แค่ใส่ใจ ใช้ให้เป็น Data-Driven Marketing อาวุธลับเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ

การทำธุรกิจในยุคนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้ Data เพื่อพัฒนาธุรกิจและสร้างยอดขาย ดังนั้น ก่อนใช้ Data ผู้ประกอบการต้องรู้จักเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เมื่อได้ข้อมูลอะไรมาแล้ว ต้องนำไปใช้ให้เป็น

ผู้ประกอบการจะมีวิธีการเก็บ Data อย่างไร และนำ Data ไปใช้ เพื่อเพิ่มยอดขายได้อย่างไร มาดูบทสัมภาษณ์กูรู้ด้านการตลาดสาย Data ที่จะมาเล่าและอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ สามารถนำไปใช้ในการทำธุรกิจและค้าขายได้จริง

Data-Driven Marketing

คุณหนุ่ย-ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจ “การตลาดวันละตอน” นักการตลาดสาย Data-Driven Marketing เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของการทำเพจ “การตลาดวันละตอน” มาจากการเป็นหัวหน้าเครีเอทีฟช่วงทำงานเป็นเอเจนซี่ โดยทุกครั้งที่รับงานคุณหนุ่ยจะทำการรีเสิร์ซข้อมูลต่างๆ แล้วนำเอามาเล่าให้น้องๆ ในทีมฟัง พอเล่าทุกๆ วัน จึงอยากเปลี่ยนจากการเล่ามาเป็นการเขียนผ่านเพจเพื่อเก็บเอาไว้อ่าน และแชร์ความรู้ต่อได้ อีกทั้งยังมองว่าการทำเพจสามารถหารายได้เสริมได้ด้วย

จากข้อมูลที่คุณหนุ่ยเคยให้สัมภาษณ์มา กว่ารายได้จะเข้ามาคุณหนุ่ยต้องเขียนลงเพจถึง 500 ตอน ถึงจะมีโฆษณามาลงเพจ ได้รับมาประมาณ 5,000 บาท หลังจากนั้นเพจก็เริ่มบูมมีคนติดตามมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีคนทาบทามให้ไปร่วมทำงานด้วยมากมาย จนได้เป็นที่ปรึกษา อาจารย์สอนพิเศษและวิทยากรตามสถานที่ต่างๆ

การตลาดเปลี่ยน แต่ต้องใส่ใจ เข้าใจลูกค้า

Data-Driven Marketing

คุณหนุ่ย เล่าว่า ปัจจุบันเทรนด์การตลาดแทบจะเปลี่ยนทุกปี แต่แก่นของการตลาดยังเหมือนเดิม ทำอย่างไรให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น เพื่อทำให้ลูกค้าซื้อของจากเราเร็วขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการ หรือนักการตลาดต้องรู้จักเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

โดยเฉพาะการนำข้อมูล (Data) ของลูกค้าจากหลายช่องทางมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งด้านพฤติกรรม สถิติที่เกี่ยวกับลูกค้า เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาธุรกิจ หรือสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

Data-Driven Marketing

ยกตัวอย่าง…การเก็บข้อมูลของแม่ค้าขายส้มตำ ถ้าเราไปซื้อร้านนี้บ่อยๆ จนแม่ค้าจำเราได้ พอจำได้ก็เริ่มทักทาย พูดจาสนิทสนมกัน เริ่มถามชื่อ รู้ว่าเราชอบกินแบบไหน ใส่พริกกี่เม็ด ทั้งหมดคือข้อมูล หรือ Data อันหนึ่ง

แต่เป็นแค่ข้อมูลที่อยู่ในหัวสมองความทรงจำของแม่ค้าส้มตำเท่านั้น ถ้าเป็นธุรกิจใหญ่ๆ Data จะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลใหญ่ๆ เช่น เวลาที่เราไปซื้อชานมไข่มุก เขาก็จะกดใส่เครื่อง POS ด้านหน้า เปลี่ยนจากเอาข้อมูลจากสมองไปใส่ในระบบคลาวด์บนซอฟต์แวร์

Data-Driven Marketing

คุณหนุ่ย เล่าต่อว่า หลังจากจำข้อมูลลูกค้าได้แล้ว จะเอายังต่อ เช่น แม่ค้าส้มตำ เห็นลูกค้าเก่ามากินส้มตำ สั่งใส่พริก 10 เม็ด จากแต่ก่อนใส่ 5 เม็ด ถ้าแม่ค้าใส่ใจลูกค้าคนนั้น ก็จะถามทำไมวันนี้ใส่พริกเยอะ ถ้าไม่ใส่ใจก็จะไม่ถาม เจ้าของธุรกิจหรือเจ้าของร้านที่ใส่ใจลูกค้ามากกว่าคนไม่ใส่ใจ มักจะใช้ Data ได้ดีกว่า จะทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อของเราอีก
การนำ Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์

คุณหนุ่ย เล่าว่า สมมติร้านอาหารของเรามีลูกค้ามากินตอน 3 ทุ่มเยอะมาก เมื่อมีข้อมูลบอกแบบนี้ แล้วเราจะยังไงต่อ ถ้าเราอยากนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ เมื่อมีลูกค้ามากินเยอะช่วง 3 ทุ่ม สิ่งที่ต้องทำ ก็คือ เอาคนมาช่วยเยอะๆ จะได้เสิร์ฟได้เร็วขึ้น หรือขยายเวลาไปถึง 4 ทุ่ม จะได้เปิดดึกขึ้น จะได้ขายนานขึ้น หรือดูว่าลูกค้าที่มากินเป็นใคร จะได้หาลูกค้าแบบนี้เพิ่มขึ้น ขยายสาขาไปหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะได้ยอดขายเพิ่มขึ้น หรืออาจจะเตรียมเมนูขายดีไว้ล่วงหน้าเยอะๆ

เพิ่มยอดขาย มัดใจลูกค้าด้วย Data

คุณหนุ่ย เล่าว่า อยากให้ลูกค้าติดใจ อยากให้ลูกค้ากลับมาซื้อประจำ เจ้าของร้านอาหารต้องใสใจข้อมูลของลูกค้าเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าชอบกินอะไร รสชาติแบบไหน มากินช่วงเวลาไหน ใช้เวลานั่งกินนานไหม จะได้ให้บริการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง บางคนไม่ใส่ Data อะไรเลย ขายไปไปเรื่อยๆ แม้มี Data ก็ไม่มีประโยชน์

ดังนั้น เจ้าของร้านอาหารต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้เป็น จะสามารถเพิ่มยอดขายได้ และให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เช่น ร้านอาหารเริ่มขายได้ดีช่วง 3 ทุ่ม มีลูกค้ากลุ่มผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ชอบกิน ชอบดื่ม มาทุกครั้งอาหารเกือบหมด เจ้าของร้านสามารถนำ Data ไปใช้ได้โดยเปิดร้านช้ากว่าเดิมได้ เพิ่มเมนูอาหารให้มากขึ้น รวมถึงการเตรียมเมนูเครื่องดื่มให้หลากหลายรองรับความต้องการลูกค้าผู้ชาย

Data-Driven Marketing

ภาพจาก www.facebook.com/EverydayMarketing.co

หรืออีกกรณีถ้า Data บอกว่าลูกค้าไม่ค่อยมากินที่ร้านวันจันทร์ เจ้าของร้านอาหารเลือกที่จะปิดร้านพักผ่อนวันจันทร์ได้ หรือร้านอื่นๆ เก็บข้อมูลช่วงเวลาที่ไม่ค่อยมีลูกค้าเข้าร้าน ก็สามารถทำโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าเข้าร้านช่วงเวลานั้นได้

สรุปคือ การเก็บ Data-Driven Marketing ควรเก็บตั้งแต่ยอดขาย จะทำให้รู้ว่ายอดขายในแต่ละวัน วันไหนขายดี ขายไม่ดี ช่วงเวลาลูกค้าเข้าร้าน รายการสินค้าหรือเมนูขายดี ลูกค้าเป็นกลุ่มไหน ลงลึกไปจนถึงลูกค้าคนไหนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หลังจากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ตอบโจทย์ธุรกิจและความต้องการของลูกค้าให้ถูกต้อง 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช