เหลือเชื่อ! ขายครีมซองละ 10 บาท สร้างรายได้ทะลุปีละพันล้านบาท
ตลาดเครื่องสำอางในปี 2564 ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ5.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 15.9 ล้านล้านบาท แม้จะอยู่ในภาวการณ์แพร่ระบาดโควิด แต่ดูเหมือนสินค้าความสวยความงามจะยังคงมาแรง เพียงแต่อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง
ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนที่มองเห็นโอกาสและช่องทางยิ่งยุคนี้การตลาดออนไลน์มีอิทธิพลอย่างมาก เราจึงได้เห็นพ่อค้าแม่ค้าหันมาผลิตเครื่องสำอางทั้งที่เป็นแบรนด์ตัวเองหรือในรูปแบบตัวแทนจำหน่าย
และอีกสิ่งที่เด่นชัดคือรูปแบบของสินค้าที่พัฒนาให้มีความกะทัดรัด เหมาะแก่การพกพา เข้ากับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญที่ทำให้ขายง่าย ขายดียิ่งขึ้น หากไม่เชื่อในสิ่งที่เราพูดมาดูตัวเลขจาก “ครีมซอง” ที่ขายในร้านสะดวกซื้อที่ไม่น่าเชื่อว่า สินค้าซองละไม่กี่บาทเหล่านี้แต่สร้างรายได้กว่าปีละพันล้านบาท
ธุรกิจครีมซอง ยอดขายพันล้านบาท?
ภาพจาก www.facebook.com/julaherb/
สิ่งที่เห็นเด่นชัดในร้านสะดวกซื้อคือบรรดาผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ โดยมีสกินแคร์แบบซองและเครื่องสำอางแบบซองวางเรียงรายไม่ต่ำกว่า 50 ผลิตภัณฑ์ หากสังเกตจะพบว่าทั้งแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ หรือจะเป็นแบบจ้างผลิต (OEM) ต่างหันมาทำผลิตภัณฑ์ไซส์เล็กที่พกพาง่าย หรือ “ครีมซอง” ในราคาหลักสิบกันนับไม่ถ้วน และจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยกตัวอย่าง “ครีมซอง” ขายดีอย่าง Jula´s Herb ที่เริ่มต้นจากครีมสมุนไพรหมอจุฬา ตั้งต้นธุรกิจด้วยเงินทุน 8,000 บ. และมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าหลัก คือ เว็บไซต์ creamjula ต่อมาได้รีแบรนด์เป็น Jula´s Herb พร้อมแตกไลน์สกินแคร์แบบซอง เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ภายใต้ บริษัท เจแอลซี กรุ๊ป จำกัด และหลังจากได้เข้าร่วมวางสินค้าใน 7-Eleven ถือเป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่มีรายได้ในปี 2563 กว่า 1,441 ล้านบาท กำไรกว่า 238 ล้านบาท
ภาพจาก www.facebook.com/julaherb/
หรือแบรนด์ดังอย่างสมูทโตะของบริษัท โกลบอล เมดดิคัล (ประเทศไทย) จำกัด ก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน โดยสมูทโตะมีกำลังการผลิตประมาณ 5 ล้านซอง/เดือนมีการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, มาเลเซีย, พม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์ และฮ่องกงแต่สัดส่วนรายได้ประมาณ 90% จะมาจากการขายผ่านร้าน 7-Eleven รายได้ในปี 2562 กว่า 655 ล้านบาท กำไรกว่า 38 ล้านบาท
ทำไม “ครีมซอง” คนถึงฮิต?
ภาพจาก https://bit.ly/3rjWrZp
1.ราคาเข้าถึงง่าย
โดยสินค้าแต่ละแบรนด์จะวางราคาขายไว้ตั้งแต่ 19 – 59 บาท ในปริมาณ 7.5 กรัม – 10 กรัม ซึ่งเป็นราคาและขนาดที่คนไทยจ่ายได้ง่าย ยิ่งในยุคค่าครองชีพแพงอะไรที่ประหยัดและจ่ายน้อยกว่าคนมักสนใจ การซื้อสินค้าไซส์ซองขนาดเล็กที่มีราคาไม่สูงนักจึงเป็นทางออกที่ดี
2.ทดลองใช้ได้ไม่ยาก
เนื่องจากสินค้ามีขนาดเล็กทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจของคนที่อยากทดลองใช้ เนื่องจากเครื่องสำอางบางคนอาจใช้แล้วดี บางคนไม่เหมาะกับสูตรนั้น สูตรนี้ ครีมซองที่ราคาไม่แพง จึงเหมาะกับการทดลองใช้ได้
3.พกพาง่ายสะดวกสบาย
การที่เป็นสินค้าขนาดเล็กทำให้ง่ายต่อการพกพา ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคนี้ที่เน้นสะดวกสบายเป็นหลัก บางคนเดินทางบ่อย การมีสัมภาระที่ใช้งานได้ง่าย จึงเข้ากับไลฟ์สไตล์ได้ดีกว่า
ภาพจาก https://bit.ly/3rmMR8i
โดยกลุ่มลูกค้า “ครีมซอง” ส่วสนใหญ่อายุอยู่ประมาณ 20-35 ปี ที่เป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ซึ่งบริษัทที่ทำผลิตนี้ต่างก็มีการพัฒนาสูตรครีมในรูปแบบต่างๆ ให้มีความทันสมัยสอดคล้องและยุคนี้มีการทำตลาดออนไลน์เพิ่มเข้าไปก็ยิ่งทำให้ครีมซองเป็นอีกสินค้าที่เชื่อว่าไม่มีวันตกเทรนด์อย่างเด็ดขาด
อยากมีแบรนด์ “ครีมซอง” ต้องลงทุนเท่าไหร่?
ภาพจาก https://bit.ly/3rtYgDn
สมัยนี้การสร้างแบรนด์เครื่องสำอางไม่ต้องใช้เงินทุนสูง มีหลายบริษัทที่รับผลิตแบบ OEM เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 5,000 บาท (ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท) มีทั้งสูตรที่เป็นสูตรทั่วไป พร้อมให้ลูกค้าเอาไปทำแบรนด์ได้เลย หรือจะเป็นสูตรตามความต้องการของเราเอง ที่อาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูตรร่วมด้วย ซึ่งต้นทุนโดยรวมของการผลิตได้แก่
- ค่าครีม มีหลายเกรดหลายราคาตั้งแต่หลักร้อย จนถึงหลักหมื่น สามารถเลือกได้ตามความต้องการและงบประมาณของลูกค้า
- ค่าขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อให้สินค้าถูกต้องตามกฎหมาย สินค้าทุกตัวต้องขึ้นทะเบียนกับอย.ก่อนวางจำหน่ายทุกครั้ง
- ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย บรรจุภัณฑ์ที่เราเลือกไม่ว่าจะแบบซอง แบบหลอด แบบกระปุก หรือแบบขวด การเลือกใช้วัสดุต่างๆเหล่านี้ต้นทุนก็จะต่างกันออกไป หมายรวมถึงหน้าตาของสินค้าเราด้วย
- ค่าการตลาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำตลาดของลูกค้า หากลูกค้ามีช่องทางการจำหน่ายอยู่แล้ว สามารถขายเองได้ตามช่องทางโซเชียลต่างๆ ก็สามารถตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้เลย
จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การตลาดสินค้าขนาดเล็กตอนนี้น่าสนใจมาก เป็นการขายสินค้าในวงกว้างได้มากขึ้น ซึ่งหลายแบรนด์ทั้งเล็กและใหญ่ต่างก็จับกระแสความต้องการนี้ เช่น พีแอนด์จี ที่มีการออกสินค้าไซส์เล็กขนาด 90 ซีซี ในราคา 20 บาท สำหรับแพนทีน 29 บาท เฮดแอนด์โชวเดอร์ และสินค้าแบบซอง 10 บาท ที่เข้าถึงลูกค้าได้และมียอดขายสูงขึ้นมาก หรือ ค่ายอย่างยูนิลีเวอร์ ที่นำเสนอสินค้าไซส์เล็กในราคาไม่สูงนักเช่นกัน เพื่อให้เกิดการขยายฐานการใช้เป็นยังกลุ่มใหม่ๆ ที่มีกำลังซื้อไม่สูงนัก
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3H8dkeU , https://bit.ly/3rgdWd6 , https://bit.ly/34bIFz8 , https://bit.ly/34o2AL4 , https://bit.ly/3rfuNN6 , https://bit.ly/3GjeItY , https://bit.ly/3ucdcaV
อ้างอิงจาก https://bit.ly/32Pq23o
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)