เศรษฐกิจไทยอ่วม! หนี้ท่วม เอาตัวรอดยาก
ปี 2567 มีความท้าทายหลายเรื่อง โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ประสบปัญหาหนัก ถึงขนาดที่ใครๆ ก็บอกว่า “ถ้ามีงานประจำทำก็อย่าเพิ่งลาออก ให้เกาะงานไว้จะดีกว่า” ไปดูตัวเลข 7 เดือนแรกของปี 2567 ธุรกิจไทยปิดกิจการไปแล้วรวมมูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท โดย 3 อันดับธุรกิจที่ปิดกิจการสูงสุด ได้แก่ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และอาหาร
ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมก็ไม่น้อยหน้ามีข้อมูลระบุว่าในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปี 2567 มีการแจ้งเลิกทะเบียนโรงงาน 667 แห่ง กระทบการจ้างงาน 17,674 คน หากหาร 6 เดือนจะเท่ากับยอดปิดเดือนละ 111 แห่ง หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็มียอดการปิดมากถึง 86% และจากตัวเลขตรงนี้กระทบไปถึงพนักงานที่ต้องออกจากระบบไปราว 50,000 คนกันเลยทีเดียว
หากดูในความเป็นจริงธุรกิจหากเดินหน้าดี มีกำไรก็คงไม่มีใครอยากปิดกิจการ ต้องมีเหตุผลอะไรที่มากพอที่ทำให้ธุรกิจเหล่านี้เหนื่อยและท้อจนไปต่อไม่ได้ ลองมาดูกันว่าเหตุผลข้อไหนที่น่าจะทำให้หนักใจได้มากสุด
1.คนเป็นหนี้ ไม่มีกำลังซื้อ
เมื่อคนเราเป็นหนี้มากขึ้นนั่นหมายถึงกำลังซื้อที่หดหาย อะไรที่เคยควักเงินซื้อง่ายๆ ก็จะไม่ง่ายอีกต่อไป เมื่อประชาชนรัดเข็มขัดประหยัดการใช้จ่ายเท่ากับธุรกิจต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ถ้าดูตามตัวเลขจะพบว่ากำลังซื้อในภาคธุรกิจลดฮวบ 30-40% กระทบทั้งธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
ยิ่งเป็นธุรกิจรายเล็กสายป่านไม่ยาวงานนี้ก็เลือกปิดกิจการซะดีกว่า จึงเกิดภาพร้านค้าปลีก-ค้าส่งภูธร เริ่มถอดใจ ยอมยกธงขาว ทยอยปิดตัวไปหลายราย หรือแม้แต่ร้านค้าร้านอาหารหลายแห่งก็ปิดตัวลงจำนวนมากเช่นกัน
2.ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจมีกำไรน้อยลงคือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทุกอย่าง สวนทางกับยอดขายที่ลดลง หากไปดูว่ามีต้นทุนอะไรที่เพิ่มขึ้นบ้าง ไล่เรียงกันตั้งแต่ต้นทุนราคาพลังงาน ราคาวัตถุดิบ และการขนส่ง และค่าสาธารณูปโภค แน่นอนว่าต้นทุนเหล่านี้มีผลต่อยอดขาย สวนทางกับเรื่องรายได้ของคนที่ลดลงกำลังซื้อที่น้อย ถ้าจะเพิ่มราคาให้สูงก็กลายเป็นขายได้ยากคนไม่อยากซื้อ แต่พอไม่เพิ่มราคาขายก็ทุนหายกำไรหดไปตามๆกัน
3.ผลกระทบจากการปรับค่าจ้างแรงงาน
ในมุมมองเจ้าของกิจการการปรับค่าแรงขึ้นคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นชัดเจน ยิ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กนี่คือปัญหาใหญ่มาก ซึ่งหากตามนโนบายของภาครัฐที่จะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ สมมติฐาน เมื่อคิดจากวันทำงาน 26 วัน
จะได้ว่า ค่าใช้จ่ายนายจ้างด้านแรงงานเพิ่มขึ้น16,942 บาทต่อคนต่อปี หรือประมาณ 1,412 บาทต่อคนต่อเดือน หากสถานประกอบการจ้างงานต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนด 30 คน จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4,065,990 บาท หากต้องคิดถึงการต้องปรับค่าจ้างตามลำดับขั้นสำหรับลูกจ้างที่ได้ค่าจ้างเกิน 400 บาท ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอาจถึง 5 ล้านบาทต่อปี
4.ทุนจีนบุกไทย
นี่คือปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบกับธุรกิจในปีนี้มาก ซึ่งการเข้ามาของสินค้าจากจีนทำให้ตัดราคาสินค้าในเมืองไทย คนก็แห่ไปใช้บริการ ไหนจะของที่มีให้เลือกเยอะกว่า ราคาถูกกว่า และที่สำคัญทุนจีนที่เข้ามาเมืองไทยมีตั้งแต่สินค้าชิ้นใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ จนถึงสินค้าชิ้นเล็กอย่างเสื้อผ้า เครื่องประดับ ไปจนถึงอาหารและเครื่องดื่ม
เอาแค่เรื่องใกล้ตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มตอนนี้ก็มีหลายแบรนด์จีนเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยไล่ตั้งแต่ MIXUE , WeDrink , Zhengxin Chicken , Cotti Cofee รวมไปถึง TEMU ที่เป็นแพลตฟอร์มสินค้าออนไลน์ด้วย ก่อนหน้านี้ที่ฮือฮาก็เห็นจะเป็น “กางเกงช้าง” ที่ทำมาแข่งกับของไทย แถมราคาถูกกว่า หรือแม้แต่ชามตราไก่ ที่ขายราคาต่ำกว่าทุน 3-5 เท่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการและโรงงานเซรามิกในลำปาง ได้รับกระทบอย่างหนักด้วย
5.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวเป็นความท้าทายต่อการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งขยายตัวได้เพียง 2% ในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ภาวะตลาดการเงินโลกเกิดความผันผวน ยังรวมถึงปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัวสูงมาก ยิ่งตอกย้ำให้ธุรกิจส่งออกมีปัญหาไม่นับรวมปัญหาจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ยังไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในทุกประเทศที่ต้องวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
หลายปัญหาที่กล่าวมาอาจเป็นผลกระทบแบบสะสมที่สุดท้ายแล้วก็แก้ปัญหาไม่ได้จนต้องหาทางออกด้วยการปิดกิจการ ซึ่งในปี 2568 ที่จะมาถึงนี้ก็คาดว่าปัญหาเหล่านี้จะยังไม่หมดไป ดังนั้นการทำธุรกิจใด ๆก็ตามต้องวิเคราะห์และมีแผนสำรองในการทำธุรกิจที่ชาญฉลาด ในวิกฤติยังมีโอกาส ขณะที่หลายธุรกิจได้ปิดตัวไปแต่ก็มีหลายธุรกิจที่เปิดตัวใหม่และมีกำไรได้เช่นกัน ดังนั้นเรื่องวิสัยทัศน์ในการบริหารเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)