แท้จริง! คน Introvert คุยไม่เก่ง แต่สำเร็จเร็ว ต้องเป็นคนแบบไหนถึงมีโอกาสประสบความสำเร็จ?
นักจิตวิทยาได้จัดแบ่งบุคลิกลักษณะของคนออกเป็นหลายประเภทและหลายทฤษฎี นิยามที่ใช้บ่อยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
- Introvert (เก็บตัว)
- Extrovert (ชอบเข้าสังคม)
- Ambivert (ผสมผสานระหว่าง Introvert + Extrovert)
ถ้าประเมินจากความรู้สึกส่วนใหญ่จะบอกว่ากลุ่ม “Extrovert” น่าจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่!
กลุ่ม Introvert ที่ใครก็มองว่าคนกลุ่มนี้ไม่ชอบเข้าสังคม มีโลกส่วนตัวสูง รู้สึกเก้อเขินทุกครั้งที่อยู่กับคนหมู่มาก เก็บตนเองเงียบ และขี้อาย กลับเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุด
ลองมาสำรวจตัวเองกันสักนิดว่าตอนนี้เราเป็นกลุ่ม Introvert หรือเปล่า?
- ชอบใช้เวลาอยู่กับตนเองเมื่อมีเวลาว่าง และรู้สึกมีความสุขมากกว่าการออกไปพบปะสังสรรค์กับผู้คน
- เมื่อต้องเข้าสังคม จะรู้สึกเหนื่อย หมดแรง และต้องการพักผ่อน ต้องการใช้เวลาอยู่กับตัวเอง
- บุคลิกภาพเงียบขรึม ชอบทบทวนความคิดของตัวเองบ่อยๆ
- ชอบอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ มากกว่าอยู่ท่ามกลางคนกลุ่มใหญ่
ซึ่งข้อดีของ Introvert มักจะแก้ปัญหาหรือเรียนรู้ได้ดีกว่าเมื่ออยู่กับตัวเอง และการเป็นคนพูดน้อย ก็เท่ากับว่าเปิดโอกาสในการเป็นผู้ฟังที่ดีมากขึ้น และยังมีอีกหลายข้อดีที่น่าสนใจเช่น
- โฟกัสและความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแบบลึกๆได้ดี
- คิดเยอะก่อนที่จะพูดอะไรออกมา
- ชอบเขียนมากกว่าพูดและบางส่วนชอบการจัดบันทึกหรือการโน้ตสิ่งสำคัญๆเพื่อให้จำได้
- มีทักษะการค้นคว้าการหาข้อมูลที่มากเป็นพิเศษ
- มีความใจเย็น นิ่ง ในสถานการณ์ยากลำบาก
ด้วยคุณสมบัติของคนกลุ่ม Introvert ที่กล่าวมานี้หากนำมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นจะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในแง่ของการทำธุรกิจที่คนกลุ่ม Introvert ได้เปรียบมาก ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น
1.บุคลิกภาพมีความน่าเชื่อถือสูง
การทำธุรกิจย่อมสัมพันธ์กับการขาย ด้วยบุคลิกของคนกลุ่ม Introvert ที่มีความสุขุม พูดจามีหลักการและเหตุผล มีความน่าเชื่อถือที่สำคัญนิยมการฟังมากกว่าการพูด ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือยิ่งเฉพาะการเจรจาธุรกิจในระดับผู้บริหารจะยิ่งได้เปรียบมาก หรือแม้แต่การนำเสนอสินค้าใดๆ ก็มักจะทำให้คนฟังรู้สึกเชื่อถือและคล้อยตามได้
2.เป็นนักปรึกษาที่ดี
ในยุคที่ลูกค้ามีโอกาสเลือกสินค้าได้มากขึ้น ย่อมต้องการสินค้าที่ตัวเองประทับใจ ซึ่งกลุ่ม Introvert ตอบโจทย์ความรู้สึกนี้ได้ดี ด้วยบุคลิกที่ฟังมากกว่าพูด พร้อมรับฟังปัญหาของลูกค้ามากกว่าที่จะเสนอขายสินค้า หลายครั้งที่ลูกค้าเปิดใจคุยกับคนที่เป็นกลุ่ม Introvert แล้วรู้สึกสบายใจ รู้สึกว่าเขาไม่ได้ยัดเยียดการขายมาให้ แต่สุดท้าย คน Introvert กลับเสนอวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างตรงจุดถือเป็นหนึ่งในเทคนิคการขายที่น่าสนใจมาก
3.ปิดการขายได้อย่างทรงพลัง
คำว่าทรงพลังในที่นี้มาจากบุคลิกของ Introvert ที่ไม่หวั่นเกรงแม้จะเป็นการเผชิญหน้าแบบ 1:1 ซึ่งการรู้จักคิดวิเคราะห์และตอบโต้ในทุกคำถามได้อย่างเฉียบคม จึงเป็นบุคลิกที่จะได้ใจลูกค้ามากกว่ากลุ่ม Extrovert ที่บางครั้งอาจจะคึกมากเกินไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในแง่ของการขาย Introvert จึงน่าจะทำได้ดีกว่า
สำหรับอาชีพที่เหมาะคนกลุ่ม Introvert คือ อาชีพที่ใช้ความคิด และไม่ต้องพบปะผู้คนเยอะๆ เช่น นักเขียน, นักวิจัย, ที่ปรึกษา, ล่าม ,นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, โปรแกรมเมอร์ , กราฟิกดีไซน์, สถาปนิก เป็นต้น
แต่ก็ใช่ว่าหากเป็นอาชีพอื่นแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะหากมองในแง่ของการทำธุรกิจมีบุคคลระดับโลกที่เรารู้จักกันดีซึ่งอยู่ในกลุ่ม Introvert นี้ด้วย เช่น Warren Buffet , Mark Zuckerbuft , Steve Job , Bill gate , Amancio Ortega (เจ้าของแบรนด์ ZARA) และแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนในกลุ่ม Introvert เช่นกัน
มีอีกหลายความคิดที่ตีความ คน Introvert ดูจะมีข้อดีมากกว่าข้อเสียแต่ในความเป็นจริงบุคลิกภาพแบบ Introvert ถ้ามีเยอะเกินไปจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าคนในกลุ่ม Extrovert ดังนั้นการรักษาสมดุลชีวิตไม่ให้สิ่งใดมากเกินไปจึงน่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)