เริ่มแล้ว! ร้านชานมไข่มุกในซานฟรานซิสโก ห้ามใช้หลอด(พลาสติก)

ถ้าหากเอ่ยถึงข่าวที่ไทยประกาศระงับการผลิตสินค้าที่มีไขมันทรานส์คงไม่มีใครไม่รู้จักหรือไม่ได้ยินข่าวดังข่าวนี้ ไขมันทรานส์เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเพิ่มระดับไขมันเลว (LDL) และลดไขมันดี (HDL) ในเส้นเลือด ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานซึ่งในสหรัฐอเมริกาประกาศห้ามใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.2015 แล้ว

มาแล้ว! ร้านชานมไข่มุก

และเมื่อเร็วๆนี้ที่ซานฟรานซิสโกในประเทศอเมริกาก็ทำให้ธุรกิจชานมไข่มุกของซานฟรานซิสโกถึงขั้นต้องระส่ำ เนื่องจากอยู่ๆก็มีการโหวตห้ามใช้หลอดพลาสติกในซานฟรานซิสโก โอ้ เรื่องราวมันเป็นยังไงกันละเนี่ย และเหล่าบรรดาร้านชานมไข่มุกจะต้องปรับตัวยังไง ตาม www.ThaiSMEsCenter.com มาอ่านกันเถอะ

632

คำสั่งห้ามใช้พลาสติกในซานฟรานซิสโก ถูกร่างเมื่อ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมาและจะถูกบังคับใช้เดือน กรกฎาคม ปี 2019 ไม่ใช่เพียงแต่หลอดเท่านั้นแม้แต่แก้วที่ทำจากพลาสติกก็จะถูกห้ามใช้ไปด้วยที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรัฐบาลได้ร่วมมือกับกรมสิ่งแวดล้อมของซานฟรานซิสโกกล่าวว่า ลักษณะเล็ก ๆ น้อย ๆ ของหลอดหรือพลาสติกเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและยากที่จะกำจัด

ชานมไข่มุกมีต้นกำเนิดจากประเทศไต้หวันปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ซึ่งแพร่หลายในซานฟรานซิสโกอย่างมากผู้อำนวยการผลิตของร้าน Boba (โบบา) ร้านชานมไข่มุกกล่าวว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่ธุรกิจชานมไข่มุกจะไม่ใช้หลอดดูดจากพลาสติกเพื่อดูดไข่มุกใต้ถ้วยขึ้นมา เขาจึงพยายามหาหนทางเปลี่ยนมาใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ หรือหลอดที่ทำจากกระดาษ

633

จนในที่สุดโบบาเป็นรายแรกในสหรัฐที่ใช้หลอดที่ทำจาก โพลีแลคติค แอซิด (polylactic acid, หรือ PLA) ที่ทำมาจากการหมักแป้งข้าวโพดทำให้เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้มาใช้ทำเป็นฝาปิดกับแก้ว และหลอด แต่แล้วก็ต้องสะดุดเมื่อหัวหน้าผู้ตรวจการบอกว่า พลาสติกพีแอลเอ ยังถูกห้ามเนื่องจากพลาสติกพีแอลเอสามารถย่อยสลายได้จริงแต่ต้องที่อุณหภูมิสูงมันไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามมหาสมุทร หรือธรรมชาติ ปัญหาที่ 2 คือ พีแอลอีเป็นพลาสติกที่เหมือนพลาสติกธรรมดาทั่วไปมากไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า

โบบายังไม่ยอมแพ้ ยังคงหาหลอดที่ทำจากวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้โดยพนักงานของโบบาบอกว่า ที่มาของหลอดที่ย่อยสลายได้นอกจาก พีแอลเอ แล้วยังมี อีก 3 ชนิดได้แก่

  • หลอดขนาดใหญ่ที่ทำจากกระดาษจาก อินเดียน่าส์ อาร์ดวาร์ค (Indiana’s Aardvark) ที่มีขนาดความหนาเพียงพอและมีเวลาจนกว่าจะละลาย 30 นาที
  • หลอดกระดาษจาก เฮย์วาร์ด เวิลด์เซนทริก (Hayward’s Worldcentric)
  • และพลาสติกจากสาหร่ายของบริษัทลอริแวร์

ซึ่งถูกยืนยันว่าสามารถใช้แทนพลาสติกที่ถูกห้ามได้เมื่อพิจารณาสาขาของโบบาในซานฟรานซิสโกแล้วอาจจะต้องใช้หลอด 30 ถึง 35 ล้านเหรียญ ซึ่งนี่ยังไม่ร่วมร้านชาไข่มุกอื่น ๆ อีกเป็นที่แน่นอนเลยว่าอาร์ดวาร์ค และบริษัทผลิตหลอดจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายจะมีงาน และกำไรล้นมือเลยเมื่อข้อบังคับนี้ถูกบังคับใช้

634

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ เลยสำหรับการประกาศห้ามใช้หลอดพลาสติกซึ่งในประเทศไทยก็มีบางร้านเริ่มทำแล้ว                     (สนใจอ่านเพิ่มเติม คลิก! https://bit.ly/2JNOFOA ) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำจากวัสดุเดียวกันในซานฟรานซิสโกทำให้เราได้รับรู้ถึงพลาสติกย่อยสลายได้ง่ายซึ่งประดิษฐ์จากสิ่งอื่น ๆ ทีนี้ต้องจับตาดูแล้วว่า วันที่ 1 เดือนกรกฎาคม ปี 2019 ข้อบังคับนี้จะถูกบังคับใช้จะส่งผลอย่างไรบ้าง

นอกจากนี้หากอยู่ๆ ไทยเกิดประกาศเลิกใช้หลอดพลาสติก และวัสดุพลาสติกอื่นๆ ขึ้นมา ผู้ประกอบการชานมไข่มุกของไทยควรต้องเริ่มคิดแล้วว่าควรทำอย่างไรดี


อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
เข้าชมแฟรนไชส์ชานมไข่มุกทั้งหมดของประเทศไทยได้ที่ https://goo.gl/SshDCQ

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก: https://bit.ly/2JO1okn

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต