เปิดสูตร “Frequency” ต้องเห็นโฆษณากี่ครั้ง! ถึงจะยอมซื้อ

หลักการตลาดพูดถึงการโฆษณาสินค้าว่าต้องนำเสนอข้อมูลที่จูงใจผู้บริโภค ซึ่งก็มีรูปแบบในการนำเสนอที่หลากหลายตามไอเดียของแต่ละแบรนด์ บางครั้งคนเราก็ตัดสินใจ “ซื้อสินค้า” เมื่อเห็นจากโฆษณา

ถ้าไม่ใช่สินค้าที่กำลังสนใจหรืออยากได้พอดี ส่วนใหญ่จะไม่ตัดสินใจซื้อเพียงเพราะเห็นจากโฆษณาในครั้งแรก มิหนำซ้ำยิ่งเห็นโฆษณามากๆ กลายเป็นรำคาญซะมากกว่าอีกด้วย

อย่างใน Facebook มักจะป้อนโฆษณาให้เราเห็นทุกๆ 20 ฟีดที่เลื่อนผ่าน ดังนั้นเราแทบจะเห็นโฆษณา 1 ชิ้นทุกๆ 1 นาทีก็ว่าได้

Frequency

จึงมีคำถามน่าสนใจว่า “คนเราต้องเห็นโฆษณาสักกี่ครั้ง” ถึงจะรู้สึกว่าอยากซื้อสินค้านั้นๆ ในทฤษฏีการตลาดมีคำศัพท์น่าสนใจคือ Frequency ที่สื่อความหมายถึง ความถี่ที่คนคนหนึ่งสามารถเห็นโฆษณาซ้ำๆในช่วงเวลาหนึ่ง

มีสูตรคำนวณคือ Frequency = (จำนวนครั้งที่คนเห็นโฆษณา(Impression))/(จำนวนคนไม่ซ้ำกันที่เห็นโฆษณา (Reach))

ยกตัวอย่าง โฆษณาหนึ่งมีการมองเห็น (Impression) ทั้งหมด 3,000 ครั้ง

และมีคนเห็นโฆษณานี้แบบไม่นับซ้ำคนเดิม (Reach) ทั้งหมด 1,000 คน

เมื่อคิดตามสูตร Frequency=3,000/1,000 = 3 ครั้ง

Frequency

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าคนเห็นโฆษณาเรา 3 ครั้งแล้วเขาจะซื้อสินค้าทันที ยังมีตัวแปรอีกหลายปัจจัยที่มากำหนดความถี่ของโฆษณาที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็น ประเภทของสินค้า ธุรกิจ และอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ความน่าสนใจของโฆษณาเองด้วย

ถ้าอ้างอิงจากหนังสือ Successful Advertising มีข้อมูลน่าสนใจระบุว่า การอัดโฆษณาให้คนเห็นในครั้งที่ 1 – 4 คนจะยังไม่สนใจนักแต่ถ้าเห็นในครั้งที่ 5 ตรงนี้จะเริ่มสนใจและอ่านเนื้อหาในโฆษณามากขึ้น แต่ถ้าเห็นโฆษณาในครั้งที่ 6 – 8 จะเปลี่ยนเป็นความรำคาญเหมือนถูกบังคับให้ดู

แต่จะยังไม่ซื้อสินค้า ถ้าจะให้ถึงขั้นเห็นโฆษณาแล้วอยากได้สินค้านั้นจริง ต้องเห็นโฆษณาในครั้งที่ 10 ขึ้นไป หากถึงขั้นนี้ลูกค้ามักจะโน้มน้าวใจตัวเองให้คล้อยตามเนื้อหาในโฆษณาและจะลองซื้อสินค้ามาใช้

การที่คนเราไม่ตัดสินใจอะไรในทันที ต้องเห็นอะไรซ้ำๆ และใช้เวลาหลายครั้งกว่าจะให้ความสนใจ เนื่องจากว่าในแต่ละวันคนเรามีเรื่องต้องตัดสินใจมากกว่า 3,500 ครั้ง ซึ่งมีข้อมูลที่ระบุอีกว่า แค่เรื่องจะกินข้าวสักมื้อ สมองเรายังต้องมีการตัดสินใจกว่า 226 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ลือกว่าจะกินหรือจะยังไม่กิน แล้วถ้าจะกินจะเลือกกินอะไร จะกินร้านไหน จะต่อแถวมั้ย สั่งแล้วจะเพิ่มออปชั่นอะไรเพิ่มอีกหรือเปล่า

เช่น สั่งพิเศษ หรือไม่ใส่ผัก พอได้อาหารแล้วก็ต้องเลือกอีกว่าจะนั่งตรงไหน หรือปรุงอะไรเพิ่มไปบนอาหารที่ได้อีกไหม เป็นต้น กระบวนการคิดแบบเล็กๆน้อยที่เรารู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง ก็นับรวมเป็นหนึ่งในการตัดสินใจต่อวันของคนเรา

Frequency

ภาพจาก https://elements.envato.com/

ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสมองเราถูกออกแบบมาให้ขี้เกียจมากที่สุด และนั่นก็ส่งผลให้เราเกิดอาการไม่รับรู้ในสิ่งที่เราไม่ได้สนใจแม้ว่ามันจะอยู่ตรงหน้า ก็เลยเป็นที่มาของ Frequency ที่จำเป็นต้องมีความถี่ในการยิงโฆษณาเพื่อให้เข้าไปอยู่ในความรู้สึกของคนกลุ่มเป้าหมายได้

แต่ปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมาก พฤติกรรมผู้บริโภคก็มีความเปลี่ยนแปลงไป จำนวนครั้งที่ลูกค้าเห็นอาจไม่ต้องให้ถึง 10 ครั้ง แต่เพียง 7 ครั้ง ลูกค้าก็จะเริ่มจดจำแบรนด์ได้ ซึ่งสถิตินี้เป็นไปตามกฎที่เรียกว่า The Rule of 7

และในโฆษณาบางประเภท ความถี่ของโฆษณาที่เหมาะสมก็อาจจะต่ำกว่า 7 ครั้ง เรื่องนี้ก็ยังไปสัมพันธ์กับ ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ 1 คน หรือ Cost Per Acquisition (CPA) ซึ่งถ้าสูงเกินไป จนไม่คุ้มค่าที่จะเพิ่มความถี่ของโฆษณาขึ้นไปอีก

เรื่องเหล่านี้แม้จะเป็นทฤษฏีแต่ถ้ามองในหลักของความจริง การที่คนหนึ่งจำโฆษณาใดๆ ได้อาจไม่ใช่เพราะการมองเห็น แต่เพราะว่าเขาสนใจ ซึ่งแต่ละคนก็มีความสนใจแตกต่างไป ถ้าเป็นสินค้าแบบเดียวกัน แต่วิธีการนำเสนอแตกต่างกัน ผลลัพธ์ก็อาจแตกต่างกันได้ จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละแบรนด์ว่าจะใช้วิธีไหนในการนำเสนอเพื่อให้โฆษณามีประสิทธิภาพสู่สายตาลูกค้าได้มากที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด