เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ ทำแฟรนไชส์ที่ใช่ ให้ระบบทำงานแทน

มีหลายๆ คนประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด เพราะความถนัดและความชอบธุรกิจนั้นๆ เป็นการส่วนตัว ทั้งที่คนเหล่านั้นเริ่มต้นจากธุรกิจอื่นมาก่อน ประกอบกับคนเหล่านั้นใช้บริการแบรนด์นั้นเป็นประจำ จึงรู้ว่าแฟรนไชส์นั้นมีความน่าเชื่อถือ มั่นคง สินค้าและบริการตอบโจทย์ลูกค้า จึงเป็นเหตุให้พวกเขาตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ใช่ในการทำธุรกิจ

ยกตัวอย่าง…7-Eleven

เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ

แฟรนไชส์ซี 7-Eleven หรือ Store Business หลายๆ คนที่ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์เคยสัมภาษณ์มา ส่วนใหญ่พวกเขาจะเริ่มต้นทำธุรกิจอื่นมาก่อน โดยเฉพาะธุรกิจทำมาค้าขาย ให้บริการลูกค้า รวมถึงเคยเป็นพนักงานร้าน 7-Eleven มาก่อน

Store Business ที่ประสบความสำเร็จยังเคยใช้บริการร้าน 7-Eleven มาก่อน บางคนใช้บริการเป็นประจำอีกด้วย จึงทำให้พวกเขาหลงรักแบรนด์แฟรนไชส์ 7-Eleven รู้ว่าซื้อแฟรนไชส์ 7-Eleven ไปเปิดแล้ว มีลูกค้ารองรับ ขายได้ สร้างรายได้ มีความมั่นคงอย่างแน่นอน (ต้องขึ้นอยู่ทำเลเปิดร้านด้วย) ปัจจุบันบางคนมี 1 สาขา บางคน 2 สาขา บางคน 3 สาขา

ระบบแฟรนไชส์ของ 7-Eleven จะมีทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา, 7-Eleven สามารถช่วยคัดสรรพื้นที่ดีๆ ให้, มีทีมงานช่วยวางแผนงานการตลาดและส่งเสริมการขาย, มีระบบการจัดการสินค้าที่ทันสมัย

อีกทั้งทาง7-Eleven มีทีมงานคอยให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำเราอย่างเต็มที่ มีการจัดอบรมพนักงานเพื่อพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว มีการคิดค้นพัฒนาสินค้าบริการใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายเข้ามาขายในร้านอยู่เสมอ และจัดโปรโมชั่นกระตุ้นการขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง…คาเฟ่ อเมซอน

เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ

อีกหนึ่งตัวอย่างที่ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์พูดคุยมา “แฟรนไชส์ซี คาเฟ่ อเมซอน” เขาเป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไอศกรีม “Duca’tim ดูคาติม” มีสาขามากกว่า 150 สาขาทั่วประเทศ เขาชอบงานค้าขาย และบริการลูกค้า แต่ละวันจะเจอลูกค้ามากมาย อีกทั้งเธอชอบดื่มกาแฟอเมซอนเป็นประจำ และเขาก็คิดว่าคนส่วนใหญ่ก็ชอบดื่มกาแฟอเมซอนด้วย

เขาจึงตัดสินเลือกซื้อแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” เพราะมองว่าระบบแฟรนไชส์แบรนด์ดังกล่าวเพอร์เฟคมากๆ มีทีมงานเทรนนิ่ง ทีมงานวิเคราะห์ทำเล ออกแบบตกแต่งร้าน โดยก่อนเปิดร้านเขาและผู้จัดการร้านต้องไปอบรมกับอเมซอน 10 วัน

เพื่อเรียนรู้ระบบการทำงานในร้าน เขาใช้พนักงาน 6 คนภายในร้าน เผื่อพนักงานลาออกกลางคัน หรือบางวันลา บางวันขาด เพื่อให้กระบวนการทำงานภายในร้านไม่สะดุด ช่วงเปิดร้านแรกๆ ยอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ 200 แก้ว/วัน

ตัวอย่าง…ธุรกิจห้าดาว

เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จ คือ ธุรกิจห้าดาว สามารถทำยอดขายต่อเดือนตัวเลข 6 หลัก ความสำเร็จมาจากแฟรนไชส์ซีเอง รวมถึงบริษัทแม่เครือซีพีให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เหมือนเป็นหุ้นส่วนธุรกิจร่วมกัน

ทั้งการให้ความรู้การจัดการ การสนับสนุนการด้านขายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด การสื่อสารการตลาด ระบบ Logistic การจัดซื้อและจัดส่งวัตถุดิบให้ตลอดเวลา จึงทำให้แฟรนไชส์ซีบริหารร้านได้อย่างสบาย

ปัจจัยสำคัญอีกอย่าง ก็คือ โมเดลของธุรกิจห้าดาว มีความง่ายสำหรับผู้ประกอบการ ไม่ยุ่งยาก เพราะผู้ประกอบการเพียงแค่ สั่งซื้อวัตถุดิบ เซลล์มาส่งวัตถุดิบ ผู้ประกอบการปรุง ดูแลลูกค้า เป็นลักษณะแบบนี้ประจำทุกวัน ที่สำคัญคุณอาร์มยังมีวินัยในเรื่องของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การสต็อก ไม่ใช้เงินฟุ้งเฟ้อ ดึงกำไรมาจ่ายรายจ่าย จึงทำให้มีรายได้ดี

สรุปก็คือ เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ ทำแฟรนไชส์ที่ใช่ ให้ระบบทำงานแทน มีโอกาสประสบความสำเร็จ และมั่นคงมากกว่าเลือกแฟรนไชส์ตามกระแส เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ จะไม่รู้สึกเบื่อ ทำแล้วมีความสุขงาน ประการสำคัญผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่น รักในงานขายและบริการ ทำเลเปิดร้านต้องดีด้วย หากใจพร้อมก็สำเร็จได้ง่าย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช