เปิดสูตร! ออกบูธ ทำไงให้กำไรทุกครั้ง
การเข้าร่วมอีเว้นท์ หรือ ออกบูธ งานต่างๆ มีข้อดีคือการทำให้สินค้าเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งแต่ละปีมีหลายอีเว้นท์ที่จัดในหลายพื้นที่ทั้งงานขนาดเล็ก ไปจนถึงงานใหญ่ระดับประเทศ
แต่การจะเข้าร่วมงานไหนอย่างไรก็ต้องดูให้เหมาะสมกับ ธีมของแต่ละงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้การเข้าร่วมงานออกบูธแต่ละครั้งจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมหลายอย่าง เช่น
- เตรียมความพร้อมทีมขาย
- วางแผนสำหรับการจัดพื้นที่บูธให้มีความเหมาะสม
- การประชาสัมพันธ์
- ค่าใช้จ่ายในการออกบูธ
- การเตรียมวัตถุดิบ / สินค้าให้เพียงพอสำหรับการขาย
ซึ่งแน่นอนว่าทุกครั้งที่ร่วมออกบูธเป้าหมายที่ควบคู่กับให้คนรู้จักคือ “การสร้างรายได้” แต่ปัญหาที่เคยได้ยินมาบางครั้งก็ขาดทุน ทีนี้ก็ต้องมาประเมินกันว่าอะไรคือปัญหาที่ทำให้ทุนหายกำไรหด และจากข้อมูลที่เราเคยสอบถามคนร่วมออกบูธในหลายๆ งาน
บอกว่างานที่ไปร่วมแล้วขาดทุน เหตุผลส่วนใหญ่เพราะการประชาสัมพันธ์ของผู้จัดไม่ดี ดึงคนเข้ามาร่วมงานไม่ได้ หรือบางทีสถานที่ก็ไม่ตรงปก ไม่เหมือนกับที่นำเสนอไว้ รวมถึงไปสภาพอากาศก็มีผลต่อยอดขายของการออกบูธในแต่ละครั้งเช่นกัน
หากไปดูข้อมูลว่าการร่วมออกบูธแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ยกตัวอย่างงานอีเว้นท์บางงานที่จัดในห้างสรรพสินค้าหรือลานกิจกรรม จะมีพื้นที่ให้ 4 ตรม. ค่าใช้จ่ายวันละ 1,500 – 2,000 บาท ซึ่งราคานี้บางทีก็รวมค่าไฟ + โต๊ะ + ผ้าคลุมและเก้าอี้ + โครงสร้างบูธที่จัดเตรียมไว้ให้ เป็นต้น
หรือบางงานราคาก็ขยับไปเป็น 2,000 – 2,500 บาท ต่อวัน ก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดและสถานที่ในแต่ละงานเป็นสำคัญด้วย หรือถ้าไปดูงานใหญ่ระดับมหกรรมที่จัดตามไบเทคบางนา หรือว่า เมืองทองธานี
ราคารวมออกบูธแต่ละครั้งก็แตะหลัก 20,000 -30,000 (ขึ้นอยู่กับงาน) แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่มา ออกบูธ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายบางทีก็มีที่ได้ออกบูธฟรี แต่ต้องมาในนามของหน่วยงานใดสักแห่ง เงื่อนไขต่าง ๆในการออกบูธแต่ละครั้งว่าต้องเสียเท่าไหร่ ยังไง หรือไม่เสียเงินเลยก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง
แต่ที่หลายคนอาจจะอยากรู้มากที่สุดคือถ้าเข้าร่วมออกบูธใน 1 งาน โอกาสกำไรหรือขาดทุนนั้นมากน้อยแค่ไหน? ถ้าตัดเรื่องยอดผู้คนที่เข้าชมงานที่เป็นหน้าที่ของผู้จัดต้องประชาสัมพันธ์ และค่าเช่าในการออกบูธแต่ละครั้ง
ก็ยังมีต้นทุนอีกหลายอย่างที่ต้องนำมาคำนวณ เช่น
- ออกบูธกี่วัน
- ตั้งเป้าว่าควรขายได้วันละเท่าไหร่
- ต้นทุนวัตถุดิบ
- ค่าน้ำค่าไฟค่าแรงงาน
เนื่องจากต้นทุนของสินค้าแต่ละประเภทในการออกบูธไม่เท่ากัน ยิ่งเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ต้องคำนวณวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการขาย ถ้าสต็อคมากไปขายไม่หมดในแต่ละวันก็เป็นต้นทุนจมที่ทำให้เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย หรือถ้าวัตถุดิบมีน้อยไปไม่เพียงพอกับการขายก็กระทบภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เช่นกัน ดังนั้นการติดต่อซัพพลายเออร์ประสานงานเรื่องวัตถุดิบให้มีอย่างเพียงพอจึงสำคัญมาก
ทั้งนี้ใน ออกบูธ แต่ละครั้งจะมีต้นทุนในหลายส่วนมาเกี่ยวข้อง การคำนวณว่าออกบูธแต่ละครั้งมีกำไรหรือขาดทุนสามารถใช้ Excel เป็นตัวช่วยในการคำนวณได้ แต่ปัญหาคือหลายคนใช้โปรแกรมนี้ไม่เป็น ไม่รู้สูตรลัด เราจึงได้รวบรวมมาให้ดูกันเบื้องต้น 4 สูตรคือ
1.สูตรคิดรายรับ-รายจ่าย
สูตรคือ (เงินตั้งต้น + รายรับ) – รายจ่าย = เงินคงเหลือ
*เงินตั้งต้น คือ เงินต้นทุนก้อนแรกที่ร้านค้าใช้เพื่อดำเนินกิจการ
ตัวอย่างการใช้ = (D4+E4)-F4 = เงินคงเหลือ
2.สูตรคิดค่าคอมมิชชัน
วิธีคิดง่ายก็มาก ๆ โดยการเอาราคาสินค้าคูณกับเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชัน ก็จะได้จำนวนค่าคอมมิชชันของคนขาย
*ค่าคอมมิชชัน คือ ส่วนแบ่งทางการขายที่คำนวณจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายสินค้า
สูตรคือ ราคาสินค้า x ค่าคอมมิชชัน % = เงินค่าคอมมิชชัน
ตัวอย่างการใช้ = B2*C2% = เงินค่าคอมมิชชัน
3.สูตรเทียบยอดขายกับค่าใช้จ่าย
เพื่อให้รู้ว่ายอดค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในแต่ละวันเป็นเท่าไหร่ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของยอดขาย ณ ขณะนั้น
สูตรคือ (ค่าใช้จ่าย / ยอดขาย) x 100 = ค่าใช้จ่าย (x% ของยอดขาย)
ตัวอย่างการใช้ = (C2/B2)*100 = ค่าใช้จ่าย (x% ของยอดขาย)
4.สูตรคิดส่วนลดสินค้า
ในกรณีที่ออกบูธซึ่งต้องมีการจัดโปรโมชันดึงดูดลูกค้าร่วมด้วย การลดราคาจึงเป็นสิ่งที่นำมาใช้ ก็มีสูตร Excel ที่ใช้คำนวณได้
สูตรคือ ราคาเต็ม – (ราคาเต็ม x ส่วนลด %) = ราคาหลังหักส่วนลด
ตัวอย่างการใช้ = B2-(B2*C2) = ราคาหลังหักส่วนลด
ทั้งนี้การใช้ Excel เข้ามาช่วยในการคำนวณสำหรับผู้ที่ใช้งานได้ประจำจะทราบดีว่าประหยัดเวลาได้มาก และหลายคนที่ไม่ถนัดก็อาจจะซื้อโปรแกรม Excel ที่เป็นสูตรสำเร็จไม่ต้องมานั่งใส่สูตร เพียงแค่กรอกตัวเลขในช่องที่ต้องการ ระบบก็จะคำนวณตัวเลขออกมาให้อย่างชัดเจน ก็ประหยัดเวลาได้มากขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)