เปิดสูตรคิดต้นทุน ร้านทำเล็บ ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง สุภาษิตนี้สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจความสวยความงาม ที่แม้จะไม่ใช่สิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกคน แต่สำหรับคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามทั้งหลาย เรื่องนี้ถือว่ายอมกันไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องให้ตัวเองดูดี
ธุรกิจประเภท ร้านทำเล็บ หรือเสริมสวยจึงยังเติบโตโดยมีกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ให้การสนับสนุน ซึ่งการจะถามว่าวิธีเปิดร้านเสริมความงามให้ได้กำไรต้องทำอย่างๆไร สั้นๆ ง่ายๆ คือ “บริการดี คุณภาพดี ราคาเหมาะสม” รวมถึงถ้ามีทำเลในย่านชุมชน โอกาสกำไรก็มีมาก
www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนมองโอกาสของธุรกิจนี้ยังเติบโตได้สดใส แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าราคาในการให้บริการของแต่ละร้านที่ไม่เท่ากันมันเกิดจากปัจจัยอะไร ทั้ง ๆที่ก็เป็นเรื่องการทาสีเล็บ เพ้นท์เล็บ เหมือนๆ กันแต่ทำไมร้านนี้ตั้งราคาแบบนี้ ในขณะบางร้านตั้งราคาอีกแบบ อะไรคือตัวแปรของราคาเหล่านี้
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจของรูปแบบการลงทุนของ ร้านทำเล็บ ที่มี 3 รูปแบบคือ
1.ร้านขนาดเล็ก
เป็นร้านสำหรับการเริ่มใหม่และผู้ลงทุนเน้นหาประสบการณ์ให้มากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นร้านเปิดตามตลาดนัด ตามชุมชนทั่วไป หรือเปิดแบบเคลื่อนที่ก็ได้ บริการในร้านก็จะมีไม่หลากหลายส่วนใหญ่เป็นการเพ้นท์เล็บ ต่อเล็บ ทาสีเล็บ ค่าบริการก็ไม่สูง ประมาณ 60-200 บาท
2.ร้านขนาดกลาง
ภาพจาก pixabay.com
พื้นที่ประมาณ 4×4 เมตร อาจใช้พื้นที่ในอาคารพาณิชย์ หรืออาคารเช่าในตลาดนัดขนาดใหญ่ และจะมีการตกแต่งให้สวยงามมากขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้ลูกค้ามากขึ้น มีบริการที่หลากหลายและรูปแบบของการเพ้นท์เล็บ ทำเล็บจะมีลวดลายให้เลือกมากขึ้น ค่าบริการก็จะสูงขึ้น เฉลี่ยประมาณครั้งละ 80-400 บาท
3.ร้านขนาดใหญ่
จัดเป็นธุรกิจครบวงจรที่อาจจะมีบริการเสริมความงามอื่นๆเข้ามาเสริมเป็นร้านเสริมสวยขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีพื้นที่ประมาณ 30-40 ตารางเมตร ส่วนใหญ่อยู่ในห้างสรรพสินค้า หรือเป็นร้านนอกห้างแต่ก็จะต้องมีการตกแต่งแบบพรีเมี่ยม ค่าบริการของร้านในลักษณะนี้ก็แพงมากขึ้น เฉลี่ยต่อคนต่อครั้งประมาณ 500 – 2,000 บาท
อุปกรณ์พื้นฐานของการเปิดร้านทำเล็บ
ภาพจาก pixabay.com
ลักษณะบริการของร้านเพ้นท์เล็บ ประกอบไปด้วย เพ้นท์เล็บด้วยปลายพู่กัน เพ้นท์เล็บลายน้ำ เพ้นท์เล็บแบบใช้สติ๊กเกอร์ติด เพ้นท์เล็บแบบใช้เครื่องออกแบบ เพ้นท์เล็บแบบปั้นนูน ซึ่งบางทีการเพ้นท์เล็บอย่างเดียวอาจเป็นตัวเลือกที่น้อยไป ร้านเพ้นท์เล็บบางทีต้องหาตัวเลือกมาเสริมเช่น สปา นวดมือ นวดเท้า หรือบางร้านครบวงจรก็มีทำผม ทำเล็บ เต็มที่กันไปเลย ซึ่งในกรณีที่เป็นร้านเพ้นท์เล็บธรรมดา อุปกรณ์พื้นฐานที่ควรมีคือ
- พู่กันเพ้นท์เล็บ (ซื้อแบบเต็มรูปแบบ 1 ชุดจะมี 15 ชิ้น ซึ่งมีรูปแบบและขนาดต่างๆกันเพื่อใช้งานได้หลากหลาย)
- สีอะครีลิค ที่มีให้เลือกหลายยี่ห้อ 1 กล่องจะมี 12 สี
- น้ำยาทาเล็บ มีสีพื้นฐาน 4 สีคือ ชมพู แดง ดำ และขาว น้ำยาทาเล็บที่ใช้ควรเป็นแบบไร้สารเคมีเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าแต่ก็อาจทำให้มีต้นทุนตรงนี้สูงขึ้นด้วย
- น้ำยาเคลือเล็บ ใช้ตอนทาสีเล็บเสร็จ มีทั้งแบบสีใสและแบบมันวาว
- กากเพชรประดับ จะมีให้เลือกกว่า 50 สี ชนิดของกากเพชรก็แตกต่างกันไป ใช้เพื่อทำให้เล็บสวยงามยิ่งขึ้นอุปกรณ์ทั่วไป เช่น
- จานสีเพ้นท์เล็บ น้ำยาทำความสะอาดเล็บ ตะไบเล็บ แปรง คีมแต่งเล็บ สำลี เป็นต้น
ควรตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้ร้านเจ๊ง
ภาพจาก pixabay.com
การเปิดร้านเพ้นท์เล็บ จำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในงานที่ทำเป็นอย่างดี อัตราค่าบริการส่วนใหญ่หากเป็นร้านธรรมดาไม่ติดแอร์ จะราคาจะไม่เกิน 100 บาท หากเป็นห้องติดแอร์เริ่มต้นที่ 250 บาท และถ้าเป็นร้านบนห้างจะเริ่มต้นที่ 350 บาท ขึ้นไป ส่วนราคาสูงสุดที่ให้บริการจะอยู่ระหว่าง 3,000-4,000 บาท
ซึ่งการกำหนดราคาใดๆ ก็ตาม อาจจะมองว่าขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการให้บริการ เช่นแค่ตัดเล็บ หรือแต่งเล็บนิดหน่อยราคาก็อาจจะไม่แพง แต่ถ้าทำเล็บและเลือกลวดลายยากๆ หรืออาจมีการต่อเล็บเพิ่มด้วย ราคาในการให้บริการก็จะสูงขึ้น และเมื่อนำมารวบรัดเป็นสูตรในการคิดราคาเบื้องต้นได้ดังนี้
กำไร=(ต้นทุนคงทื+ต้นทุนผันแปร)/ปริมาณลูกค้าโดยเฉลี่ย
คำว่าต้นทุนคงที่คือ ค่าเช่า ค่าจ้างลูกน้อง ซึ่งถือเป็นรายจ่ายชัดเจนว่าแต่ละเดือนเราต้องเสียเท่าไหร่ รวมกับต้นทุนผันแปร ได้แก่ อุปกรณ์วัตถุดิบที่ต้องซื้อมาใช้ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
ยิ่งมีการใช้อุปกรณ์และวัสดุคุณภาพดี ราคาของต้นทุนผันแปรก็ต้องมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้คำนวณกำไรได้ง่ายขึ้น ก็ต้องประมาณการได้ว่าเราจะมีลูกค้าประจำเท่าไหร่ รวมกับลูกค้าที่ผ่านไปผ่านมา เฉลี่ยต่อเดือนเราจะมีลูกค้าเท่าไหร่ ไม่ใช่จำนวนที่แน่นอนแต่เป็นจำนวนประมาณการเพื่อให้รู้ว่าต้นทุนรวมที่มีกับปริมาณลูกค้าโดยเฉลี่ยที่มีจะมองเห็นค่าบริการต่อครั้งที่ควรจะเป็น
ภาพจาก pixabay.com
ซึ่งแน่นอนว่าราคาที่ว่านี้ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องใช้กับสินค้าและบริการที่มีในร้านได้ทั้งหมด เพราะการทำเล็บ เพ้นท์เล็บ มีบริการที่หลากหลายแตกต่างกันตามความยากง่าย การคำนวณนี้จะทำให้เรารู้กำไรต่อเดือนว่าจะอยู่ที่ประมาณไหน
ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถควบคุมต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร และทำให้เรารู้ว่าจำนวนลูกค้าที่เรามีควรเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และวัตถุดิบต่อเดือนประมาณเท่าไหร่เพื่อไม่ให้แบกรับภาระต้นทุนที่มากเกินไปจะทำให้ร้านทำเล็บมีกำไรได้มากขึ้นด้วย
เราจะเห็นได้ว่าร้านเพ้นท์เล็บยิ่งมีขนาดใหญ่ราคาก็ยิ่งสูง เพราะคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์นั้นมีต้นทุนที่สูง รวมถึงค่าเช่าในทำเลเหล่านี้ก็ย่อมสูงกว่าร้านตามตลาดนัด ราคาในการให้บริการก็ต้องสอดคล้องกับต้นทุนที่เกิดขึ้น ซึ่งหากมีลูกค้าจำนวนมาก ร้านทำเล็บอาจมีการจัดโปรลดราคาเพื่อเป็นการดึงดูดใจลูกค้าและถัวเฉลี่ยราคาให้ดูน่าสนใจ ในขณะที่กำไรของร้านก็อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงลดลงมากเกินไปด้วย
***สูตรการคิดคำนวณราคาดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)