เศรษฐกิจไทยฟุบหนัก! 13 บริษัทฯห้างร้านทยอยเจ๊ง แห่ปิดตัวเป็นตำนานเพียงชั่วข้ามคืน

นับตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19 ลากยาวมาจนถึงสงครามยูเครน-รัสเซีย ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ค่าครองชีพและพลังงานสูงขึ้น กระทบหลายๆ ธุรกิจแบกรับต้นทุนและภาวะขาดทุนไม่ไหว

จำเป็นต้องปิดตัวลงกะทันหัน โรงงานเจ๊งระนาว รวมถึงมีการปลดพนักงานเป็นจำนวนมาก อยากรู้หรือไม่ว่ามีธุรกิจอะไรบ้างปิดตัวลงไปบ้างนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 เป็นต้นมา วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

1.บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด

เศรษฐกิจไทยฟุบหนัก

ภาพจาก https://bit.ly/3cy0JHD

  • ธุรกิจผลิตนมพาสเจอร์ไรส์
  • แบรนด์ “โฟร์โมสต์”
  • ก่อตั้ง 2499
  • ปิดกิจการ 1 ก.ค. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 882 ล้านบาท ขาดทุน 101 ล้านบาท

เป็นข่าวโด่งดังในช่วงกลางเดือน ก.ค. 65 กรณีนมโฟร์โสต์พาสเจอร์ไรส์ ที่มีโรงงานผลิตอยู่หลักสี่ ประกาศยุติและจัดจำหน่ายนมพาสเจอร์ไรส์ในประเทศไทย โดยบริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ให้แก่ผู้บริโภคและลูกค้าในประเทศไทยมายาวนานกว่า 65 ปี ได้อ้างว่าบริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ อย่างดีที่สุดแล้ว จึงตัดสินใจยุติการดำเนินธุรกิจนมพาสเจอร์ไรส์ในประเทศไทย และ ปิดโรงงานผลิตที่หลักสี่ โดยมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะยังคงเดินหน้าผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมที่มีคุณภาพ มีความหลากหลายและสามารถเก็บรักษาได้นาน ผ่านผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่ โฟร์โมสต์ ยูเอซที โฟร์โมสต์ โอเมก้า ฟอลคอน เรือใบ มายบอย และเดบิค

2.บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด

12

ภาพจาก https://bit.ly/3yXtYLC

  • ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์
  • แบรนด์ JSL
  • ก่อตั้ง 2539
  • ยุติการดำเนินงานบางส่วน 1 ก.ค. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 198 ล้านบาท ขาดทุน 57 ล้านบาท

อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึง Digital Disruption กรณีบริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ประกาศยุติการดำเนินงานบางส่วนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินงานด้านการผลิตสื่อสำหรับโทรทัศน์ การสร้างบุคลากรสำหรับวงการบันเทิงทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง การรับจ้างสร้างสรรค์และผลิตงานสำหรับภาครัฐและเอกชน ติดต่อมาเป็นระยะเวลา 43 ปี ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่ออย่างมาก

ทั้งการเกิดขึ้นของสถานีโทรทัศน์จำนวนมาก ทั้งผลกระทบจาก DIGITAL DISRUPTION และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัท ได้รับผลกระทบอย่างมาก แม้ตลอดมาบริษัทฯ จะพยายามปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถยืนหยัดในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงได้ต่อไป เพื่อที่จะได้สร้างผลงานที่ดีมีคุณภาพให้กับผู้ชม แต่ก็ยังไม่บรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายได้ บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด จึงเห็นสมควรที่จะยุติการดำเนินงานบางส่วนลง

3.บริษัท เจวีซีเคนวูด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

11

ภาพจาก https://bit.ly/3zwv3f1

  • ธุรกิจผลิตเครื่องเสียง
  • แบรนด์ JVC
  • ก่อตั้ง 2532
  • ปิดกิจการ 30 มิ.ย. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 1,501 ล้านบาท กำไร 10.7 ล้านบาท

อีกหนึ่งธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ปิดกิจการอย่างน่าใจหาย มีการเผยแพร่คลิปการอำลาของผู้บริหารและพนักงาน บริษัท เจวีซีเคนวูด อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี

เนื่องจากบริษัทประกาศปิดกิจการถาวรเพื่อย้ายฐานการผลิตกลับญี่ปุ่น โดยการประกาศปิดกิจการและได้มีการแจ้งล่วงหน้าต่อพนักงานของบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่พนักงานทุกคน และมีเงินสบทบให้แก่พนักงาน

4.บริษัท พานาโซนิค แอ็พไลแอ็นซ์ รีฟริกเจอเรชั่น ดิไวซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

10

ภาพจาก https://bit.ly/3z97fvY

  • ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนตู้เย็น
  • แบรนด์ พานาโซนิค
  • ก่อตั้ง 2531
  • ปิดกิจการ 30 มี.ค. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2565 รายได้ 954 ล้านบาท ขาดทุน 16 ล้านบาท

บริษัท พานาโซนิค เเอ็พไลแอ็นซ์ รีฟริกเจอเรชั่น ดิไวซ์ (ไทยแลนด์) ปทุมธานี ประกาศปิดกิจการ อย่างเงียบๆ โดยวันที่ 30 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการยุติการผลิตทุกอย่าง และประกาศปิดกิจการถาวร ในวันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อย้ายฐานผลิตไปประเทศจีนและญี่ปุ่น ตามบริษัท ในเครือ พานาโซนิค สุวินทวงศ์ ตั้งอยู่ที่ ถ.สุวินทวงศ์ ต.คลองอุดมชลจร อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา เป็นบริษัทที่ทำการผลิตเกี่ยวกับตู้แช่ เปิดกิจการนานมากกว่า 30 ปี ประกาศปิดกิจการเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา

บริษัทฯ จะให้ความช่วยเหลือ พนักงานที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้โดยพยายามอย่างเต็มที่ในการจัดหาตำแหน่งงานที่เหมาะสมทั้งในกลุ่มบริษัท และในบริษัทอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมกับดูแลผลประโยชน์พนักงานควรได้รับตามสิทธิ์

5.บริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน)

9

ภาพจาก https://bit.ly/3zvDRl5

  • ธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก
  • แบรนด์แฟรนไชส์ A&W
  • ก่อตั้ง 2536
  • ยุติกิจการร้าน A&W 20 มี.ค. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 627 ล้านบาท ขาดทุน 447 ล้านบาท

บริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหาร A&W ได้ยุติการดำเนินกิจการแฟรนไชส์ร้าน A&W ที่มีอยู่กว่า 26 สาขา ตั้งแต่ 20 มี.ค. 2565 เป็นต้นมา หลังขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่การระบาดโควิด โดยในปี 2564 มีรายได้ 1,862 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 23% แต่ขาดทุน 70 ล้านบาท

A&W ก่อตั้งในปี 2468 ที่สหรัฐฯ สินค้าตัวแรก คือ รูทเบียร์ ปัจจุบันมีสาขา 1,000 แห่งทั่วโลก ในไทย A&W เปิดสาขาแรกเซ็นทรัลลาดพร้าวปี 2526 แม้มีเครื่องดื่มตัวชูโรง แต่ในตลาดฟาสต์ฟู้ด 30,000 ล้านบาท เป็นแบรนด์รองคู่แข่ง

6.บริษัท กาดสวนแก้ว 2545 จำกัด

8

ภาพจาก https://bit.ly/3zxbR0G

  • ธุรกิจการเช่าและอสังหาริมทรัพย์
  • แบรนด์ ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว เชียงใหม่
  • ก่อตั้ง 2545
  • ปิดกิจการ 1 ก.ค. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 68 ล้านบาท ขาดทุน 85 ล้านบาท

ห้างสรรพสินค้า “กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่” อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 เปิดให้บริการชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวมายาวนานกว่า 30 ปี ประกาศปิดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 3565

เนื่องจากประสบปัญหาเศรษฐกิจ และสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดต่อเนื่องยาวนาน ในส่วนของ “โรงแรมปางสวนแก้ว” ที่อยู่ด้านหลังศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว ยังเปิดดำเนินการต่อไป โดยก่อนปิดให้บริการถาวรได้มีลูกค้าเข้าไปใช้บริการอย่างล้นหลาม เนื่องจากมีการลดราคาสินค้าจากผู้เช่าในห้างฯ

7.บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด

7

ภาพจาก https://bit.ly/3PVn3t1

  • ธุรกิจห้างสรรพสินค้า
  • แบรนด์ คลังพลาซ่าสาขาอัษฎางค์
  • ก่อตั้ง 2518
  • ปิดกิจการ 31 ก.ค.2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2563 รายได้ 163 ล้านบาท กำไร 2.6 หมื่นบาท

วันที่ 4 มิ.ย. 2565 บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า” จังหวัดนครราชสีมา ออกประกาศแจ้งปิดให้บริการห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์” อย่างเป็นทางการ โดยเนื้อหาระบุว่า เป็นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยมีการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก ประกอบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีความยากลำบากมากขึ้น รวมถึงสงครามและมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในขณะนี้

คณะผู้บริหารได้พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องปิดการให้บริการห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่าและเลิกจ้างพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป และการจ่ายค่าจ้างและชดเชย หนักงานทุกท่าน บริษัทได้มอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นตัวแทนดำเนินการดูแลและประสานงานต่อไป

8.บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)

6

ภาพจาก https://bit.ly/3z5lrGD

  • ธุรกิจประกันวินาศภัย
  • แบรนด์ อาคเนย์ประกันภัย
  • ก่อตั้ง 2555
  • ปิดกิจการ 1 เม.ย. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2563 รายได้ 7,665 ล้านบาท กำไร 51 ล้านบาท

เป็นข่าวใหญ่ในเมืองไทยที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดโควิด-19 สำหรับบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีปัญหาจากการดำเนินงาน เนื่องจากมีการรับประกันโควิด-19 จำนวนมาก และต้องจ่ายค่าเคลมให้กับผู้ติดเชื้อโควิด

จนต้องขอสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ปิดกิจการตัวเอง ซึ่งหลังจากนั้นในเวลาต่อมา รมว.คลัง ออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย บริษัท อาคเนย์ประกันภัย และไทยประกันภัย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2565 เป็นต้นไป เพราะผู้ถือหุ้นไม่ยอมเพิ่มทุน

9.บริษัท โนดุ ฟู้ดส์ จำกัด

5

ภาพจาก https://bit.ly/3vh1c7B

  • ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร
  • แบรนด์แฟรนไชส์ มารุกาเมะ เซเมง
  • ก่อตั้ง 2554
  • ปิดกิจการ 1 เม.ย. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 27 ล้านบาท ขาดทุน 21 ล้านบาท

อีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ร้านอาหารจากต่างประเทศที่ต้องยุติการดำเนินกิจการในเมืองไทย สำหรับ Marugame Seimen (มารุกาเมะ เซเมง) ร้านอุด้งชื่อดังจากญี่ปุ่น โดยประกาศเปิดให้บริการวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565

สำหรับร้านอุด้ง Marugame Seimen ในไทยอยู่ภายใต้เการบริหารของ บริษัท โนดุ ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง กลุ่มบริษัทบูทิค ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ กับ บริษัท โทริดอลล์ จำกัด เจ้าของสิทธิ์ร้าน Marugame Seimen ในญี่ปุ่น โดยเข้ามาเปิดสาขาแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2555 ก่อนที่จะขยายสาขาเพิ่มขึ้นกว่า 20 สาขา ทั้งรูปแบบร้านขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ราคาเริ่มต้นประมาณ 80 บาท

10.บริษัท อาร์แอนด์อาร์ เรสทัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด

4

ภาพจาก https://bit.ly/3J20FMq

  • ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร
  • แบรนด์แฟรนไชส์เบอร์เกอร์ Carl’s Jr. (คาร์ลซ จูเนียร์)
  • ก่อตั้ง 2554
  • ปิดกิจการร้าน Carl’s Jr. 1 เม.ย. 2565

ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 23 ล้านบาท ขาดทุน 41 ล้านบาท
อีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์แฮมเบอร์เกอร์ Carl’s Jr. (คาร์ลซ จูเนียร์) ประเทศไทย ที่ดำเนินการโดยบริษัท อาร์แอนด์อาร์ เรสทัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด ประกาศปิดร้านทุกสาขาเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2565 เพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว ซึ่งก่อนจะปิดให้บริการนั้นเหลือสาขาเปิดให้บริการเพียง 2 สาขาเท่านั้น คือ สาขาฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพฯ สุขุมวิท และเมืองพัทยา

ร้าน Carl’s Jr. เปิดให้บริการสาขาแรกในเมืองไทย เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2555 ที่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช และขยายสาขาเพิ่มต่อเนื่อง เช่น สาขาอโศก และนานา โดยช่วงต้นปี 2564 มีสาขา 6 สาขา โดยทันทีที่ร้านปิดให้บริการ บริษัทฯ ได้มีการจ่ายค่าชดเชยพนักงาน และย้ายพนักงานบางส่วนไปทำงานในธุรกิจอื่น

11.บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด

3

ภาพจาก https://bit.ly/3z99MpY

  • ธุรกิจร้านสะดวกซัก
  • แบรนด์แฟรนไชส์ Washcoin
  • ก่อตั้ง 2560
  • ปิดกิจการ 25 ม.ค. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2562 รายได้ 28 ล้านบาท ขาดทุน 2.3 ล้านบาท

เป็นข่าวโด่งดังตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 กรณีแฟรนไชส์ร้านสะดวกซักชื่อดัง Washcoin ประกาศปิดกิจการกะทันหัน ซึ่งแฟรนไชส์ร้านสะดวกซักดังกล่าวอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท โมบาย ทู แมชชีน จำกัด

ผู้บริหารปล่อยทิ้งผู้ลงทุนแฟรนไชส์จนได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท หลังจากนั้นบรรดาผู้เสียต่างตบเท้าเข้าร้องทุกข์ในข้อหาฉ้อโกงกับกองปราบปรามฯ ซึ่งระบบต่างๆ ของ Washcoin ได้หยุดให้บริการตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2565

12.บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด

2

ภาพจาก https://bit.ly/3oqYSaa

  • ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร
  • แบรนด์ ดารุมะ ซูชิ
  • ก่อตั้ง 2559
  • ปิดกิจการ 17 มิ.ย. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 45 ล้านบาท กำไร 1 ล้านบาท

ช่วงเดือน มิ.ย. 65 นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับวงการธุรกิจร้านอาหารอย่างหนัก กรณีร้านบุฟเฟ่ต์ “ดารุมะ ซูชิ” เปิดขาย Voucher ราคาถูกเพียง 199 บาท จนคนแห่เข้ามาจองซื้อจำนวนนับแสนใบ ก่อนที่เจ้าของแบรนด์จะปิดร้านหนีหายไปอย่างไร้ร่องลอย ไม่เพียงเท่านี้ยังหลอกให้ผู้สนใจเข้ามาลงทุนซื้อเปิดร้านในรูปแบบแฟรนไชส์ที่ไม่ถูกต้อง

ผู้ลงทุนแฟรนไชส์เพียงมีสถานที่ มีเงินลงทุน 2-2.5 ล้านบาท ไม่รวมตกแต่งร้าน ไม่ต้องลงมือบริหารเอง เจ้าของแบรนด์จัดหาพนักงานให้ สั่งซื้อ-จัดส่งวัตถุดิบ บริหารจัดการให้ ผู้ลงทุนนั่งรอรับเงินส่วนแบ่ง 10% จากยอดขาย 1 ล้านบาท ที่ได้แต่ละเดือนเท่านั้น ซึ่งระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง ผู้ลงทุนต้องบริหารธุรกิจเอง และจ่ายค่าสิทธิให้แก่เจ้าของแบรนด์ด้วย

กรณีดังกล่าว พบว่ามีผู้ที่ได้ผลกระทบไม่ต่ำกว่าพันราย สร้างความเสียไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อีกทั้งผลกระทบยังรุกลามไปยังภาพลักษณ์ของธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ และธุรกิจดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์กรณีดารุมะ ซูชิ ถือเป็นบทเรียนราคาแพงให้กับนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่อยากมีกิจการเป็นของตัวเอง แต่ขาดการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง เพราะแฟรนไชส์ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่ใส่เงินและรอรับปันผล ต้องบริหารธุรกิจเองด้วย

13.บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน)

1

ภาพจาก https://bit.ly/3OzaWAZ

  • ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และวารสาร
  • แบรนด์ โพสต์ทูเดย์
  • ก่อตั้ง 2546
  • ปิดกิจการ 1 ก.ค. 2565
  • ผลประกอบการ งบการเงินปี 2564 รายได้ 494 ล้านบาท ขาดทุน 107 ล้านบาท

อีกหนึ่งข่าวที่สะเทือนวงการสื่อมวลชนอีกครั้ง กรณีสำนักข่าวโพสต์ทูเดย์ซึ่งเปิดเดำเนินกิจการมากว่า 20 ปี ประกาศปิดตัวอย่างเป็นทางการ และปลดพนักงานทั้งหมดกว่า 200 คน มีผลตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2565

โดยบริษัทฯ ได้แจ้งพนักงานไปเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 พร้อมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน  สำหรับสาเหตุการปิดกิจการในครั้งนี้ เกิดจากภาวะขาดทุน เพราะมีการแข่งขันกันสูง แม้ว่าบริษัทฯ จะปรับรูปแบบมาทำสื่อออนไลน์แทน แต่ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้

นั่นคือ 13 ธุรกิจที่ปิดกิจการ ปิดโรงงาน รวมถึงเลิกกิจการถาวรในประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี 2565 เป็นต้นมา


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BBlPj5

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช