เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯปิดตัวนับร้อย

พิษเศรษฐกิจยังลามต่อไม่หยุด ไร้สัญญาณฟื้น กระทบกำลังซื้อภาคประชาชน สินค้าทยอยขึ้นราคารัวๆ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ โรงงาน ร้านค้า แบกรับต้นทุนและค่าแรงไม่ไหว ทยอยปิด-เลิกจ้างไม่หยุด พบช่วงปลายเดือน พ.ค.-มิ.ย. 67 ประกาศปิดตัวเพิ่มอีก 10 ราย ทั้งร้านอาหาร โรงงานผลิตรถยนต์ ห้างค้าปลีก รายงานตั้งแต่ครึ่งปีแรกโรงงานปิดตัวไปแล้วมากกว่า 360 แห่ง มูลค่าการลงทุนกว่า 9,400 ล้านบาท เลิกจ้างไปแล้วกว่า 10,000 คน

1.ห้างดัง “แฟรี่แลนด์” ประกาศขาย 550 ล้าน ไปต่อไม่ไหว

เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี

ภาพจาก facebook.com/FairyLandpage

วันที่ 23 พ.ค. 2567 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Bee Amphaphan โพสต์ข้อความระบุว่า “ขายห้างสรรพสินค้า แฟรี่แลนด์ จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมตึกแถวติดถนนสวรรค์วิถี บนที่ดิน 7 ไร่ อาคารห้าง 5 ชั้น ใจกลางเมืองนครสวรรค์ราคา 550 ล้าน” ปิดตำนาน 36 ปี หลังไปต่อไม่ไหว พ่ายแพ้พิษเศรษฐกิจ

2.แพนด้าสุกี้ ร้านดังยุค 90s ปิดกิจการ หลังดำเนินกิจการมากว่า 40 ปี

เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี

ภาพจาก facebook.com/Pandasukirestaurant

วันที่ 25 พ.ค. 2567 เพจ แพนด้า สุกี้ เรสเทอรอง Panda Suki Restaurant ประกาศปิดกิจการ โดยจะเปิดให้บริการถึงวันที่ 9 มิ.ย.2567 เป็นวันสุดท้าย โดยร้านแพนด้าสุกี้ ก่อตั้งโดย วินัย เสริมศิริมงคล อดีตเจ้าของห้างพาต้า เปิดให้บริการปี 2526 เดิมตั้งอยู่บริเวณห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า ก่อนที่ อนุสรณ์ โกวิทย์พรสิน จะซื้อกิจการมา ทำให้ปัจจุบัน แพนด้าสุกี้ เหลือสาขา 1 แห่งที่ สาขาพระราม 5 (ราชพฤกษ์) ปี 2566 ขาดทุน 161,621 บาท

3.SUBARU ปิดไลน์ผลิตในไทย เหตุแข่งขันไม่ไหว

เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี

ภาพจาก https://citly.me/jhFsJ

บริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ซูบารุ (SUBARU) ในประเทศไทย ตัดสินใจหยุดการผลิตรถยนต์ในไทยสิ้นปี 2567 เหตุต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้รถยนต์ไม่สามารถขายได้ในราคาที่เหมาะสม ประกอบกับการแข่งขันในตลาดสูง ส่วนรถยนต์ซูบารุที่ขายใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย และกัมพูชา เปลี่ยนเป็นการนำเข้ามาจำหน่ายแทน

4.ช่อง 7 ยุบรายการเข้านี้ที่หมอชิต ปลดพนักงาน

ภาพจาก facebook.com/dara7photo

แฟนๆ ใจหายเมื่อมีรายงานว่า CH7 ยุบรายการเช้านี้ที่หมอชิตที่เทโรผลิต ปลดพนักงานในรายการทั้งหมด เหลือแค่บก.กับ Co-Producer หลังจากนี้ช่อง 7 จะทำรายการเอง โดยยุบรายการเช้าข่าง 7 สี

5.ไทยยูเนี่ยนฯ เลิกกิจการในจีน เหตุไม่ทำกำไร

เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี

ภาพจาก facebook.com/ThaiUnionGlobal

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทได้ดำเนินการเพื่อจดทะเบียนเลิก และชำระบัญชี บริษัท Thai Union China Company Limited หรือ TUC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศจีนที่บริษัท ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ถือเป็นไปตามแผนลดธุรกิจที่ไม่สร้างผลกำไร คาดเลิกกิจการแล้วเสร็จเดือน มิ.ย.2568

6.เกรท วอลล์ มอเตอร์ ปิดสำนักงานใหญ่ในยุโรป เลิกจ้าง 100 คน

ภาพจาก www.gwm-global.com

เกรท วอลล์ มอเตอร์ ของจีน ปิดสำนักงานใหญ่ในยุโรป เมืองมิวนิก เยอรมนี วันที่ 1 สิงหาคม 2567 และเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด 100 คน รวมถึงทีมผู้บริหาร หลังผิดหวังกับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในยุโรป ส่วนในไทยไม่กระทบ ยังขายเหมือนเดิม

7.ซูซูกิ ปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในไทย

ภาพจาก www.suzuki.co.th

ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ตัดสินใจยุติการผลิตที่โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัทในเครือในประเทศไทย ภายในช่วงสิ้นปี 2568 ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนโครงสร้างการผลิตของซูซูกิทั่วโลก โดยบริษัทฯ มีการปรับแผนธุรกิจเป็นการนำเข้ารถยนต์จากโรงงานในภูมิภาคแถบอาเซียน รวมถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย

8.บริษัทดังชลบุรี ปลดพนักงานครั้งใหญ่ 3,000 คน

วันที่ 2 มิ.ย. 2567 เพจนิวส์ชลบุรี-ระยอง ออนไลน์ รายงานบริษัทดังในจังหวัดชลบุรี ประกาศปลดพนักงานซับยกบริษัทกว่า 3,000 คน โดยให้ทำงานถึงสิ้นเดือนนี้ ส่วนพนักงานประจำให้ย้ายไประยอง ต่อสัญญาใหม่ให้ 2 ปี จากเดิมโรงงานเก่าให้สัญญาระยะยาว พนักงานที่เหลือต้องลุ้นกันต่อไป เหตุจากการแข่งขันทางการตลาด ปัญหาทางเศรษฐกิจ

9.โรงงานดัง “คริสตัล เท็กซ์ไทล์” ปิดกิจการ ไม่มีออร์เดอร์

ภาพจาก https://bit.ly/3KNfNz4

บริษัท คริสตัล เท็กซ์ไทล์ อินดัสตรีส์ จำกัด จ.สมุทรปราการ บริษัทสัญชาติไทย ร่วมทุนกับนักธุรกิจอินเดีย ทำธุรกิจเกี่ยวกับปักผ้าลูกไม้ ผู้ผลิตลูกไม้ ผู้ส่งออกผ้าลูกไม้ ดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 34 ปี ประกาศปิดกิจการวันที่ 8 มิถุนายน 25267 เหตุประสบปัญหา ไม่มีออร์เดอร์จากลูกค้า แบกรับภาระไม่ไหว ทำให้พนักงานราวๆ 97 คนตกงานทันที

10.ร้านซีฟู้ดดัง “สูตรเตี๋ยว ณ ปราจีนบุรี” ประกาศปิดกิจการ สู้ต้นทุนไม่ไหว

ภาพจาก facebook.com/sutetieaw

เจ้าของร้าน สูตรเตี๋ยว ณ ปราจีนบุรี ประกาศปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ เปิดให้บริการไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 2567 หลังเปิดร้านมาได้ 6-7 ปี แต่เจ้าของร้านยังมีร้าน “เหลือแต่หอย ซีฟู้ด” ตั้งอยู่ กทม. ลาดพร้าว107 เปิดให้บริการทุกวัน สาเหตุจากต้นทุนอาหารทะเลสูงขึ้น ค่าขนส่งสูง แต่ไม่สามารถขึ้นราคาได้

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ประเมินโรงงานไทยมีแนวโน้มปิดตัวและเลิกจ้างเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,700 แห่ง หากรัฐบาลยืนกรานปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เท่ากันทั่วประเทศ 1 ต.ค.2567 โดยครึ่งปีแรก 2567 ผู้ประกอบการไทยต้องปิดโรงงานไปแล้วมากกว่า 360 แห่ง คิดเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 9,400 ล้านบาท เลิกจ้างแรงงานไปแล้วกว่า 10,000 คน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช