เริ่มแล้ว! แฟรนไชส์แรกในอเมริกา College HUNKS Hauling Junk & Moving ที่รับชำระค่าแฟรนไชส์ด้วย Bitcoin

เราต้องยอมรับว่า ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจ Bitcoin กันมากขึ้น ทำให้หลายคนสงสัยว่า Bitcoin คืออะไร ซึ่ง Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่สร้างขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ

ไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้ควบคุมระบบแม้แต่คนเดียว ทำให้ Bitcoin ไม่มีรูปร่างไม่สามารถจับต้องได้เหมือนเหรียญหรือธนบัตรที่ใช้งานกันในปัจจุบัน และ Bitcoin ยังเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่า คริปโตเคอเรนซี (Crytocurrency)

เริ่มแล้ว แฟรนไชส์

ภาพจาก facebook.com/CollegeHunksHaulingJunk

จากกระแสที่กำลังมาแรงของ Bitcoin ทำให้ธุรกิจต่างๆ เล็งเห็นโอกาสและมีการพัฒนาช่องทางการชำระเงิน โดยเป็นการนำสินทรัพย์ดิจิทัล (Cryptocurrency) มาใช้ชำระเงินสำหรับเป็นค่าสินค้าและบริการ

ล่าสุดแฟรนไชส์ College HUNKS Hauling Junk & Moving ที่มีการเติบโตในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแฟรนไชส์กำจัดขยะสำหรับลูกค้าทั้งที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์รวมถึงขนย้ายสิ่งของ ยอมรับและให้ใช้ Bitcoin และ Ethereum เพื่อชำระค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ได้

โดยค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ของ College HUNKS Hauling Junk & Moving อยู่ที่ 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบันจะเท่ากับราคาของ Bitcoin (1 Bitcoin หรือประมาณ 15 Ethereum)

Nick Friedman ผู้ร่วมก่อตั้งแฟรนไชส์ College HUNKS Hauling Junk & Moving อธิบายว่า “จากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้แฟรนไชส์ College HUNKS มีการเจริญเติบโตแบบทวีคูณที่คล้ายคลึงกับการเติบโตของ Bitcoin และ Ethereum ซึ่งเติบโตเกือบ 100% และพร้อมที่จะทำยอดขายได้กว่า 200 ล้านดอลลาร์ในปีนี้”

25

ภาพจาก facebook.com/CollegeHunksHaulingJunk

จากการเติบโตของ Bitcoin และ Ethereum แฟรนไชส์ College HUNKS วางเป้าหมายในอนาคตจะนำนวัตกรรมบล็อคเชนและสกุลเงินดิจิทัลไปใช้สำหรับบริการอื่นๆ เช่น การขนย้ายลูกค้า บริการกำจัดขยะ และค่าตอบแทนพนักงาน

บริษัทได้พิจารณาถึงการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตนเองที่เรียกว่า ”HunkCoin” ในรูปแบบของตัวเลือกหุ้นของพนักงานอีกด้วย บริษัทหวังเปิดโอกาสให้กับผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ และผู้ที่กำลังมองหาวิธีกระจายกำไรจากสกุลเงินดิจิทัลไปสู่ธุรกิจที่กำลังดำเนินการ

คริปโตเคอเรนซี (Crytocurrency) เป็นสกุลเงินดิจิทัล มีการรักษาความปลอดภัยโดยการเข้ารหัส ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำซ้ำได้ นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีแบบ peer-to-peer ซึ่งหมายความว่าไม่มีธนาคารกลางหรือรัฐบาลใดเป็นผู้ควบคุม ซึ่งจะมีประโยชน์ตรงที่จะตัดพ่อค้าคนกลางแบบดั้งเดิมออกไปจากการทำธุรกรรม

24

ภาพจาก facebook.com/CollegeHunksHaulingJunk

ประโยชน์สำหรับแฟรนไชส์ College HUNKS คือ ต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำลงและยอดขายที่เพิ่มขึ้น ลักษณะการกระจายอำนาจของสกุลเงินดิจิทัลได้ให้ความสำคัญกับความชอบของผู้บริโภคและการคุ้มครองแก่ผู้ค้า

สำหรับแฟรนไชส์ College HUNKS Hauling Junk & Moving ก่อตั้งขึ้นในปี 2546 โดยมีเพื่อนร่วมวิทยาลัย 2 คนและรถตู้บรรทุกสินค้าสุดเก๋ คือ Nick Friedman และ Omar Soliman เพื่อหารายได้ช่วงฤดูร้อน ต่อมาธุรกิจได้รับความนิยมจากลูกค้า และได้ขยายแฟรนไชส์ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 150 สาขา ที่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ทั้งการขนย้ายที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเทคโนโลยีการกำจัดขยะ และบริการด้านแรงงานในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

23

ภาพจาก facebook.com/CollegeHunksHaulingJunk

College HUNKS Hauling Junk & Moving ถือเป็นแฟรนไชส์แรกๆ ในสหรัฐอเมริกาที่รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองที่ได้ใช้เทคโนโลยี และให้การยอมรับคริปโตเคอเรนซี (cryptocurrency)

สำหรับในประเทศไทยก็มีธุรกิจที่เล็งเห็นกระแสและการเติบโตของ Bitcoin เช่นกัน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกับทาง “บิทคับ” พัฒนาช่องทางการชำระเงินโดยเป็นการนำสินทรัพย์ดิจิทัล (Cryptocurrency) มาใช้ชำระเงินสำหรับการซื้อขายบ้านและคอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้าของอนันดาฯ

22

ภาพจาก facebook.com/CollegeHunksHaulingJunk

โดยลูกค้าสามารถใช้เหรียญคริปโทฯ ชำระแทนเงินสดกับทุกโครงการของอนันดาฯ ผ่าน Wallet ของบิทคับ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าในแง่ของการจ่ายเงิน ซึ่งเป็นการมอบสิทธิพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้าของอนันดาฯ

และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจในการแลกเปลี่ยนผ่านสกุลเงินคริปโทฯ นับเป็นก้าวแรกของวงการอสังหาริมทรัพย์เมืองไทย ที่ได้รับการพัฒนาและมีการปรับตัวเข้าสู่สังคมแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี

21

ภาพจาก facebook.com/CollegeHunksHaulingJunk

ปัจจุบันตลาดคริปโทฯ ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะด้วยมูลค่าของตลาดคริปโทฯ มีที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดโดยเฉพาะในปีนี้ที่มูลค่าของเหรียญ BITCOIN : BTC ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดที่เกิน 2,000,000 บ. ต่อ 1 เหรียญ BTC แสดงให้เห็นว่าวิถีการลงทุนในทรัพย์สินของคนยุคดิจิตอลได้เปลี่ยนไป

 

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3EZ58wl , https://bit.ly/3D7cxc8

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3n1olr9

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช