แจกฟรี 20 แนวทางสร้างแฟรนไชส์ ด้วยตัวคุณเอง!

เชื่อว่า ผู้ประกอบการธุรกิจหลายๆ คนต้องมีความคิดแบบนี้ คือ เมื่อร้านขายดี มีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ เจ้าของร้านมักตื่นเต้น อยากขายแฟรนไชส์ หรือ บางกิจการมีแผนขยายธุรกิจ

มองว่าแฟรนไชส์ คือกลยุทธ์ที่ใช่ หรือ บางรายวางแผนการใหญ่ต้องการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ แต่ก็ไม่รู้ว่า จะเริ่มต้นยังไง และถ้าขายแฟรนไชส์ จะต้องทำอะไรบ้าง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะหาคำตอบและมาบอกวิธีการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ด้วยตัวของผู้ประกอบการเอง โดยมีมากถึง 20 แนวทางด้วยกัน มาดูว่ามีแนวทางไหนบ้าง ที่สามารถสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ได้ด้วยตัวเอง

1.สร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้า

เชื่อว่า

ธุรกิจของเราต้องครองใจลูกค้าให้ได้เสียก่อน ถ้าธุรกิจเรายังไม่ใช่สำหรับลูกค้า มันก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้าน การที่จะขยายสาขาแฟรนไชส์ต่อไปได้นั้นเราต้องได้ใจของลูกค้าด้วย

การสร้างธุรกิจที่ได้ใจลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทำได้ถูกต้องเราก็ไม่ต้องกลัวว่าต่อไปจะพลาด อย่าให้เราต้องเสียเวลาต้องกลับมาแก้ไขปัญหาภายหลัง คงไม่ใช่เรื่องสนุกเท่าไหร่

2.หาความรู้ระบบแฟรนไชส์

n3

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้และมีทีมงานที่มีความอดทนและมีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เมื่อคุณมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ คุณก็จะตัดสินใจได้ว่าทำไมธุรกิจคุณต้องขายแฟรนไชส์ เพราะระบบแฟรนไชส์มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย อีกทั้งคุณยังต้องมีเงินทุนที่มากพอ ทั้งการสร้างแบรนด์ การขยายสาขาต้นแบบ

ซึ่งเงินทุนจะใช้เป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจคุณขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เพราะระบบธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์และทำการตลาดให้ธุรกิจของคุณมีชื่อเสียง จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ก่อนที่จะขายสิทธิให้กับคนอื่น

3.สร้างสูตรและระบบ

n5

เรื่องนี้เป็นเรื่องโดยปกติไปแล้ว แต่อยากให้ทำในลักษณะที่ไม่สามารถลอกเลียนได้ คราวนี้ทำอย่างไรถึงลอกเลียนสูตรอาหารไม่ได้หละ ก็ต้องใช้การสกัดสารเคมี บางตัวที่ต้องการ เช่น ต้องการความหอมของผักชี รวมกับความเผ็ดของพริกไท ก็ให้นักเคมีสกัดเอาเฉพาะสิ่งที่ต้องการออกมา ทำเป็นผงแป้ง หรือ น้ำก็ตาม

แล้วนำมาเป็นสูตรที่ส่งไปให้ ลูกข่ายได้อย่างสบายใจ หรือ ทำเป็นอาหารกึ่งสำเร็จแล้วขายเป็นวัตถุดิบในการขายของ แฟรนไชส์ซี อย่าทำอาหารที่สำเร็จแล้วส่งไปให้ หรือแช่แข็งนานๆ ครับ เพราะรสชาติ และ คุณภาพของอาหารจะด้อยไป

4.การสร้างร้านต้นแบบ

n14

เมื่อคุณคิดดีว่าจะทำแฟรนไชส์ และธุรกิจของคุณโดนใจลูกค้าแล้ว สิ่งที่จะพิสูจน์ต่อไปว่าธุรกิจของคุณเหมาะที่จะทำแฟรนไชส์ได้หรือไม่ นั่นคือ การสร้างร้านต้นแบบ หรือ Pilot Operations ให้เกิดขึ้นชัดเจนก่อน

เพราะการสร้างร้านต้นแบบจะเป็นเครื่องมือทดลองว่าธุรกิจของคุณผ่านหรือไม่ ซึ่งร้านต้นแบบจะสามารถสะท้อนได้ถึงปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ดี รู้ถึงยอดการขาย กลุ่มลูกค้าที่เข้าใช้บริการ

ถ้าร้านต้นแบบที่คุณสร้างขึ้นนั้นประสบความสำเร็จ ก็จะช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานที่ชัดเจนขึ้น เพราะจะเห็นภาวะของธุรกิจด้านกำไร-ขาดทุนชัดเจนมาก ทำให้เห็นข้อดี-ข้อเสียของระบบงาน รวมถึงการปรับธุรกิจให้เป็นไปตามตลาด ยิ่งถ้ามีการสร้างได้หลายสาขา คุณก็จะได้เห็นความแตกต่างชัดเจน จากเงื่อนไขของทำเลที่ตั้ง สภาพลูกค้าที่แตกต่างกัน

5.จดทะเบียนต่างๆ เครื่องหมายการค้า

n7

ถือว่าสำคัญมากในการทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ เพราะแม้ว่าเราจะขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นไปแล้ว แต่เครื่องหมายการค้าก็ยังเป็นของเราอยู่ สามารถเรียกคืนเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ผิดสัญญา และเครื่องหมายการค้าสามารถสร้างมูลค่ามหาศาล

6.วัสดุอุปกรณ์ที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์

n8

เมื่อมีร้านต้นแบบ คุณก็จะสามารถคำนวณได้แล้วว่า จะมีของอะไรบ้าง ป้ายโฆษณา โลโก้ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในแต่ละแพ็คเกจ ถือว่าขาดไม่ได้เลยทีเดียว

7.วางระบบการจัดการธุรกิจ

j4

ร้านต้นแบบ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบจัดการธุรกิจ แต่ต้องทำให้เป็นไปอย่างง่ายๆ เป็นระบบ สามารถทำการอบรม หรือ อ่านคู่มือแล้ว สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนได้เลย

การอบรมผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะคุณภาพของสินค้าของเราจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแฟรนไชส์ซีด้วย ว่ารับรู้วิธีการ และเข้าใจในการดำเนินการธุรกิจมากน้อยเพียงใด

8.ทำสัญญาแฟรนไชส์

n2

สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นสัญญาที่กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบไว้ แต่ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญา เช่น พื้นที่ จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินการในเขตพื้นที่ใดได้บ้าง ค่าธรรมเนียม สิทธิและหน้าที่ การให้การสนับสนุนแฟรนส์ไชส์ซี ระยะเวลาสัญญา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องระบุในสัญญาแฟรนไชส์ให้ครบถ้วนที่สุด

9.สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก

j6

หน้าที่สำคัญของผู้ขายแฟรนไชส์ ก็คือการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งก็เท่ากับเป็นการสร้างรายได้เข้าให้กับบริษัทแม่เอง หลายคนเดินผิดทาง มีจุดหมายขายแฟรนไชส์ เพื่อหวังค่าธรรมเนียมแรกเข้าอย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยไม่ได้เอาใจใส่ในการทุ่มทุน ทุมแรงในการสร้างแบรนด์ และทำการตลาดให้สินค้า-บริการ ของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในวงกว้าง

ซึ่งจะนำมาสู่ยอดขายที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้กับร้านแฟรนไชส์ซี และเป็น Key Success ที่จะย้อนกลับมาที่บริษัทแม่อย่างมั่นคงกว่า ในรูปของค่าธรรมเนียมรายเดือน ซึ่งรายได้ที่แท้จริงจากการทำระบบแฟรนไชส์ บริษัทผู้ขายแฟรนไชส์ส่วนมาก ที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะขาดทักษะในการสร้างแบรนด์ หรือการทำการตลาดเพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าร้านสาขาอย่างต่อเนื่อง

10.การจัดหาวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพ

n11

สินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบที่เราจะนำมาทำนั้น เป็นคุณภาพแบบไหน ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน แต่อย่าตุนสินค้าไว้ในคลังเยอะเกินไป เพราะจะทำให้เงินหมุนเวียนขาด

11.การจัดการเรื่องการรับ-ส่งวัตถุดิบ

j5

คุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และ การกระจายสินค้าออกไปสู่ แฟรนไชส์ซี การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้ เช่น น้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุป เป็นต้น

12.ตั้งราคาวัตถุดิบที่จะขายให้แฟรนไชส์ซี

w4

ราคาวัตถุดิบที่จะขายนั้น ควรจะเป็นราคาที่ไม่สูง หรือ ต่ำจนเกินไป ต้องรับรู้ว่า จริงๆแล้ว เราต้องการสิ่งเหล่านี้ไปโดยตลอด เป็นรายได้หลักของเราที่จะเข้ามาทุกวัน หากคุณภาพ และ ราคาไม่เหมาะกันแล้ว คุณอาจจะเสียลูกข่ายไปได้ง่ายๆ หรือ แฟรนไชส์ซี เล่นกลซื้อของอย่างอื่นมาใช้แทน คุณก็จะเสียรายได้หลักไปโดยปริยาย

13.ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์

n9

จะขายแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุน จำเป็นต้องทำการตลาด ต้องโฆษณา ต้องมีการประชาสัมพันธ์ ต้องมีกลุ่มพันธมิตร สื่อสารให้คนที่ต้องการซื้อระบบได้รับทราบ แสดงให้เห็นข้อดีของการซื้อแฟรนไชส์ของเรา และผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับ ถ้าเขาเหล่านั้นเห็นความคุ้มค่ามากกว่ารายอื่น เขาก็จะมาเป็นแฟรนไชส์ซีของคุณเองครับ

14.สร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

n10

ปัจจุบันระบบ ธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน เพราะผู้ที่เป็นแฟรนไชส์ซีจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโต โดยหลังจากได้วางกลยุทธ์การทำการตลาด เพื่อที่จะขายธุรกิจแฟรนไชส์เรียบร้อยแล้ว

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ หรือทีมขายแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ ต้องไม่ควรที่จะบุ่มบ่ามรีบรับใครเข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซี เพียงเพราะเห็นว่าได้ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์มาเป็นเงินก้อน ต้องทำการศึกษาและมีกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีอย่างชาญฉลาด

15.สร้างทีมงานสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

n13

ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย หากใครคิดจะสร้างระบบแฟรนไชส์ เพราะทีมงานสนับสนุนแฟรนไชส์ซีจะมีหน้าที่ออกไปพบปะ รวมถึงแก้ปัญหา และให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีเกือบทุกเรื่อง เพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกัน รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

16.บริหารการดูแลเครือข่ายแฟรนไชส์

n6

เพื่อให้คุณภาพถึงมือผู้บริโภค คุณต้องดูแลเครือข่ายแฟรนไชส์ซีในการจัดการเรื่องต่างๆ ช่วยแก้ปัญหา และหาวิธีดำเนินการให้เรียบง่าย สอดคล้องกับนโยบายธุรกิจของคุณ เพราะคนที่ติดต่อกับลูกค้าจริงๆ เป็นแฟรนไชส์ซี

ดังนั้น ปากต่อปาก มักมาจากคุณภาพของแฟรนไชส์ซี จะดีหรือเลวก็มาจากพวกเขา จะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่ก็มาจากพวกเขาเหล่านั้น ดังนั้น ผู้ขายแฟรนไชส์ต้องรู้จักบริหารจัดการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับแฟรนไชส์ซีด้วย

17.การควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบแฟรนไชส์ซี

n15

คุณควรมีระบบตรวจสอบคุณภาพของแฟรนไชส์ซีทุกสาขา ว่ายังคงดำเนินการตามวิธีการทำธุรกิจตามที่กำหนดเอาไว้หรือไม่ รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่จำหน่ายไปได้คุณภาพหรือไม่ ต้องตรวจสอบแฟรนไชส์ซี หรืออาจไปเยี่ยมเป็นประจำเพราะคนไทยมักชอบหาหนทางลัดในการทำธุรกิจ บางครั้งอาจจะทำให้ภาพพจน์ และธุรกิจโดยรวมของคุณเสียก็ได้

18.สร้างศูนย์ให้การสนับสนุนเครือข่ายแฟรนไชส์ซี

ff

เมื่อคุณขยายสาขาแฟรนไชส์ได้จำนวนมาก หลากหลายพื้นที่ อาจทำให้การควบคุมดูแลแฟรนไชส์เริ่มมีปัญหา ดังนั้น การสร้างศูนย์เพื่อดูแล ให้การสนับสนุน รวมถึงควบคุมเครือข่ายแฟรนไชส์ เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบแฟรนไชส์ เช่น ศูนย์ภาคเหนือ ศูนย์ภาคอีสาน รวมถึงต้องมีการอบรมพนักงานในศูนย์เป็นประจำ

19.วางระบบรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้า ศูนย์ควบคุมเครือข่าย

g2

การที่คุณเปิดช่องทางร้องเรียนจากลูกค้า หรือ จากแฟรนไชส์ซี และศูนย์ควบคุมเครือข่าย จะทำให้คุณสามารถรับรู้ได้ว่า ตอนนี้ สถานการณ์โดยรวมของระบบงานของคุณอยู่ในสภาวะใด การที่ได้ยินคำติมากๆ หรือ คำชมมากๆ จะทำให้คุณรับทราบว่า คุณต้องทำสิ่งใดต่อไป แต่ถึงอย่างไรความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ

20.พัฒนาองค์กรและเครือข่ายแฟรนไชส์ซี

g1

เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีความยั่งยืน ต้องมีการวางระบบการพัฒนาองค์กร และคัดเลือกคนทำงานในทีมที่ดี คนในทีมงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เข้าใจต่อลักษณะงาน สามารถสนับสนุนช่วยให้แฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จได้ คอยสนับสนุน ให้กำลังใจตลอดจนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซีได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการพัฒนาจริงจังอย่างต่อเนื่อง

ทั้งหมดเป็น 20 แนวทางสร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ ด้วยตัวเอง หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่กำลังมองหาช่องทางในการขยายธุรกิจของตัวเองให้ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยรูปแบบของแฟรนไชส์ครับ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/Jov3rb
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน goo.gl/gfJ1me

Franchise Tips

  1. สร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้า
  2. หาความรู้ระบบแฟรนไชส์
  3. สร้างสูตรและระบบ
  4. การสร้างร้านต้นแบบ
  5. จดทะเบียนต่างๆ เครื่องหมายการค้า
  6. วัสดุอุปกรณ์ที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  7. วางระบบการจัดการธุรกิจ
  8. ทำสัญญาแฟรนไชส์
  9. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
  10. การจัดหาวัตถุดิบ ควบคุมคุณภาพ
  11. การจัดการเรื่องการรับ-ส่งวัตถุดิบ
  12. ตั้งราคาวัตถุดิบที่จะขายให้แฟรนไชส์ซี
  13. ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์
  14. สร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
  15. สร้างทีมงานสนับสนุนแฟรนไชส์ซี
  16. บริหารการดูแลเครือข่ายแฟรนไชส์
  17. การควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบแฟรนไชส์ซี
  18. สร้างศูนย์ให้การสนับสนุนเครือข่ายแฟรนไชส์ซี
  19. วางระบบรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้า ศูนย์ควบคุมเครือข่าย
  20. พัฒนาองค์กรและเครือข่ายแฟรนไชส์ซี

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช