เลี้ยง “หอยเชอรี่” ในบ่อปูน สร้างรายได้หลัก 10,000 ต่อเดือน

คนส่วนใหญ่หันมาทำอาชีพเกษตรกรมากขึ้น มีพืชและสัตว์หลายชนิดที่น่าสนใจผนวกกับการใช้เทคโนโลยีหาความรู้ในการเลี้ยงทำให้เกษตรกรมีโอกาสสร้างรายได้มากขึ้น โดยหอยเชอรี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่น่าสนใจมาก และมีคนที่ประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงให้ได้ดูเป็นตัวอย่าง

อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจและไม่รู้จักว่าหอยเชอรี่คืออะไร มีกี่แบบ แล้วหอยเชอรี่สีทองที่ได้ยินว่านิยมเลี้ยงกันคืออะไร ลองมาหาคำตอบไปพร้อมกันเพื่อกรุยเส้นทางสู่การสร้างเป็นอาชีพได้ในอนาคต

ลักษณะทั่วไปของ “หอยเชอรี่”

หอยเชอรี่

ภาพจาก https://bit.ly/2Z152EX

หอยเชอรี่สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ

เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ 388 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7 – 12 วัน หลังวางไข่

หอยเชอรี่สีทอง คือ??

23

ภาพจาก https://bit.ly/3DwJXS0

สำหรับหอยเชอรี่สีทองที่เราเรียกกันที่จริงคือหอยเชอรี่พันธุ์สนิม หรือ หอยหวานญี่ปุ่นด้วยซึ่งเลี้ยงง่ายเหมือนการเลี้ยงหอยเชอรี่ หอยขมทั่วไป จุดแตกต่างคือมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มไม่เหนียวเหมือนหอยเชอรี่ในเมืองไทยแถมเนื้อยังมีความหวานไม่คาว ต่างจากหอยชนิดอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน

ไม่ว่าจะเป็นหอยเชอรี่สีดำ หอยโข่ง หรือ หอยขม ทำให้เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปูนา และเลี้ยงหอยเชอรี่ หันมาเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง และหอยเชอรี่สีทองสนิม กันเป็นจำนวนมาก ถ้าถามหาจุดเริ่มต้นของการเข้ามาของหอยเชอรี่สีทอง และหอยเชอรี่สีทองพันธุ์สนิม ในประเทศไทย ยังไม่มีการระบุแน่นอน แต่เชื่อว่าบางส่วนเป็นพันธ์ที่ได้มาจากทางมาเลเซีย

วิธีการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองแบบเบื้องต้น

คนที่สนใจและอยากเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง ขั้นแรกต้องสำรวจตลาดให้แน่ใจว่าจะเอาหอยเชอรี่ของเราไปขายที่ไหนได้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะขายได้ตามร้านอาหารอีสาน ร้านส้มตำ หรือตามขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสด หรือสามารถขายในร้านอาหารบางแห่งได้ ขั้นตอนเบื้องต้นเริ่มจาก

22

ภาพจาก https://bit.ly/3DwJXS0

1.เตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงหอยเชอรี่

เช่น กระชังในบ่อดินธรรมชาติ หรือ บ่อซีเมนต์ ก็ได้ ซึ่งหอยเซอรี่นั้นถือว่าเป็นหอยที่เลี้ยงง่ายและโตไว แถมยังกินเก่ง โดยในขึ้นตอนการเตรียมบ่อนั้นให้เราใส่พืชน้ำ เช่น แหน ผักตบ ผักบุ้ง ทางมะพร้าว เศษไม้ สำหรับไว้ให้หอยเชอรี่เกาะ หรือ ผักพื้นถิ่นที่หาได้ตามธรรมชาติ เพื่อปรัหยัดค่าใช้จ่าย

2.การเตรียมสายพันธุ์

โดยเราสามารถที่จะเลี้ยงจาก พ่อแม่พันธุ์หอยเซอรี่สีทอง หรือ จะเลี้ยงจากไข่ก็ได้ โดยให้สังเกตไข่ของหอยเชอรี่ที่พร้อมเลี้ยงต้องมีสีชมพูแก่ค่อนไปสีเทา และเมื่อนำมาปล่อยในพื้นที่เลี้ยงที่เตรียมไว้ ใช้เวลาในการเลี้ยง ประมาณ 4 เดือน ก็สามารถจับขาย ขนาดประมาณ 50 – 60 ตัว/กิโลกรัมราคากิโลกรัมละ 50 – 80 บาท ขายตามร้านส้มตำ และร้านอาหารอีสานทั่วไป

21

ภาพจาก https://bit.ly/3DwJXS0

3.ช่วงแรกของการเลี้ยง

หลังจากเอาไข่หอยมาลง ใช้เวลาประมาณ 7 – 15 วัน จะเริ่มฟักเป็นตัว พอฟักเป็นตัวหมดแล้วให้เอามาอนุบาลลงในน้ำ อนุบาลไว้ประมาณ 2 เดือน หรือจะปล่อยไว้ในบ่อประมาณ 3 เดือนก็เอามากินได้เช่นกัน ภาษาชาวบ้านจะบอกว่า หอยหนุ่มสาวเนื้อจะไม่เหนียว แต่ถ้าอายุ 4 เดือน จะเริ่มเป็นพ่อแม่พันธุ์ หอยจะเริ่มขึ้นวางไข่ได้แล้ว เราก็จะคัดออกมาไว้อีกบ่อ เพื่อง่ายต่อการดูแล ส่วนอาหารของหอยหลัก ๆ คือแหนแดงซึ่งต้องเตรียมไว้ในบ่อ

4.อาหารของหอยเชอรี่สีทอง

การเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง หรือ พันธุ์สนิม ถ้าไม่ได้ทำเป็นฟาร์ม เกษตรกรปล่อยให้ผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติ ซึ่งจะผสมพันธุ์และให้ไข่ได้ทั้ง 3 ฤดู ถ้าเลี้ยงทั่วไป ก็จะไม่แยกไข่หรือ ลูกออกไปอนุบาล แต่เราเลี้ยงขาย พ่อ แม่พันธุ์ ก็จะแยกลูกตอนหนึ่งเดือนออกไปอนุบาล เพื่อให้ได้ลูกที่สมบูรณ์มากที่สุด โดยอาหารขออหอยเชอรี่สีทองจะกินพืชน้ำทุกชนิดโดยเฉพาะแหนแดงหรือ ถ้าเลี้ยงเป็นฟาร์ม สามารถให้อาหารปลาดุกแทนได้

เคล็ดไม่ลับในการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทอง

ปัญหาหนึ่งที่เจอในการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองในบ่อซีเมนต์น้ำจะเสียบ่อย เทคนิคที่นำมาใช้คือใช้แหนแดงในการบำบัดน้ำ เพราะจะช่วยเพิ่มไนโตรเจน และออกซิเจนในน้ำ รวมทั้งเป็นอาหารของหอยด้วยหรือภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อนจะตัดท่อนอ้อยลงแช่น้ำ เพราะว่าอ้อยมีความหวาน และจุลินทรีย์มันจะกินความหวานเป็นอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำไม่เสีย

รายได้จากการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองสูงกว่าเดือนละ 10,000 บาท

20

ภาพจาก https://bit.ly/3DwJXS0

ราคาของหอยเชอรี่สีทองในปัจจุบันขายกันที่กิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 400 บาท ระยะเวลาการเลี้ยง จนสามารถขายได้ ประมาณ 4-5 เดือนเป็นอย่างต่ำ ส่วนใครที่ต้องการให้ตัวใหญ่ขึ้นมาอีก ก็เลี้ยงกัน 7-8 เดือน ช่องทางการตลาดสามารถขายได้ทั้งในชุมชนตลาดใกล้บ้าน หรือบางคนใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์

โดยขายตั้งแต่ ไข่หอย หอยวัยรุ่น หอยพ่อแม่พันธุ์ ถ้าดูจากคนเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จอย่างดี สามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 – 20,000 บาท หรือบางเดือนอาจมีรายได้สูงกว่า 40,000 -50,000 ได้เลยทีเดียว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการเลี้ยง เทคนิคในการเลี้ยง การตลาดของผู้เลี้ยงเป็นสำคัญด้วย

จากการศึกษาพบว่าเนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง 34 – 53 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.66 เปอร์เซ็นต์ ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างเช่น ส้มตำ หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่ ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุกร เป็นต้น เปลือกก็สามารถปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกถ้านำไปฝังบริเวณทรงพุ่มไม้ผล เมื่อเน่าเปื่อยก็จะเป็นปุ๋ยทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว และได้ผลผลิตดี รวมถึงข้อมูลจากสถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า หอยเชอรี่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารจำนวนมาก

อย่างไรก็ดีการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองแม้จะมีโอกาสและช่องทางที่เปิดกว้างแต่คนที่สนใจควรศึกษาหาความรู้จากคนเลี้ยงที่เขาประสบความสำเร็จ สิ่งที่เราควรรู้คือวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง ปัญหาที่ต้องเจอเช่นเรื่องโรคในหอยเชอรี่ หรือการได้พูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องช่องทางการตลาดได้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/30FIvyf , https://bit.ly/3kMN1Sm , https://bit.ly/3CpOoMX , https://bit.ly/3ntt7hj

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3r0mc10

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด