เปิดโมเดลใหม่! KOI Express ยุค New Normal ไม่รับชำระด้วยเงินสด

นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสาขาที่เปิดให้บริการในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า เมื่อห้างฯ ปิดชั่วคราวก็ต้องปิดตามไปด้วย แต่พอหลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งต้องอยู่ภายใต้ New Normal ทำให้แบรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มปรับมาขยายสาขานอกห้างมากขึ้น พร้อมทั้งปรับโมเดลร้านให้มีขนาดเล็กลง เพื่อป้องกันผลกระทบจากการปิดห้างฯ เพิ่มการเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็วให้กับลูกค้า

เปิดโมเดลใหม่! KOI Express

ภาพจาก https://bit.ly/3MZJ5Ku

บริษัท โคอิ เตะ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารแบรนด์ร้านชานมไข่มุก KOI Thé ในประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งธุรกิจล่าสุดที่ปรับตัวเข้าสู่ New S-CURVE โดยได้เปิดตัวโมเดลร้านชานมไข่มุก KOI Express รูปแบบร้านมีขนาดเล็กลง ประเดิม 2 สาขาแรก ได้แก่ KOI Thé Express สาขาซอยอารีย์ 4 ฝั่งเหนือ และ KOI Thé Express สาขาราชพฤกษ์ 13

KOI Thé Express สาขาซอยอารีย์ 4 ฝั่งเหนือ เปิดให้บริการเมื้อวันที่ 11 ก.พ. 2565 เปิดโมเดลใหม่! KOI Express เป็นสาขา Cashless Store ไม่รับชำระด้วยเงินสด ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านช่องทาง KOI Card / KOI App, Credit & Debit และ QR Code (Promtpay) ส่วน KOI Thé – Express สาขาราชพฤกษ์ 13 เปิดให้บริการวันที่ 15 มี.ค. 2565 ไม่รับชำระด้วยเงินสดเช่นกัน ลูกค้าสามารถสั่งเครื่องดื่มผ่านช่องทางเดลิเวอรี่ได้แก่ GrabFood , LINEMAN , Robinhood และ ShopeeFood

เปิดโมเดลใหม่! KOI Express

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

สำหรับโมเดลร้านแบบ KOI Thé Express ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้เปิดให้บริการมาแล้วในประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม รูปแบบของร้านเน้นการเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว มีเครื่องดื่มไม่เยอะเท่ากับร้าน KOI Thé ทั่วไป เนื่องจากร้านมีพื้นที่ขนาดเล็ก ที่นั่งน้อย จะเน้นเฉพาะเมนู Signature ของทางร้านและแต่ละประเทศเท่านั้น

เปิดโมเดลใหม่! KOI Express

ภาพจาก facebook.com/koithethailand

โมเดล KOI Thé Express ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการปรับตัวเข้าสู่ New S-CURVE หรือ นวัตกรรมและแนวคิดการดำเนินธุรกิจใหม่ในยุค New Normal โดยที่ผ่านมามีหลายๆ แบรนด์ธุรกิจได้ปรับตัวเข้าสู่ New S-CURVE มาแล้วมากมาย เช่น แฟรนไชส์ N&B Pancake เปลี่ยนร้านในห้างเปิดขายแฟรนไชส์รูปแบบ Food Truck สาขาแรกเกษตร-นวมินทร์

แบรนด์ใหญ่รุก Street Food “ฟู้ดแพชชั่น” เจ้าของบาร์บีคิวพาซ่า ขายแฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” รุกตลาด Street Food ทำเลตลาดทั่วไป รวมถึงปั้มน้ำมันพีทีทั่วประเทศ “เซ็น คอร์ปอเรชั่น” เดินหน้าขยายร้านแฟรนไชส์ขนาดเล็ก รุกทำเลนอกห้าง เพิ่มความสะดวกสบาย รวดเร็ว ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย

ทำความรู้จัก KOI Thé

15

ภาพจาก https://bit.ly/3qbpq0o

โคอิเตะเป็นแบรนด์ชาจากประเทศไต้หวัน ก่อตั้งโดย มิสหม่า (Ms. Khloe Ma) ชาวไต้หวันที่ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ และมีแนวคิดอยากแนะนำเครื่องดื่มชาที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบไต้หวันแท้ๆ ให้ประเทศต่างๆ ได้รู้จัก จึงต่อยอดจากธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นร้านชาชื่อดังของไต้หวันอยู่แล้ว คือ อู่สือหลาน (50 嵐) เริ่มต้นกิจการครั้งแรกเมื่อปี 1994 เพื่อเปิดธุรกิจชาของตัวเองภายใต้แบรนด์ KOI Thé พร้อมกับเปิดสาขาต้นแบบเป็นแห่งแรกในไต้หวัน เมื่อปี 2006 จนปัจจุบันมีสาขาอยู่ใน 12 ประเทศ อาทิ ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และพม่า เป็นต้น

14

ภาพจาก https://bit.ly/3Ijhssn

สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่ 10 ที่โคอิ เตะ เลือกเข้ามาทำตลาด และเป็นหนึ่งประเทศที่มิสหม่ามองว่าเป็น Strategic Location ที่ต้องขยายเข้ามา เพราะเป็น Destination ของธุรกิจท่องเที่ยวในภูมิภาคที่คนทั่วโลกอยากเดินทางเข้ามา ประกอบกับแบรนด์อาหารดังๆ หลายแบรนด์ก็เลือกที่จะขยายสาขามาเปิดในประเทศไทย โดยปัจจุบัน KOI Thé มีสาขาในประเทศไทย 53 สาขา เปิดสาขาแรกที่ Central Plaza Bangna B1 fl. (ชั้น Tops Supermarket)

ทำเลที่ตั้งร้าน KOI Thé

เปิดโมเดลใหม่! KOI Express

ภาพจาก https://bit.ly/3thH7NV

KOI Thé เป็นอีกร้านชานมไข่มุกที่สร้างเอกลักษณ์แบรนด์ของตัวเองให้โดดเด่น แตกต่าง นอกจากสินค้าในร้านแล้ว อีกหนึ่งความแตกต่างที่โดดเด่น ก็คือ ทำเลของร้าน โคอิ เตะ ที่มักจะเห็นตามห้างที่มีชื่อเสียง เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต่างจากร้านอื่นๆ แต่ขายราคาไม่แพง ทุกคนสามารถซื้อกินได้ มีทำเลที่เข้าถึงได้ง่าย จึงทำให้มีผู้คนจำนวนมากมาต่อแถวยาวเหยียด อีกทั้งแต่ละคนถ่ายรูปและรีวิวชาแก้วโปรดลงสื่อออนไลน์อย่างแพร่หลาย

จะเห็นได้ว่า KOI Thé (โค-อิ-เตะ) ได้ฉีกตัวเองออกจากสนามรบในยุค “ชานมไข่มุก” ที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในเมืองไทย สร้างความโดดเด่น สร้างเอกลักษณ์ สร้างความแตกต่าง ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขันในยุคนี้ ที่สำคัญความแตกต่างของสินค้า ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้มูลค่าของสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

รายได้ KOI Thé

เปิดโมเดลใหม่! KOI Express

ภาพจาก https://bit.ly/3qbpq0o

จากการตรวจสอบผลการดำเนินธุรกิจบริษัท โคอิ เตะ (ประเทศไทย) จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีดังนี้

  • ปี 61 รายได้ 304 ล้านบาท กำไร 81 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 516 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 386 ล้านบาท กำไร 36 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่า ในช่วงปี 2563 เป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย หลายๆ ธุรกิจต่างได้รับผลกระทบยอดขาย แต่สังเกตว่า KOI Thé ได้รับผลกระทบไม่มากนัก รายได้ลดลง กำไรลดลง แต่ไม่ขาดทุนเหมือนธุรกิจอื่นๆ

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3icHgvI , https://bit.ly/3wv75jd

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3NaOKhg

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช