“แก้วจากขวดเหล้า” ยอดขายพุ่ง! รายได้ดีกว่างานประจำ

ข้อมูลน่าสนใจระบุว่าคนไทยสามารถสร้างขยะมูลฝอยได้มากถึง 16 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นขยะที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ร้อยละ 22 หรือเฉลี่ย 9,800 ตันต่อวัน โดยขยะมูลฝอย ที่กำจัดอย่างถูกวิธีมีไม่ถึง 40% ที่เหลือกว่า 60% จึงตกค้างตามสถานที่ต่างๆ และสร้างปัญหามลพิษ โดยเฉพาะ “ขวดแก้ว” ต่างๆ ที่แม้จะนำมารีไซเคิลได้

แต่การทิ้งขยะแบบไม่ถูกต้องไม่มีวินัยของคนไทย ทำให้ขวดแก้วมีความอันตรายอันเกิดจากการแตก และคงจะดีกว่าหากเราสามารถนำขวดแก้วที่ต้องทิ้งมาเปลี่ยนเป็นสินค้า แถมยังขายง่าย รายได้ดีกว่างานประจำ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนสนใจและอยากรู้ว่า การทำ “ แก้วจากขวดเหล้า ” คืออะไร รายได้แค่ไหน และทำอย่างไร ลองไปติดตามดูกัน

เปลี่ยนขวดแก้วเหลือทิ้ง กลายเป็น “แก้ว” สวยๆ

แก้วจากขวดเหล้า

ภาพจาก https://bit.ly/352PMu6

ถือได้ว่าเป็นความคิดติดไอเดียที่นำของเหลือใช้ที่อยู่ใกล้ตัวและเชื่อว่ามีอยู่ทุกบ้าน มาพัฒนาให้กลายเป็นสินค้าใหม่ๆ ที่แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรมาก แต่กลับขายได้ดี ซึ่งการออกแบบและดีไซน์แก้วจากขวดแก้ว สามารถทำได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการเลือกวัตถุดิบในเบื้องต้น เช่นขวดเบียร์สีเขียวๆ หรือขวดเหล้ารูปทรงต่างๆ เมื่อนำมาทำแก้ว จะกลายเป็นสินค้าที่ดูน่าสนใจขึ้นมาทันที

โดยขวดแก้วเหล่านี้เราสามารถหาได้ตามบ้านที่คนส่วนใหญ่มักทิ้งแน่ๆ ทั้งที่ขวดแก้วดีๆ สามารถนำมา Reuse ใช้ใหม่ได้ ส่วนขวดแก้วที่เสียหายก็สามารถนำมารีไซเคิลวนกลับมาใช้ได้อีก แน่นอนว่าการนำขวดแก้วที่ทิ้งแล้วมาดัดแปลงให้เป็นสินค้าใหม่ย่อมเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น ซึ่งหากนำไปขายเป็นของเก่า ราคาขวดจะอยู่ประมาณ 9-15 บาท/กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับชนิดของขวดแก้ว) แต่หากนำมาทำเป็นแก้วสวยๆ ราคาขายต่อใบไม่ต่ำกว่า 20-30 บาท (ขึ้นอยู่กับดีไซน์) หักลบต้นทุนกำไรแล้วถือว่าสร้างรายได้ที่ดีทีเดียว

รายได้หลักแสน “ทำแก้ว” จากขวดแก้ว

8

ภาพจาก https://bit.ly/352PMu6

ผู้ที่ประสบความสำเร็จจากไอเดียนี้สามารถสร้างรายได้ต่อเดือนมากกว่าหลักแสน จากที่ครั้งหนึ่งเคยล้มเหลวจากการไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากกลับมาเมืองไทยยึดอาชีพบดขวดแก้วเพื่อนำมารีไซเคิล ก็เกิดแนวคิดที่อยากจะใช้วัตถุดิบเหล่านี้สร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ จึงได้เริ่มออกแบบและทำสินค้าจำหน่ายสุดท้ายได้ขึ้นทะเบียนโอท็อปของจังหวัดชลบุรี

และได้รับคำแนะนำจากกรมพัฒนาชุมชนให้มีการพัฒนาสินค้าและนำสินค้าไปขอมาตรฐานผู้ผลิตชุมชน มผช.ก็สามารถผ่านได้อย่างดี จนปัจจุบันแก้วจากขวดแก้วที่ผลิตขึ้น สร้างรายได้ดียิ่งกว่าคนที่ทำงานประจำ เรื่องของการตลาดก็ไม่ยากเพราะสมัยนี้ตลาดออนไลน์ช่วยให้เราขายสินค้าได้ง่ายขึ้น และนอกจากทำแก้วส่งขายออนไลน์แล้วยังเปิดสอนคอร์สเรียนให้คนสนใจได้มาฝึกทำเป็นอาชีพอีกด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องมีและวิธีการทำ (เบื้องต้น)

7

ภาพจาก https://bit.ly/3oVoInx

ทั้งนี้หากลองไปหาข้อมูลในอินเทอร์เนตจะพบวิธีสอนตัดขวดแก้วอยู่มากมาย ซึ่งขวดแต่ละชนิดก็มีการตัดที่แตกต่าง รวมถึงวิธีการตัดก็มีความหลากหลาย สำคัญคือผู้ที่จะฝึกทำควรศึกษาจากผู้ชำนาญงานเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายในระหว่างการทำได้ โดยอุปกรณ์เบื้องต้นที่ควรมีได้แก่

  1. ขวดโซดา
  2. ปากกาตัดกระจก
  3. กระดาษทราย
  4. น้ำเปล่า
  5. เทียนไข

วิธีการทำเบื้องต้นคือให้จุดเทียนไข แล้วใช้ปากกาตัดกระจกกรีดรอบๆขวดแล้วเอาไปลนไฟตรงรอยที่กรีดไว้ จะสามารถตัดขวดโซดาที่ต้องการ จากนั้นก็ขัดให้ขอบมีความเรียบ

แต่ทั้งนี้ขวดแบบอื่นๆ ชนิดอื่นก็จะมีวิธีการตัดที่แตกต่างออกไป รวมถึงวิธีการตัดที่ควรศึกษาอย่างถูกต้อง และขวดแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้สนใจอยากสร้างอาชีพทำแก้วจากขวดแก้ว ต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจอย่างช่ำชองก่อนลงมือทำจริงๆ

หรือสำหรับบางคนที่ไม่อยากทำแก้วจากขวดแก้วก็ยังมีวิธีเพิ่มูลค่าขวดแก้วได้อีกมากเช่น นำมาล้างให้สะอาด และ DIY เป็นขวดแก้วสำหรับใส่ของใช้ , ขวดแก้วตกแต่งบ้าน , ขวดแก้วจัดแจกัน เป็นต้น ซึ่งการจะเพิ่มมูลค่าได้มากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับไอเดียของเราเป็นสำคัญด้วย

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3o0UbnP , https://bit.ly/3H4BxD8

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3h8X9mt

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด