แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร

กลยุทธ์การทำธุรกิจค้าปลีกของแบรนด์ CJ ถือว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย แจ้งเกิดตั้งแต่กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” เปิดสาขาจากรอบนอกทางฟากฝั่งตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี นนทบุรี ก่อนเจาะเข้ามากรุงเทพฯ ปัจจุบันมีมากกว่า 1,100 สาขา ผ่านโมเดลร้าน 3 แบบ คือ CJ Supermarket, CJ More และ CJX

โมเดล CJ Supermarket เป็นร้านค้าปลีกเปลี่ยนมาจาก CJ Express เป็นซูเปอร์คอนวีเนียนสโตร์ใกล้บ้านมีร้านมากกว่า 800 สาขา ร้านจะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่จอดรถน้อย ส่วนโมเดล CJ More มีกว่า 100 สาขา เป็นร้านขนาดใหญ่ มีพื้นที่จอดรถกว้าง เหมือน 7-Eleven ที่ตอนนี้กำลังเดินหน้าเปิดร้านโมเดลมีที่จอดเป็นลานกว้าง

โมเดลล่าสุด CJX ร้านไฮบริด ขายปลีกและขายส่งในร้านเดียวกัน ความต่างระหว่าง CJX กับร้านค้าปลีกในโมเดลอื่นๆ น่าจะออกมาในลักษณะของการพ่วงการขายสินค้าแบบยกแพ็คเข้าไปด้วย เปิดสาขาไปแล้วในพื้นที่จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร

แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร

ทำไมถึงบอกว่า CJ ทำธุรกิจกำไรให้ได้กำไร ก็เพราะการพัฒนารูปแบบร้านค้าปลีกใหม่ๆ เพื่อสร้าง Margin กำไร 50%++ ให้กับ CJ เช่น Nine Beauty ร้านขายเครื่องสำอางและความงามมัลติแบรนด์, บาว คาเฟ่ (Bao Café) ร้านกาแฟสด, ร้านอูโนะ (UNO) ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าแฟชั่น เครื่องเขียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ร้านเอ-โฮม โซนคนรักบ้าน

ภาพจาก www.facebook.com/ninebeauty.th

ร้านเพ็ทฮับ (PET HUB) ร้านขายอาหารและอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงครบวงจร และบาว วอช (Bao Wash) มุมบริการซัก-อบผ้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ และล่าสุดเปิดร้าน Tian Tian (เถียน เถียน) ขายไอศกรีมและชาผลไม้ ราคาเริ่มต้น 15 บาท เหมือน MIXUE เปิดให้บริการแล้วใน CJX, CJ More และ CJ Supermarket กว่า 48 สาขา

ภาพจาก www.facebook.com/TianTian.th

CJ ตั้งเป้าเดินหน้าลงทุนขยายสาขาปีละประมาณ 250 สาขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการมีจำนวนสาขาไม่ต่ำกว่า 2,000 สาขาภายในปี 2569 และขยับขึ้นเป็น 3,000 สาขา ภายในปี 2573 พร้อมตั้งเป้ารายได้ 100,000 ล้านบาท

แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร

โมเดลการเปิดร้านของ CJ จะเปิดใกล้ๆ กับ 7-Eleven ซึ่งหลายคนมองว่าไม่มีทางสู้ 7-Eleven ได้แน่นอน แต่กลับสู้ได้อย่างสูสี บางสาขาลูกค้าเยอะกว่าด้วย เพราะ CJ มองว่าการเปิดร้านค้าปลีกต้องเลือกทำเลใกล้ๆ กัน ดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่า เหมือนร้านเสื้อผ้า สมมติเราเปิดร้านเสื้อผ้าร้านหนึ่งอาจขายดีระดับหนึ่ง แต่เป็นร้านเสื้อผ้าร้านเดียว พอมีร้านที่ 2 ร้านที่ 3 ร้านที่ 4 มาเปิด

ไม่ได้แปลว่ายอดขายจะลดลง กลายเป็นว่าทั้ง 4 ร้าน ที่อยู่ทำเลเดียวกันขายดีไปด้วยกัน สะท้อนให้เห็นว่าหากใครจะซื้อเสื้อผ้าจะต้องมาย่านนี้ ถือเป็นการสร้าง Awareness ให้กับลูกค้า สุดท้ายก็วัดกันว่าร้านไหนเข้าใจลูกค้าได้ดีกว่ากัน

CJ More

ผู้บริหาร CJ โดยเฉพาะคุณเสถียรจะมองทีมงานเป็นลูกน้อง และเป็นเพื่อน เพราะผู้บริหารรู้สึกว่าตัวเองไม่รู้หลายเรื่อง ฉะนั้นเวลาที่มีการเตือนหรือที่มีการคุยกันก็อยากได้ไอเดียหรือได้ Input จากทีมงานจำนวนมาก มากกว่าที่จะเป็นคนพูดเอง

ธุรกิจ CJ ส่วนใหญ่ที่ลงไปทำ มักจะมีเจ้าตลาดอยู่แล้วอย่าง 7-Eleven แต่ CJ เริ่มจากสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้ แต่แสวงหาโอกาสทำธุรกิจใหญ่อยู่เสมอเพราะธุรกิจเล็กคู่แข่งเข้ามาง่าย แต่ถ้าทำธุรกิจใหญ่ได้คู่แข่งจะเข้ามาได้น้อย ชอบทำของยากเพราะใหญ่ คุณเสถียรบอกว่า ”เรื่องยากไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้“ ขอให้จับ Core Concept ได้เป็นพอ

มาดูรายได้ของ CJ กันบ้าง

แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร

บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด

  • ปี 2566 รายได้ 44,464,589,578 บาท กำไร 2,623,155,641 บาท

บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด

  • ปี 2566 รายได้ 2,757,018,227 บาท กำไร 2,650,964,194 บาท

ต้องจับตาดูต่อไปว่า CJ จะเดินหน้าตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้หรือไม่ โดยขยายร้าน CJ ภายใต้ 3 โมเดล CJX, CJ More และ CJ Supermarket เป็น 3,000 สาขาภายในปี 2573 พร้อมตั้งเป้ารายได้ 100,000 ล้านบาท

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3Bspwtd

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช