เปิดอก SBP แฟรนไชส์ 7-11 เจ้าของทำเล ได้มากกว่าที่คิด จริง?

หนึ่งในธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนไทยหลายคนให้ความสนใจลงทุน นั่นคือ 7-Eleven แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้ออันดับ 1 ของเมืองไทย ปัจจุบันมีจำนวนสาขา 14,854 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นสาขาบริษัท 51% อีก 49% เป็นสาขาของ Store Business Partner กับ Sub-Area Franchise รับสิทธิ์ช่วงอาณาเขตในบางพื้นที่ต่างจังหวัด

SBP แฟรนไชส์ 7-11

สัดส่วนรายได้ของร้าน 7-Eleven แบ่งออกเป็นสินค้าอุปโภค 24% ที่เหลือ 76% เป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม แต่ละสาขาของ 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 86,656 บาท ยอดซื้อต่อบิล 85 บาท มีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน 1,007 คน ถือเป็นยอดขายต่อวันที่ธรรมดา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนไทยให้ความสนใจลงทุนแฟรนไชส์ 7-Eleven เป็นจำนวนมาก

SBP แฟรนไชส์ 7-11

ภาพจาก www.facebook.com/SMEnetworkingThailand

หนึ่งในผู้ลงทุนเปิดร้านเซเว่น หรือ Store Business Partner คือ คุณโอ หรือ “โค้ชโอ – วีระ เจียรนัยพานิชย์” ที่ปรึกษาด้านการตลาดและสร้างเครือข่ายธุรกิจ, LINE Certified coach 2023 และ เจ้าของเพจ “SME Networking Thailand” เตรียมจะเปิดร้าน 7-Eleven สาขาแรกในช่วงเดือนธันวาคม 2567 ที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ บ้านเกิดของคุณโอเอง

คุณโอ เกิดในครอบครัวค้าขายในต่างจังหวัด มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานจัดซื้อ และการตลาดธุรกิจค้าปลีกมาก่อน ทั้งในเครือเซ็นทรัลและ 7-Eleven เรียกได้ว่ามีประสบการณ์และคุ้นเคยกับธุรกิจร้านค้าค้าปลีกพอสมควร

จุดเริ่มเป็น SBP

SBP แฟรนไชส์ 7-11

ภาพจาก www.facebook.com/oweera

จุดเริ่มต้นในการเป็น Store Business Partner คุณโอมองว่าพื้นที่ของครอบครัวตนเองน่าจะเปิดร้าน 7-Eleven ได้ จึงได้นำเสนอพื้นที่ให้กับทาง 7-Eleven ดูว่าสามารถเปิดร้าน 7-Eleven ได้หรือไม่ แต่ทาง 7-Eleven บอกทำได้

แต่ไม่ให้สิทธิ์คุณโอทำ เพราะทาง 7-Eleven เขาจะให้สิทธิ์ Store Business Partner เจ้าเดิมก่อน กลายเป็นว่าจากจะได้เปิดร้าน 7-Eleven มาเป็นผู้ให้เช่าพื้นที่เปิดร้านแทน โดยได้ค่าเช่าจากเซเว่นเดือนละ 100,000 บาท

ต่อจากนั้นไม่นาน คุณโอได้นำเสนอพื้นที่ใหม่ให้กับทาง 7-Eleven อีกครั้ง ซึ่งเป็นที่ของตัวเอง พอทีมงานเซเว่นมาดูพื้นที่จริง ได้วิเคราะห์จำนวนประชากรในแต่ละช่วงเวลา สภาพแวดล้อมต่างๆ รอบข้าง ติดโรงเรียน ธนาคาร ตลาดสด ปรากฏว่าผ่านการพิจารณา โดยวิเคราะห์ว่าพื้นที่ตรงนั้นสามารถทำยอดขายให้กับร้าน 7-Eleven ไม่ต่ำกว่า 70,000 บาทต่อวัน

SBP แฟรนไชส์ 7-11

ภาพจาก www.facebook.com/oweera

คุณโอเป็น Store Business Partner รูปแบบที่ 2 คือ ใช้เงินลงทุน 3.9 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 10 ปี ได้รับส่วนแบ่งกำไร 54% หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้าน ขนาดพื้นที่สำหรับเปิดร้าน 7-Eleven ประมาณ 822.5 ตร.ม.

ซึ่งคุณโอได้รับค่าเช่าจาก 7-Eleven เดือนละ 60,000 บาท ผู้ลงทุนไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และการก่อสร้างออกแบบตกแต่งร้าน ทางซีพีออลล์เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด รวมถึงค่าเช่า ภาษีป้าย ภาษีที่ดิน และอื่นๆ

การบริการจัดการร้าน 7-Eleven ของคุณโอ จะใช้พนักงาน 12 คน รวมคุณโอ เป็น 13 คน หมุนเวียน 3 กะ ซึ่งคุณโอคาดว่าแต่ละเดือนจะเหลือกำไร 100,000 บาท หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ คาดว่าคืนทุนในเวลา 3-4 ปี จากลงทุน 3.9 ล้านบาท

คุณโอ วางแผนการเป็น Store Business Partner ของ 7-Eleven จำนวน 5 สาขาในจังหวัดชัยภูมิ สาขาต่อไปจะเปิดที่อำเภออื่น ตอนนี้ในอำเภอภูเขียวมี 3 ร้าน ที่อำเภออื่นเป็นของซีพีออลล์เปิดอยู่แล้ว อาจจะไปสวมสิทธิ์ แต่ต้องเสียตังเพิ่ม

SBP แฟรนไชส์ 7-11

ภาพจาก www.facebook.com/oweera

คุณโอ บอกว่า ขั้นตอนการเป็น SBP แฟรนไชส์ 7-11 กว่าจะได้สิทธิใช้เวลาเป็นปี เริ่มจากนำเสนอพื้นที่ ถ้าเขาประเมินว่าได้ เขาต้องเช็คก่อนว่าคนในพื้นที่หรือร้านเดิมทำไหม แต่พื้นที่แห่งใหม่ของตัวเองและขอทำด้วย จึงได้สิทธิเร็วขึ้น

สุดท้าย คุณโอบอกเหตุผลที่เลือก 7-Eleven เพราะเป็นร้านค้าปลีกที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าแบรนด์ร้านค้าปลีกอื่นๆ ที่เปิดแข่งกันในตลาดเมืองไทยตอนนี้ ยิ่งมาเห็นตอนอบรม ยิ่งเชื่อมั่นระบบหลังบ้านของ 7-Eleven ที่มีความแข่งแกร่ง สามารถสั่งสินค้าได้ทุกวัน ไม่ต้องสต็อกสินค้าใดๆ เลย ที่สำคัญ คือ คนต่างจังหวัดชอบเข้า 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช