เปิดร้านแฟรนไชส์กาแฟ Amazon ใช้เงินเท่าไหร่?

หลายคนอยากเปิดร้านแฟรนไชส์ Cafe Amazon เพราะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุนมากกว่าเปิดร้านแฟรนไชส์กาแฟแบรนด์อื่นๆ อีกทั้งเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ลงทุนแล้วมีตลาดและลูกค้ารองรับอย่างแน่นอน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมา Up date รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ Cafe Amazon ใช้เงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน ขั้นตอนการสมัครแฟรนไชส์ทำอย่างไร ใช้เวลานานเท่าไหร่ ติดตามได้จากบทความนี้ครับ

700k

ใช้เงินเท่าไหร่

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ https://www.cafe-amazon.com/franchise.aspx ได้แจ้งให้ผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ Cafe Amazon รับทราบเกี่ยวกับการสมัครแฟรนไชส์ Cafe Amazon อาจได้รับการพิจารณาล่าช้ากว่าเดิม

เนื่องจากอยู่ในช่วงการระบาดโควิด-19 ทำให้พนักงานของบริษัทฯ ต้องปฏิบัติงาน Work from Home และขอแจ้งเปลี่ยนช่องทางการติดต่อสอบถามเป็นทางอีเมล์เท่านั้น (franchiseamazon@pttor.com) โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ประการสำคัญ บริษัทฯ ไม่มีนโยบายดำเนินการผ่านตัวแทน นายหน้า หรือบุคคลกลางใดๆ หากพบบุคคลแอบอ้าง โปรดแจ้งมาที่อีเมล์ franchiseamazon@pttor.com เพื่อทางบริษัทฯ จะดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสมัครแฟรนไชส์ Cafe Amazon

7

  1. ผู้สมัครที่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ ต้องจดทะเบียนในนามนิติบุคคลเท่านั้น
  2. ผู้สมัครไม่เป็นบุคลากรของ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR)
  3. ขนาดพื้นที่นำเสนอให้บริษัทฯ พิจารณา ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 30 ตารางเมตร
  4. การพิจารณาพื้นที่จะพิจารณาตามลำดับก่อน-หลังที่มีการยื่นสมัคร แต่บริษัทฯ สามารถนำใบสมัครพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงมาพิจารณาก่อนตามที่เห็นสมควร
  5. กรณีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกัน บริษัทฯ จะพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดเป็นลำดับแรก โดยไม่พิจารณาลำดับคิวและหากพื้นที่นั้นมีผู้สมัครมากกว่า 1 คน บริษัทฯ จะพิจารณาตามลำดับก่อน-หลัง ที่มีการยื่นใบสมัคร
  6. ผู้สมัครต้องแนบแปลนพื้นที่ที่นำเสนอให้พิจารณา ภาพถ่าย ระบุตำแหน่งที่ตั้ง ละติจูด ลองจิจูด ให้ชัดเจนและถูกต้อง
  7. พื้นที่ต้องมีระยะห่างจากร้าน Cafe Amazon ที่เปิดดำเนินการอยู่ก่อน หรือได้รับสิทธิ์เปิดร้านแล้วแต่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด
  8. กรณีผู้สมัครเป็นผู้ประกอบการร้านที่เปิดดำเนินการร้าน Cafe Amazon อยู่ก่อนแล้ว บริษัทฯ จะพิจารณาคะแนน audit ร้านค้าเพิ่มเติม โดยคะแนน audit เฉลี่ย 3 เดือนของทุกสาขาต้องไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน
  9. กรณีผู้สมัครเป็นผู้ประกอบการที่เปิดร้าน Cafe Amazon ในพื้นที่นั้นๆ อยู่ก่อนแล้ว และต้องการเพิ่มสาขาในบริเวณเดียวกัน บริษัทฯ สามารถนำใบสมัครมาพิจารณาโดยไม่ต้องพิจารณาตามลำดับคิว
  10. พื้นที่เปิดร้านต้องมีภาพลักษณ์ดี ค่าเช่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยบริษัทฯ จะพิจารณาตามความเหมาะสม
  11. หากมีกรณีนอกเหนือจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้างต้น บริษัทฯ จะสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตามที่เห็นสมควร โดยคำตัดสินของบริษัทฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
  12. ระยะเวลาในการสำรวจพื้นที่ประมาณ 66 วันทำการ
  13. ระยะเวลาสัญญา 6 ปี ปัจจุบันบริษัทฯ ยังไม่มีนโยบายเสียค่าใช้จ่ายในการต่อสัญญา
  14. ระยะเวลาในการอบรม 9 วัน ที่ศูนย์ธุรกิจ Cafe Amazon หรือ Amazon Inspiring Campus (AICA) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้ได้รับสิทธิ์สามารถเข้าอบรมได้ 2 ท่าน คือ เจ้าของร้าน และผู้จัดการร้าน ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในค่าดำเนินการก่อนเปิดร้านแล้ว หากมากกว่า 2 ท่าน อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

รูปแบบร้าน Café Amazon

5

มี 2 ประเภท คือ ในตัวอาคาร (Shop) และนอกตัวอาคาร (Stand Alone) โดยพื้นที่จะต้องอยู่นอกสถานีบริการน้ำมัน เท่านั้น

  1. ในอาคาร (เช่น อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ) 30 ตร.ม ขึ้นไป และพื้นที่ขอเปิดร้านต้องอยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน
  2. นอกอาคาร (พื้นที่เปล่า) 100-200 ตร.ม ขึ้นไป

เงินลงทุนเปิดร้าน Cafe Amazon

1.ร้านในอาคาร (Shop) 40 ตร.ม. ขึ้นไป

4

  • ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,200,000 – 2,500,000 บาท
  • ค่าออกแบบ ใช้เงินลงทุน 80,000 – 120,000 บาท
  • อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
  • ค่าประกันแบรนด์ 100,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน รวมถึง ค่า Set up ร้าน ค่าฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารร้านเปิดใหม่ ค่า On the Job Training ค่าสำรวจพื้นที่ 80,000 บาท
  • ค่า Franchise Fee 150,000 บาท
  • ค่า Royalty Fee 3% และ ค่า Marketing Fee 3%ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี
  • อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

#รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยังไม่รวม Vat) ประมาณ 2,389,000 – 3,729,000 บาท

2.ร้านนอกอาคาร (Stand Alone) 100 – 200 ตร.ม. (รวมสวนหย่อม)

3

  • ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ 1,500,000 – 3,000,000 บาท
  • ค่าออกแบบ ใช้เงินลงทุน 80,000 – 120,000 บาท
  • อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
  • ค่าประกันแบรนด์ 100,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน รวมถึง ค่า Set up ร้าน ค่าฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารร้านเปิดใหม่ ค่า On the Job Training ค่าสำรวจพื้นที่ 80,000 บาท
  • ค่า Franchise Fee 150,000 บาท
  • ค่า Royalty Fee 3% และ ค่า Marketing Fee 3%ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี
  • อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

#รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยังไม่รวม Vat) 2,689,000 – 4,229,000 บาท

2

ภาพจาก facebook.com/cafeamazonofficial/

1

ภาพจาก facebook.com/cafeamazonofficial/

สำหรับเป้าหมายของ OR หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ วางแผนในปี 2568 ขยายร้าน Café Amazon จำนวน 5,800 สาขา โดยต้องเปิดให้ได้อีก 2,500 สาขา แบ่งเป็นในประเทศไทย 2,100 สาขา โดย 60% อยู่นอกปั๊ม และต่างประเทศ 400 สาขา เฉพาะในประเทศไทยจาก 3,168 สาขา จะเพิ่มเป็น 5,200 สาขา เติบโตเฉลี่ย 18.3% ต่อปี

ในต่างประเทศร้านกาแฟ Café Amazon มากที่สุดในประเทศกัมพูชา 162 สาขา, ลาว 67 สาขา, ฟิลิปปินส์ 18 สาขา, โอมาน 9 สาขา, เมียนมา 8 สาขา, สิงคโปร์ 3 สาขา, จีน 2 สาขา, ญี่ปุ่น 2 สาขา และมาเลเซีย 1 สาขา

สำหรับนักลงทุนที่สนใจเปิดร้านแฟรนไชส์ Cafe Amazon สามารถนำเสนอพื้นที่และสมัครได้ที่

https://www.cafe-amazon.com/franchise.aspx


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

TFC2022-1

TFC2022-2

800k

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3m5BsY5 , https://bit.ly/37O63RM

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sqiRHn

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช