เสวนา ปี 2024 แฟรนไชส์ไทยเสียอาการ! นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ขยายสาขายาก คู่แข่งจีนแย่งตลาด
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดกิจกรรมยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2567 ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ 4 แบรนด์ ร่วม เสวนา ปี 2024 “ทางรอด ทางรุ่ง ธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2024” แนะแนวทางธุรกิจแฟรนไชส์ปรับตัว เดินหน้ากลยุทธ์หลังวิกฤตโควิด ตลอดจนวิธีการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
“เดอะวอฟเฟิล” ปรับเมนู เปิดช่องทางขายใหม่ โกอินเตอร์
คุณสุทธิชัย พนิตนรากุล นายกสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ และเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ The Waffle กล่าวว่า ปัจจุบันแฟรนไชส์เดอะวอฟเฟิลมีสาขากว่า 240 สาขา ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และสาขาแฟรนไชส์ซี วิธีการปรับตัวและเอาตัวรอดของเดอะวอฟเวิล คือ แฟรนไชส์ซอร์ต้องเปลี่ยนแปลงก่อนอันดับแรก
จากเดิมขายหน้าร้านอย่างเดียว พอเกิดโควิดได้ทำการปรับรูปแบบการขายและการบริการใหม่ ปรับเปลี่ยนเมนูจากวอฟเฟิลที่ขายหน้าร้านปกติทั่วไปเป็น “สแน็คบ๊อก” ชุดอาหารว่าง งานประชุม งานมงคล งานศพ ได้ผลการตอบรับดีเกินความคาดหมาย สุดท้ายกลายเป็นของชำร่วยที่คนไปร่วมงานต่างๆ ต้องเอากลับบ้านด้วย
เดอะวอฟเฟิล นอกจากปรับเมนูใหม่แล้ว ยังต้องหาช่องทางการขายใหม่ๆ นี่เป็นวิธีการแก้ปัญหาของเดอะวอฟเฟิล จากเปิดขายหน้าร้านอย่างเดียว หาช่องทางการขายใหม่ๆ ปรับรูปแบบเมนูใหม่ จะช่วยแฟรนไชส์ขนาดเล็กอยู่รอดได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงธุรกิจจะแย่ พอเปลี่ยนแปลงถือเป็นทางออกและโอกาสใหม่ของธุรกิจ
สำหรับเป้าหมายของเดอะวอฟเฟิล คือ การขยายตลาดต่างประเทศ เริ่มจากตลาดใหญ่อย่างจีนภายในปี 2568 หลังจากก่อนหน้านี้เกือบดีลสำเร็จมาแล้วครั้งหนึ่ง
Trendy Wash พัฒนาเทคโนโลยี เพิ่มสะดวกลูกค้า
คุณนิมิต ตั้งวรารัตน์ ประธาน บจ.เออเบิ้นเวย์ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ Trendy Wash กล่าวว่า แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก “เทรนดี้วอช” เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไข Pain Point การซักผ้าแบบเดิมๆ ที่ใช้ระยะเวลานาน ทั้งซักและตาก ให้เสร็จ ครบ จบ ที่เดียวภายในไม่กี่ชั่วโมง ส่วนกลยุทธ์ธุรกิจช่วงโควิด เทรนดี้วอชมีรายได้ลดลง คนกลับบ้านต่างจังหวัด
ส่วนการเอาตัวรอดช่วงโควิดและหลังโควิด แฟรนไชส์เทรนดี้วอช ได้มีการขยายสาขาไปต่างจังหวัดมากขึ้น จากเดิมก่อนโควิดสาขาส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ พอเกิดโควิดคนกลับต่างจังหวัด รายได้ลดลง จึงต้องขยายสาขาไปต่างหวัด ตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าที่ชอบซักผ้าอบผ้า ไม่ต้องใช้เวลาอยู่กับเครื่องซักผ้าทั้งวัน
กลยุทธ์ของเทรนดี้วอช คือ การดำเนินธุรกิจให้แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ เพราะเทรนดี้วอชมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี จึงมีการนำจุดเด่นด้านเทคโนโลยีพัฒนา “Trendy Wash Platform” แพลตฟอร์มที่ทำให้สามารถบริหารจัดการร้านได้ง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ
นับว่าเป็นจุดเด่นด้านเทคโนโลยีของเทรนดี้วอช ที่จะสามารถช่วยให้แฟรนไชส์ซีบริหารร้านสะดวกซักได้ง่ายๆ แบบที่ไม่ต้องเดินทางมาเฝ้าหน้าร้าน โดยแฟรนไชส์ซีสาเช็กระบบหลังบ้านได้แบบ Real-Time และสามารถบริหารร้าน เปิด-ปิดไฟในร้านได้ เพียงแค่กดผ่านแอปฯ รวมถึงมีระบบกล้องวงจรปิด ที่ดูได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เป้าหมายของเทรนดี้วอช การหาวิธีช่วยให้แฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จ มีรายได้ที่ดี โดยที่ผ่านมาแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จคิดเป็นสัดส่วน 99% ที่ไม่สำเร็จเป็นสาขาอยู่ในทำเลที่ไม่ดี เปิดมาก็ต้องย้ายทำเล ตั้งเป้าขยายสาขา 360 เป็น 600 สาขาในปี 2567 เพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโต และพนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี จะได้บริการลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพ
ธุรกิจห้าดาว เสริมเขี้ยวเล็บการขายผ่าน Delivery
คุณอังคาร เหลืองนิมิตรมาศ รองผู้อำนวยการสำนักการตลาด บริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด ธุรกิจแฟรนไชส์ห้าดาว กล่าวว่า การระบาดโควิดทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทุกคนอยู่บ้าน ไม่มีการเดินทาง ทางแฟรนไชส์ห้าดาวนำเอาบริการฟู้ดเดลิเวอรี่มาปรับใช้ร่วมกับการขายหน้าร้าน คัดเลือกวัตถุดิบมีคุณภาพส่งมอบลูกค้า
ธุรกิจห้าดาวได้เล็งเห็นโอกาสและให้การสนับสนุนในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือแฟรนไชส์ซี โดยการจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ food delivery อย่าง GET, Grab โดยปัจจุบันแฟรนไชส์ห้าดาวยังมีบริการส่งอาหารนอกสถานที่เป็นของตัวเองชื่อว่า Star Delivery เป็นอีกทางเลือกให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออาหารทางออนไลน์ได้อีกช่องทางหนึ่ง
เป้าหมายแฟรนไชส์ห้าดาว อยากเห็นแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จ โดยบริษัทฯ จะต้องหาปัจจัยพื้นฐานมาช่วยสนับสนุนให้สาขาแฟรนไชส์อยู่รอดและเติบโต ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ทำเลที่ดี การส่งเสริมทักษะบริหารจัดการร้านที่ดี ซึ่งจะช่วยแฟรนไชส์ซีมีเวลาในการไปรับไปส่งลูก สร้างอาชีพให้คนไทย หลายคนกลับต่างจังหวัดก็สามารถเปิดร้านห้าดาวได้
นอกจากนี้ ทีมแฟรนไชส์ห้าดาวจะเข้าไปให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการ ทั้งการจัดส่งสินค้ายังจุดประกอบการ กิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น กิจกรรมเปิดร้าน การส่งเสริมการขาย ตลอดจน ทำการโฆษณากระตุ้นการขาย พัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้โดนใจผู้บริโภค และมีการถ่ายทอดความรู้ในการสร้างธุรกิจแก่ผู้ร่วมธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความสำเร็จไปด้วยกัน
“แดรี่ควีน” ปูพรมสาขาต่างจังหวัด เสริมแกร่ง “DQ Lounge-EV Truck”
คุณธนกฤต กิตติพนาชนม์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไมเนอร์ ดีคิว จำกัด ธุรกิจแฟรนไชส์ Dairy Queen กล่าวว่า หลังการระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ผลการดำเนินธุรกิจแดรี่ควีนเติบโตมาตลอด ในปี 2566 ภาพรวมธุรกิจเติบโตอยู่ที่ 70% เมื่อเทียบกับปี 2564 หลังฟื้นจากโควิด เป็นการเติบโตเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีปัจจัยลูกค้าเก่าๆ ของแดรี่ควีนที่ไม่ได้กินมานานกลับมาซื้อเพิ่มขึ้น และกลยุทธ์ที่เน้นการตอบโจทย์ผู้บริโภคด้วยเมนูแปลกใหม่และรสชาติที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
ปัจจุบันแดรี่ควีนเปิดขายแฟรนไชส์ โดยให้สิทธินักลงทุนเปิดสาขาได้ 3 สาขาใน 1 อำเภอ เพราะนักลงทุนในพื้นที่จะรู้จักตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคดีกว่าแดรี่ควีน โดยแต่ละสาขาแฟรนไชส์จะได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากแดรี่ควีนเพื่อให้มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้นำเอากำไรที่ได้มาไปขยายสาขาอื่นต่อไป
ปัจจุบันแดรี่ควันมีสาขากว่า 520 สาขา ตั้งเป้าขยายให้ได้ 1,000 สาขาภายใน 5 ปี แต่การขยายสาขานั้น แฟรนไชส์ซีของแดรี่ควีนจะต้องมีกำไร เพื่อจะได้ขยายสาขาเพิ่ม โดยจะได้รับการสนับสนุนจากแบรนด์แดรี่ควีน ทางแดรี่ควีนจะมีระบบตรวจอบร้านแฟรนไชส์ ระบบฝึกอบรมพนักงานในร้านแฟรนไชส์ เพื่อให้ทุกสาขาของแดรี่ควันเป็นมาตรฐานเดียว
นอกจากนี้ แฟรนไชส์แดรี่ควันได้เปิดตัว DQ Lounge ร้านในคอนเซ็ปต์ใหม่ จากเดิมที่แดรี่ควีนเน้นการให้บริการแบบ Grab and Go แต่ร้านแบบ Lounge จะมีพื้นที่รองรับการให้บริการที่มากขึ้น เปิดให้บริการแล้วที่ร้านแดรี่ควีน ชั้น 1 เซ็นทรัลเวสต์เกต แฟรนไชส์แดรี่ควีนยังมีแผนขยายสาขาทำเลนอกห้าง อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัย ข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
รวมถึงบริการ EV Truck ซึ่งเป็นการทดลองครั้งแรกในโลก พร้อมให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ตั้งเป้าขยายให้ถึง 5 คันในปี 67 ทำให้แดรี่ควีนถึงผู้บริโภคในพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงพื้นที่จัดงานต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)