แชร์! วิธีสร้างรายได้จาก Youtube หาเงินได้เท่าไหร่

Youtube เป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตที่คนยุคนี้รู้จักอย่างดีและยิ่งในยุคที่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 ยิ่งทำให้ Youtube เป็นที่นิยมมากขึ้น ข้อมูลระบุว่าในช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยดู Youtube เพิ่มขึ้น 20%

และมีช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน เกิน 450 ช่องโดยคนไทยใช้เวลาในการรับชมวิดีโอประเภทตลกขบขันเพิ่มขึ้นกว่า 90% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่การค้นหาคำว่า “การทำอาหาร” บน YouTube เพิ่มขึ้นกว่า 80%

นอกจากนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่า Youtube เป็นอีกช่องทางที่หลายคนกำลังใช้หารายได้ซึ่งก็มีหลายรูปแบบ และมีเงื่อนไขน่าสนใจ ที่ใครอยากหารายได้จาก Youtube ควรต้องรู้ไว้

รวม 7 วิธีหารายได้จาก Youtube

วิธีสร้างรายได้จาก Youtube

ภาพจาก freepik

1. สร้างรายได้จากผู้สนับสนุน (Sponsors)

ในปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Youtube มากกว่า 2 พันล้านคนต่อเดือนหรือ 1 พันล้านชั่วโมงในการรับชมต่อวันซึ่งทำให้ Youtube เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมาก บริษัทส่วนใหญ่จึงต้องการที่จะเพิ่มรายได้โดยอาศัยช่อง Youtube ที่มีชื่อเสียงเพื่อให้โปรโมตผลิตภัณฑ์ต่างๆ และเพิ่มยอดขายให้กับทางแบรนด์ ดังนั้นการได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์ที่สำคัญต่างๆ มากมายจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับเหล่า Youtuber

2. สร้างรายได้จากระบบลิงก์ช่วยขาย (Affiliate Links)

ถ้าเราเคยดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วคนเหล่านี้ได้อธิบายถึงรายละเอียดและส่วนผสมต่างๆ อย่างละเอียด เมื่อผู้ชมเกิดความสนใจและคลิกลิงก์ เจ้าของช่อง Youtube ก็จะได้รับเปอร์เซ็นต์จากการซื้อนั้นด้วย

3. สร้างรายได้จากระบบสมาชิก (Membership)

สำหรับช่อง Youtube ที่ทำวิดีโอไปเยอะๆ แล้วจะมีระบบสมาชิกเกิดขึ้น ซึ่งทาง Youtube เปิดโอกาสให้ Creator ได้มีช่องทางทำเงินเพิ่มขึ้น จากการให้สมาชิกสามารถเป็นสมาชิก VIP ได้ เช่น สมาชิกรายเดือน อาจจะมีสิทธิพิเศษต่างๆ ได้รับเสื้อ หรือได้ดูเนื้อหาพิเศษกว่า

4. สร้างรายได้จาก Youtube Adsense

สำหรับช่อง Youtube ที่ผ่านเกณฑ์จะสามารถเปิดรับรายได้โดยการเชื่อมบัญชี Adsense และจะได้เงินทุกๆ วันที่ 22-24 ของเดือน เงินจะเข้าระบบมากหรือน้อยก็ขึ้นกับการเข้าชม VDO และรายละเอียดต่างๆ

วิธีสร้างรายได้จาก Youtube

ภาพจาก freepik

5. สร้างเงินจากการขายสินค้า (Merchandise)

ในปัจจุบันเหล่า Youtuber ยังจำหน่ายสินค้าต่างๆ มากมายเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมส่วนมากจะเป็น เสื้อ กระเป๋า หมวกและเครื่องประดับต่างๆ

6. สร้างแบรนด์สร้างตัวตน (Personal Brand)

เป็นการสร้างตัวตนผ่านช่อง Youtube ก็ล้วนแต่เป็นการเพิ่มมูลค่าได้ทั้งนั้น เมื่อเรามีแบรนด์หรือมีตัวตนแล้ว ก็จะมีโอกาสในการเพิ่มช่องทางการทำเงินอีก เช่น การเป็นที่ปรึกษา,การเป็นวิทยากรรับเชิญ ต่างๆ

7. สร้างแบรนด์ทางธุรกิจ (Business Brand)

การสร้างแบรนด์ให้กับธุรกิจ ทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านช่องทาง VDO Youtube เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทางบริษัท บ่อยครั้งที่เราพบว่าคนซื้อของอยากจะดูผ่านทางหลายๆ ช่องทางก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งถ้าเราสามารถสร้างแบรนด์เราผ่านทาง youtube ก็เพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเราได้เช่นกัน

รายได้จาก Youtube ดีแค่ไหน

วิธีสร้างรายได้จาก Youtube

ภาพจาก freepik

เราจะพูดถึงแค่รายได้จากโฆษณา (ที่แสดงอัตโนมัติ) เท่านั้น โดยรายได้จากสปอนเซอร์ หรือจากการขายสินค้าไม่นับ เพราะแต่ละช่องจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ซึ่งเรทรายได้จาก Youtube นั้นที่จริงกว้างมาก เราอาจจะได้ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นอยู่กับContent , ความนิยม, ยอดคนดู และยิ่งหากเป็นช่องที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษจะเพิ่มโอกาสสร้างรายได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างบางช่อง มียอดวิว 144,208 วิว และมีรายได้ค่าโฆษณา 201.93 ดอลล่าห์ หรือประมาณ 1,400 ดอลล่าห์ ต่อหนึ่งล้านวิวเท่ากับว่าถ้ามีคนดูวิดีโอนี้ล้านครั้ง จะได้ประมาณ 1,400 x 30 (ตามอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน)
= 42,000 บาท

ซึ่งช่องที่เป็นภาษาไทยอาจมีรายได้ที่น้อยกว่าช่องที่เป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษเพราะสัดส่วนคนดูและเข้าถึงภาษาอังกฤษมีมากกว่า แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นกรณีนี้ทุกครั้งไป บางครั้งช่องที่เป็นภาษาไทยก็สร้างรายได้มาก อย่างเช่นบางช่องที่ภาษาไทยที่เค้าสอนพูดภาษาอังกฤษมีรายได้2,104.34 ดอลลาห์ จาก 1.1 ล้านวิว หรือประมาณ 57,391 บาทต่อล้านวิว ซึ่งถือว่าเยอะมาก

4 ปัจจัยกำหนดรายได้จาก Youtube

วิธีสร้างรายได้จาก Youtube

ภาพจาก freepik

เรายังพูดถึงรายได้ที่มาจากเฉพาะค่าโฆษณาเป็นหลักเหมือนเดิมจะเห็นได้ว่า ช่องต่างกัน รายได้ต่อล้านวิว ก็ต่างกันไปหรือต่อให้ช่องเดียวกัน แต่คนละวิดีโอรายได้ก็ไม่เท่ากันซึ่งปัจจัยที่กำหนดดรายได้ว่ามากน้อยแค่ไหนมี 4 ปัจจัยคือ

1. ความยาวของวิดีโอ

ยิ่งวิดีโอมีความยาวเท่าไหร่ ก็สามารถแสดงโฆษณาได้จำนวนครั้งมากขึ้นเท่านั้น วิดีโอที่ยาวมากๆ รายได้ก็มากขึ้นเป็นเงา ยูทูปเปอร์ส่วนใหญ่เลยนิยมทำคลิปให้มีความยาวอย่างน้อย 10 นาทีขึ้นไป

2. ประเทศที่เข้าชม

ถ้าช่องของเรามีคนดูอยู่ในประเทศมีกำลังซื้ออย่างอเมริกา ก็จะได้เรทโฆษณาสูงขึ้นด้วย ถึงเป็นเหตุผลว่าทำไมช่องที่เป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษถึงมีรายได้ที่สูงกว่าภาษาไทย

3. เนื้อหาของวิดีโอ

วิดีโอที่มีเนื้อหาเฉพาะทาง เช่น การเงิน การลงทุน หารายได้ การศึกษา จะได้อัตราโฆษณามากกว่า วิดีโอจิปาถะทั่วไป

4. อายุของผู้เข้าชม

ถ้าผู้ชมส่วนใหญ่ของช่องอยู่ในวัยทำงาน ก็จะมีเรทโฆษณามากกว่าช่องที่มีผู้ชมเป็นเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากวัยทำงานมีกำลังซื้อมากกว่านั่นเอง

เงื่อนไข “การสร้างรายได้” จาก Youtube

16

ภาพจาก freepik

ก็ใช่ว่าเราเริ่มต้นทำคลิปใน Youtube แล้วจะมีรายได้ทันทีก่อนที่เราจะมีรายได้จากโฆษณาใน Youtube เราต้องผ่านเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. มีผู้ติดตาม (subscribers) อย่างน้อย 1,000 คน
  2. ในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา หรือน้อยกว่า ช่องเราต้องมี “จำนวนชั่วโมง (watch hours)” ที่คนดูวิดีโอของเรารวมกัน ไม่น้อยกว่า 4,000 ชั่วโมง

ทั้งนี้จะอธิบายให้เข้าใจว่าชั่วโมงที่ดู (watch hour) กับวิว (view) นั้นต่างกัน เพราะยอดวิว (view)คือ “จำนวนครั้ง” ที่คนกดเข้ามาดูวิดีโอ สมมุติวิดีโอเรามีคน 100 คนกดเข้ามาดู บางคนดูจนจบ บางคนดูไม่จบ ยอดวิว (view) ของเราก็มี 100

ซึ่งแตกต่างกับจำนวนชั่วโมงคนดู (watch hour) ซึ่งก็คือ“เวลา” ที่คนดูวิดีโอคุณ (หน่วยเป็นชั่วโมง) เช่น ถ้ามีคนสองคนกดเข้ามาดูวิดีโอความยาว 1 ชั่วโมงของเรา โดยคนแรกดูจนจบ ส่วนคนที่สองดูแค่ 30 นาทีแล้วปิด วิดีโอนั้นจะมี watch hours เท่ากับ 1.5 ชั่วโมง เป็นต้น

สำหรับช่องใหม่การจะทำให้ได้ 4,000 watch hours ใน 12 เดือน มันอาจจะค่อนข้างท้าทาย แค่ต้องทำให้ได้ 333.33 watch hours ต่อเดือน (โดยเฉลี่ย) ซึ่งยิ่งช่องเรามีวิดีโอมากเท่าไหร่ โอกาสถึงเป้าก็ยิ่งสูงมากขึ้น

วิธีรับเงินจาก Youtube

17

ภาพจาก freepik

เวลาที่สมัครสร้างรายได้กับยูทูป มันจะมีขั้นตอนให้สร้างบัญชี Google Adsense ด้วย ซึ่งเราสามารถตั้งค่าว่าจะให้โอนเงินไปที่บัญชีธนาคารอะไรผ่าน Adsense นี้ แต่ก่อนที่จะเริ่มรับเงินได้จริงๆ เราต้องพิสูจน์ว่าที่อยู่ในบัญชี Adsense มันคือที่อยู่ของเราจริงๆ ขั้นตอนคร่าวๆ เป็นแบบนี้ครับ

  1. ต้องรอให้รายได้จากค่าโฆษณาช่องคุณถึงเกณฑ์ที่ยูทูปกำหนด
  2. จากนั้น Youtube จะส่งจดหมายที่มีรหัส PIN ไปยังที่อยู่เรา ซึ่งอาจจะต้องรอนานประมาณสัปดาห์
  3. นำเอารหัส PIN ไปใส่ในบัญชี Adsense

พอยืนยันที่อยู่เสร็จแล้ว ก็สามารถเริ่มรับเงินจาก Youtube ได้ โดยในเมนู Payments ของ Adsense ให้เรากรอกรายละเอียดบัญชีธนาคาร ทีนี้ในแต่ละเดือน ถ้ายอดถึงเกณฑ์ที่กำหนด (ขั้นต่ำคือ $100) Youtube ก็จะโอนเงินเข้าบัญชีให้โดยอัตโนมัติ

แพลตฟอร์มของ Youtube หากมองในแง่ของการสร้างรายได้ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ต้นทุนน้อย แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีรายได้จาก Youtube สิ่งสำคัญต้องอาศัยคุณภาพ ความสม่ำเสมอ และควรมีไอเดียในการทำContent ให้น่าสนใจเพราะทุกวันนี้มีเหล่า Youtuber จำนวนมาก การแข่งขันจึงสูงตาม เบื้องต้นต้องใจรักและอดทนมีความมุ่งมั่นจึงจะสร้างรายได้จาก Youtube ได้สมกับที่ตั้งใจ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gh0dMm

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด