย่าไปใช้ฟุ่มเฟื่อย ส่วนหนึ่งเก็บไว้ใช้ และต้องมีส่วนที่เก็บไว้ขยายธุรกิจด้วย การขยายธุรกิจแบบจีนใช่จะโตแบบพรวดพราด แต่จะค่อยๆขยาย จากหนึ่งเป็นสองจากสองเป็นสาม

อย่างไรก็ดีการมีหัวธุรกิจก็ต้องสัมพันธ์กับมีหัวทางการเงินด้วย แนวคิดการทำธุรกิจที่ถูกต้องไม่นิยมการนำเงินไปกระจุกไว้ที่เดียว แต่ควรที่จะกระจายความเสี่ยงไปสู่การลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่นอสังหาริมทรัพย์ หุ้นส่วนในกิจการอื่น รวมถึงการลงทุนหรือขยายกิจการในต่างประเทศอันเป็นการกระจายความเสี่ยงหากเกิดปัญหากับธุรกิจหลักก็ยังมีรายได้จากทางอื่นหลงเหลืออยู่

จุดเด่นของคนหัวธุรกิจที่ทำให้ร่ำรวยคือ “คิดแล้วทำ” “ทำแล้วตั้งใจ” “ต่อขยายธุรกิจอย่างเป็นระบบ” ซึ่งจุดนี้คนไทยหลายคนก็มีไอเดียธุรกิจที่ดีมีหัวการค้าแต่ต่อยอดไปเป็นหัวธุรกิจไม่ได้เพราะส่วนใหญ่มักไม่พัฒนาให้ต่อเนื่อง หรือมีความกลัวต่างๆนานา เช่นกลัวขาดทุน กลัวไม่มีคนซื้อ กลัวเป็นหนี้ สุดท้ายก็ย่ำอยู่กับที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแม้แต่น้อย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด