เปิดสูตร “เงินทุนหมุนเวียน” คำนวณให้ดี ร้านจะได้ไม่เจ๊ง!
ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้ ถึงขนาดเจ๊งต้องเลิกกิจการ ในแต่ละธุรกิจก็มีเหตุผลต่างๆ กันไปถ้าหากเทียบเป็นสัดส่วนพบว่า
- 42% เจ๊งเพราะสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
- 29% เจ๊งเพราะเงินไม่พอหรือขาดเงินทุนทำธุรกิจ
- 19% เจ๊งเพราะสู้แบรนด์คู่แข่งไม่ได้
- 14% เจ๊งเพราะการตลาดยังไม่ดีพอ
แต่ใช่ว่าธุรกิจจะอยู่ดีๆ ก็เจ๊งไปในทันที มันต้องมีสัญญาณบอกล่วงหน้า ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจขาดแคลนกระแสเงินสด , เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่าต้นทุนคงที่ , ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา เป็นต้น
บางคนมีคำถามในใจว่า “เงินทุนหมุนเวียน” มีผลทำให้ธุรกิจเจ๊งได้จริงๆใช่ไหม?
คำตอบก็คือ “ใช่” และเป็นปัญหาที่ต้องเกิดร่วมด้วยกับอีกหลายปัจจัย ที่ส่งผลต่อการทำธุรกิจได้อย่างชัดเจน
ในความหมายของคำว่า “เงินทุนหมุนเวียน” คือเงินที่ “ต้องกันเอาไว้” สำหรับใช้จ่ายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบ , ค่าจ้าง , ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ รวมไปถึงเงินที่ใช้สำหรับชำระหนี้ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายต่อเนื่องก่อนที่ธุรกิจจะมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ หรือรับชำระเงินจากลูกหนี้การค้า (โดยไม่นับรวมถึงการซื้อสินทรัพย์ เช่น อาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น) โดยมีสูตรในการคำนวณคือ
เงินทุนหมุนเวียน = ลูกหนี้การค้า + (สต๊อกวัตถุดิบ + งานระหว่างทำ + สต๊อกสินค้าสำเร็จรูป) – เจ้าหนี้การค้า
การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ในกิจการ จะเกี่ยวข้องกับการจัดการสัดส่วนของ สินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียนของกิจการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ของกิจการที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือภายใน 1 ปี ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร สินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้า เป็นต้น มักเรียกสินทรัพย์เหล่านี้ว่า เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง
หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินที่มีระยะเวลาในการชำระคืนภายใน 1 ปี เช่น เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร หรือ OD และเงินกู้ยืมระยะสั้น เป็นต้น
เพื่อให้เห็นภาพลองยกตัวอย่างร้านขายลูกชิ้นมีวัตถุดิบ เช่น ลูกชิ้น, ไม้, เครื่องปรุง เป็นต้น โดยต้องเตรียมซื้อวัตถุดิบไว้ก่อนแล้วรอขายในวันถัดไป หรือใช้เวลาประมาณ 1 วันจึงได้รับเงินจากการขายสินค้า
หากกิจการมียอดขายจำนวน 3,000 บาท/วัน มีต้นทุนวัตถุดิบประมาณการร้อยละ 50 ของยอดขาย
แสดงว่า กิจการต้องซื้อวัตถุดิบจำนวน 1,500 บาท/วัน แต่กว่ากิจการจะได้รับเงินสดเป็นค่าหมูปิ้งทั้งหมดก็อีก 1 วัน
เงินทุนหมุนเวียน = 0 (ลูกหนี้การค้า) + 1,500 (สต็อคสินค้า) – 0 (เจ้าหนี้การค้า) = 1,500 บาท
จะเห็นได้ว่า เมื่อพิจารณาเฉพาะวัตถุดิบ ร้านค้าจะมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อยที่สุดจำนวน 1,500 บาท
ดังนั้น หากเจ้าของร้านมีเงินทุนของตัวเองจำนวน 1,500 บาท แล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่น เช่น เจ้าหนี้นอกระบบ สถาบันการเงิน ธนาคาร เป็นต้น
ยิ่งเป็นกิจการที่ใหญ่ขึ้น สัดส่วนในการคำนวณก็จะยุ่งยากมากขึ้นเพราะมีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย แต่การหา “เงินทุนหมุนเวียน” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนลงทุนรู้ว่าจะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ หากทราบดีแล้วการบริหารเงินด้านอื่นๆ ก็จะง่ายขึ้น มองเห็นต้นทุน กำไร ได้ง่ายขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)