แชร์! วิธีสร้างรายได้จาก Pinterest หาเงินได้เท่าไหร่

Pinterest เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาเพื่อแบ่งปันไอเดียด้วยรูปภาพที่น่าสนใจ และจะเป็นสื่อที่จะช่วยคัดคนที่สนใจเนื้อหาสามารถอ่านต่อได้จากลิงค์ของรูปภาพ ซึ่ง Pinterest นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมาก ในต่างประเทศ

แน่นอนว่านอกจากความบันเทิงแล้วเราก็คงอยากรู้ว่า Pinterest จะสามารถใช้หารายได้เหมือนกับแพลตฟอร์มโซเชี่ยลอื่นๆ หรือไม่ www.ThaiSMEsCenter.com ขอบอกตรงนี้เลยว่า Pinterest สามารถใช้หารายได้ไม่ต่างจากโซเชี่ยลอื่นๆ เพียงแต่เราต้องรู้จักวิธีการและเน้นความขยันมากสักหน่อย

Pinterest ฮิตแค่ไหน?

วิธีสร้างรายได้จาก Pinterest

ภาพจาก freepik.com

ผู้ใช้งาน Pinterest กว่า 79.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็น 47% ของฐานผู้ใช้งานทั้งหมด รองลงมาคือ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษและแคนาดา ตัวเลขน่าสนใจยังระบุอีกว่า Pinterest เมื่อเทียบกับโซเชียลแพลตฟอร์มอื่นๆ

ฐานผู้ใช้งานของ Pinterest เพิ่มขึ้น 26% จากเดิมที่มีผู้ใช้งานกว่า 335 ล้านรายในปี 2019 และตลอดปี 2019 มีผู้ใช้งานเฉลี่ย 70 ล้านรายต่อเดือน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในปี 2020 ที่ผ่าน ทางด้านของรายได้

ในปีที่ผ่านมา Pinterest ทำรายได้กว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปีก่อนหน้านี้ ทำรายได้เพิ่มขึ้น 51% หรือกว่า 1,140 ล้านเหรียญสหรัฐ (2018-2019) โดยในปี 2020 รายได้ของ Pinterest เติบโตกว่า 76% คิดเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นประมาณ 705.6 ล้านดอลลาร์

ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้ มาจากการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำโฆษณาได้ดีขึ้นกว่าเดิม และหากมองดูที่ประเภทการใช้งานของเหล่า Pinner พบว่ามีการค้นหากว่า 8 ครั้งต่อเดือน ทำให้ภาพรวมการค้นหาแตะ 2,000 ล้านครั้งและ Pinn ไว้เพื่อกลับมาดูซ้ำกว่า 2,000 ล้านพิน และมีการบันทึกไว้บนบอร์ดกว่า 4,000 ล้านบอร์ดทั้งแพลตฟอร์ม และส่วนใหญ่คนยังเข้าใช้งาน Pinterest ผ่านมือถือมากกว่าช่องทางอื่นๆ อีกด้วย

วิธีการหารายได้บน Pinterest

วิธีสร้างรายได้จาก Pinterest

ภาพจาก freepik.com

การหารายได้ใน Pinterest ที่ชัดเจนสุดคือ “Affiliate” โดยการทำ Affiliate บน Pinterest จะเน้นไปที่การทำภาพสวยๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนสนใจ ซึ่งคำว่า Affiliate ก็เปรียบเหมือนการเป็น “นายหน้า” โดยเราสามารถไปสมัครเป็น Affiliate ได้ทั้งเว็บไซต์ของไทยและต่างประเทศ ซึ่งเว็บไซต์ Affiliate แต่ละที่ก็จะจ่ายเงินให้เราได้ก็ต่อเมื่อ มีลูกค้ามาคลิ๊กลิงค์ที่เราโพส และทำการสั่งซื้อ และแต่ละที่ก็จะให้ค่านายหน้าต่างกันไปตามหมวดหมู่ของสินค้า

เมื่อเราไปสมัครเป็นนายหน้ากับเว็บไซต์ Affiliate แล้ว สิ่งที่เราจะทำก็คือ เลือกหมวดสินค้าที่เราคิดว่าขายดี และทำการหารูปภาพที่น่าสนใจ จากนั้นนำมาตกแต่งภาพเล็กๆ น้อยๆ และนำไปโพสต์ลงใน Pinterest โดยใส่ลิงค์ของภาพไปยังเว็บไซต์ Affiliate เหล่านี้ ทีนี้เมื่อมีคนซื้อผ่านภาพของเราก็สามารถได้เงินจากการเป็นนายหน้า ยกตัวอย่างเว็บไซต์ที่สมัคร Affiliate ได้เช่น Lazada affiliate , Accesstrade , tripadvisor เป็นต้น

เทคนิคในการโพสต์รูปภาพสร้างรายได้บน Pinterest

วิธีสร้างรายได้จาก Pinterest

ภาพจาก freepik.com

จากการโพสรูปบน Pinterest นั้นจะมีช่องที่เอาไว้ให้ใส่ลิงค์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ที่เราต้องการอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการทำ Affiliate จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีเว็บไซต์ของเราเองเมื่อเรียบร้อยแล้วให้เราทำการโพสต์ภาพด้วย Keyword เดิมซ้ำๆ สัก 5 – 10 ภาพ เพื่อจะได้ติดอันดับแรกๆ ในการกดค้นหา ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถสร้างรายได้จาก Affiliate ใน Pinterest ได้ดีขึ้น ซึ่งมี

เทคนิคน่าสนใจดังนี้

วิธีสร้างรายได้จาก Pinterest

 

1.เลือกรูปที่สวยและดีที่สุด

เพราะจุดเด่นของ Pinterest คือ การดึงดูดสายตาผู้ชมเว็บด้วยภาพ ดังนั้นจำเป็นจะต้องเลือกภาพที่สวยมากๆ

2.ใส่ข้อความให้กระชับและดึงดูด

เพราะเวลาที่คนดูภาพเสร็จ ก็จะมองมาที่ข้อความ ดังนั้นการใส่ข้อความสั้นแต่โดน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรเป็นข้อความเชิงแสดงอารมณ์ที่สะท้อนมาจากภาพนั้นๆ

3.สร้างกิจกรรมให้ลูกค้าร่วมสนุกกับแบรนด์

เน้นกิจกรรมง่ายๆ เช่นการให้ลูกค้าโปรโมทแคมเปญนี้ในสื่อออนไลน์อื่นๆ โดยให้ลูกค้าใส่สินค้าของและถ่ายรูปมาโชว์โดยติดแท็กที่ภาพเป็นชื่อแคมเปญ หรือชื่อสินค้า ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้แบรนด์ของเราเกิด Buzz ใน Pinterest ได้อีกทางหนึ่ง

4.สินค้าอัพเดทตรงตามสต็อคที่มี

เป็นเรื่องสำคัญเพราะเมื่อมีคนสนใจสินค้า เราต้องมีสต็อคในสินค้าให้เพียงพอกับสินค้าที่โปรโมท เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะได้สินค้าตามที่ต้องการ

30

ภาพจาก freepik.com

นอกจากนี้รายได้ส่วนบุคคลในภาคธุรกิจก็มีการใช้ Pinterest เช่นกัน โดยมีนักการตลาดให้ความสนใจในแพลตฟอร์มนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีรายได้กลับมาสู่ธุรกิจ หลังจากลงโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Pinterest ซึ่งทำรายได้เพิ่มขึ้นให้กับแบรนด์ถึง 15% รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน (ARPU) เพิ่มขึ้น 1.22 เหรียญสหรัฐ เฉลี่ยที่ 40 บาทต่อคน ทำให้นักการตลาดสนใจจะโฆษณาผ่านช่องทางนี้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3zndnQP

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด