เปิดแฟรนไชส์ไหนดี Mixue vs Bing Chun คุ้มค่า น่าลงทุน

MIXUE ถือเป็นพี่ใหญ่ร้านไอศกรีมและชาผลไม้จากจีนในประเทศไทย ปัจจุบันน่าจะมีกว่า 250 สาขา แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้น้องใหม่จากจีนเข้ามาเปิดตลาดในไทยอีกแบรนด์ คือ Bing Chun (ปิงชุน) เป็นแบรนด์ที่ก่อตั้งในมณฑลเหอหนาน มีมากกว่า 3,000 สาขาทั่วเอเชีย เปิดสาขาแรกที่แฟชั่นไอส์แลนด์ โมเดลร้านแบบเดียวกับ MIXUE แต่โทนสีฟ้าสดใส

หากถามว่าซื้อแฟรนไชส์ Mixue vs Bing Chun แบรนด์ไหนน่าสนใจมากกว่ากัน ขึ้นอยู่ความชอบของแต่ละคน ต้องนำองค์ประกอบต่างๆ มาวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ เพราะทั้ง 2 แบรนด์มีสินค้าและฐานกลุ่มลูกค้าเหมือนกัน

ก่อนอื่นมาดูก่อนว่าเปิดร้าน MIXUE ใช้เงินลงทุนทั้งหมดเท่าไหร่ และคืนทุนได้เมื่อไหร่

#ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน MIXUE

Mixue vs Bing Chun

  • ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี (3 ปี = 150,000 บาท)
  • ค่าจัดการ 25,000 บาท/ปี (3 ปี = 75,000 บาท)
  • ค่าอบรม 10,000 บาท/ปี (3 ปี = 30,000 บาท)
  • ค่าค้ำประกัน 100,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
  • ค่าสำรวจพื้นที่ กรุงเทพฯ 2,500 บาท/ครั้ง, ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ครั้ง
  • สมมติค่าก่อสร้าง+ออกแบบตกแต่งร้านประมาณ 500,000 บาท

#รวมเงินลงทุนเปิดร้านทั้งหมด 1,557,500 บาท

Mixue vs Bing Chun

#สมมติให้ยอดขายของ MIXUE เป็น 20,000 บาทต่อวัน เพราะแบรนด์มีชื่อเสียง ลูกค้าอาจใช้บริการเยอะ

  • ยอดขาย 20,000 บาทต่อวัน
  • หรือ 600,000 บาทต่อเดือน
  • คิดกำไรขั้นต้น 40%
  • เหลือรายได้ 240,000 บาทต่อเดือน

MIXUE vs 7-Eleven

#ต้นทุนคงที่

  • ค่าเช่าประมาณ 50,000 บาท
  • ค่าน้ำ+ไฟ 10,000 บาท
  • จ้างพนักงาน 4 คน เงินเดือนเฉลี่ยคนละ 13,000 บาท (52,000 บาท)

#รวมต้นทุนคงที่ 112,000 บาทต่อเดือน
#รายได้ต่อเดือน 240,000 บาท – ต้นทุนคงที่ 112,000 บาท
#เหลือกำไร 128,000 บาทต่อเดือน (กำไรที่ได้ยังไม่ได้หักค่าภาษีป้าย+ภาษีโรงเรือน+ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์)

สรุปก็คือ เปิดร้าน MIXUE ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,557,500 บาท ระยะสัญญา 3 ปี

ระยะเวลาคืนทุน 1,557,500 บาท หารด้วยกำไรสุทธิ 128,000 บาท = 12-13 ดือน


#ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน Bing Chun

Mixue vs Bing Chun

เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยอย่างเงียบๆ สำหรับแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน ก่อตั้งในปี 2555 ที่มณฑลเหอหนาน ก่อนขยายสาขาไปยังมณฑลต่างๆ เช่น เหอเป่ย ซานตง ซานซี ส่านซี อานฮุย กุ้ยโจว ยูนนาน เหลียวหนิง ซินเจียง และเมืองอื่นๆ มีสาขามากกว่า 3,000 สาขาทั่วเอเชีย ทั้งในอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว ฯลฯ

สำหรับในประเทศไทยนั้น Bing Chun เข้ามาเปิดตลาดเมื่อช่วงเดือน ส.ค. 2567 ภายใต้การบริหารของบริษัท ปิงฉุน ฟู้ด แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสาขาแรกที่แฟชั่นไอส์แลนด์ ใกล้กับบันไดเลื่อนชั้น 3 และเปิดเพิ่มอีก 3 สาขา ได้แก่ อุดรธานี (ตรงข้าง รพ.กรุงเทพอุดร), เชียงใหม่ (เข้าซอยยูนิลอฟ) และ ห้างยูเนี่ยนมอลล์ กรุงเทพฯ ติดกับร้าน Mixue

Bing Chun ใช้ตัวมาสคอตเป็น “วัวกระทิง” การออกแบบร้านจะใช้โทนสีฟ้า โมเดลร้านก็จะเหมือนกับ MIXUE, Wedrink และ Ai-cha สไตล์เดียวกันเลย เมนูไอศกรีมและชาผลไม้ราคาเริ่มต้น 15-50 บาท แต่หลายๆ เมนูจะไม่เหมือนกันเลยทีเดียว อย่างเมนูน้ำมะนาวที่ร้าน Bing Chun จะใช้มะนาวสีเขียว ไม่เหมือน Mixue กับ Ai-Cha ใช้สีเหลือง ราคา 20 บาท

เมนูชานมร้าน Bing Chun มีชานม 4 รส คือ ชานมรสดั้งเดิม ชานมวุ้นมะพร้าว ชานมลิ้นจี่มะลิ และชานมไข่มุกค่ะ ราคาเริ่มต้น ที่ 35 – 50 บาท ส่วนเมนูไอศกรีมทางร้าน Bing Chun มี 2 รสชาติ คือ วานิลลา และ ชาเขียว เริ่มต้น 15 บาท

รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ Bing Chun

Mixue vs Bing Chun

ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเปิดร้าน Bing Chun จะคล้ายๆ กับ Mixue, Wedrink และ Ai-Cha แต่การเปิดแฟรนไชส์ในประเทสไทยของ Bing Chun ยังไม่มีการรายงานตัวเลขในการลงทุนที่ชัดเจน ขออ้างอิงตัวเลขการลงทุนในประเทศจีน ดังนี้

  • ค่าแฟรนไชส์ 16,800 หยวน (78,898.86 บาท)
  • ค่าจัดการ 3,000 หยวน/ปี (14,075.72 บาท/ปี)
  • ค่าอบรม 2,000 หยวน (9,391.86 บาท)
  • ค่าค้ำประกัน 10,000 หยวน (46,964.27 บาท)
  • ค่าอุปกรณ์ 60,000 หยวน (281,439.48 บาท)
  • ค่าวัตถุดิบ 23,000 หยวน (107,907.35 บาท)
  • ค่าสำรวจพื้นที่ 1,000 หยวน (4,690.52 บาท)

#รวมงบลงทุนประมาณ 130,000 หยวน หรือ 609,948.01 บาท
(ยังไม่รวมค่าก่อสร้าง+ตกแต่งร้านราวๆ 4-8 แสน)

(อ้างอิงอัตราแลกเงินวันที่ 3 ต.ค. 2567)

สรุปก็คือ ถ้าถามว่าเปิดแฟรนไชส์ Mixue กับ Bing Chun แบรนด์ไหนคุ้มค่า น่าลงทุนมากกว่ากัน ต้องบอกก่อนว่าแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน เพราะทั้ง 2 แบรนด์จะมีค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านเท่าๆ กัน

รูปแบบโมเดลร้านเหมือนกัน ราคาสินค้าในร้าน 15-50 บาทเหมือนกัน รสชาติของเมนูน่าจะใกล้เคียงกัน อีกทั้งบางสาขาอย่างในห้างยูเนี่ยนมอลล์เปิดติดกันอีกต่างหาก แต่ถ้าเลือกแบรนด์มีชื่อเสียง MIXUE จะดีกว่า แต่ถ้าเลือกแบรนด์น้องใหม่ งบลงทุนต่ำ Bing Chun น่าจะเหมาะสมกว่า

ซื้อแฟรนไชส์หลายแบรนด์

ข้อมูลจาก http://www.bccy.cn/join

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช