เปิดร้านหมูกระทะชั่งกิโล! เริ่มต้นอย่างไร ในยุคหมูแพง

ราคาหมูในตอนนี้ถือว่าแพงมากราคาแตะที่ 200 บาท บางพื้นที่พุ่งไปถึง 250 บาทก็มี แน่นอนว่าเมื่อหมูราคาแพง บรรดาธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งร้านอาหาร ร้านหมูปิ้ง ร้านข้าวขาหมู หรือแม้แต่ร้านอาหารตามสั่ง ต้องเจอปัญหาต้นทุนสูงทำให้ต้องขยับราคาแต่ละเมนูเพิ่มขึ้นตามไป นั่นรวมถึงบรรดาร้านหมูกระทะที่น่าจะได้รับผลกระทบไปเต็มๆ เช่นกัน

และใครที่อยากเปิดร้านหมูกระทะในช่วงนี้อาจต้องคิดหนักแต่ www.ThaiSMEsCenter.com มีอีกธุรกิจที่คิดว่าสร้างอาชีพได้ในยุคหมูแพงนี้เรียกว่าร้านหมูกระทะชั่งกิโล ที่เราเชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นกันมาบ้าง ลองมาดูว่าถ้าเราจะลองทำธุรกิจนี้จะต้องเริ่มแบบไหน อย่างไรบ้าง

เปิดร้านหมูกระทะชั่งกิโล VS  เปิดร้านหมูกระทะ(นั่งกิน)

เปิดร้านหมูกระทะชั่งกิโล

ภาพจาก https://bit.ly/3n3Xg5U

หลายคนสงสัยว่าร้านหมูกระทะแบบชั่งกิโล ดีกว่าร้านหมูกระทะแบบนั่งกินอย่างไร ข้อดีประการแรกคือ การลงทุนที่น้อยกว่าเพราะไม่ต้องมาจัดร้านแต่งร้าน ไม่ต้องมีโต๊ะเก้าอี้รับลูกค้า ไม่ต้องจ้างพนักงานจำนวนมาก แถมบางทีไม่ต้องมีค่าเช่าสถานที่เพราะใช้พื้นที่หน้าบ้านตัวเอง ค่าน้ำค่าไฟก็ถูกกว่าการเปิดร้าน เป็นต้น

แถมร้านหมูกระทะแบบชั่งกิโลยังไม่ต้องวุ่นวายกับการซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก อาจมีแค่หมูกระทะที่ผ่านการหมักเพียง 2-3 สูตร ก็สามารถเปิดร้านได้ รวมถึงอาจขายน้ำจิ้มบรรจุขวดเพิ่มเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

ซึ่งดูเหมือนว่าลูกค้ายุคนี้เองก็สนใจหมูกระทะแบบชั่งกิโลเพราะไม่ต้องไปทานที่ร้าน ไม่ต้องเจอคนมากที่อาจเสี่ยงต่อการติดโควิด แถมหลายคนมองว่าการซื้อหมกระทะแบบชั่งกิโลคุ้มค่ากว่าการไปทานที่ร้านหรือถ้าไม่อยากกินหมูกระทะก็เปลี่ยนเป็นสุกี้ได้เพียงแค่มีกระทะไฟฟ้า แถมยังสามารถทานที่บ้านได้สะดวก อีกด้วย

เปิดร้านหมูกระทะชั่งกิโล ลงทุนเริ่มต้นเท่าไหร่?

เปิดร้านหมูกระทะชั่งกิโล

ภาพจาก https://bit.ly/34vET3F

ต้นทุนสำหรับการเปิดร้านขึ้นอยู่กับขนาดร้านและเมนูที่จะนำมาขาย หลักๆ ที่ต้องมีคือเนื้อหมู (ซึ่งตอนนี้ราคาแพงมาก) ซึ่งอาจจะมีสูตรการหมักที่เป็นเอกลักษ์ ถ้าหมักอร่อยลูกค้าจะติดใจมาซื้อซ้ำ นอกจากเนื้อหมูหมักสูตรต่างๆ ก็ควรจะมีวัตถุดิบอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น ปลาหมึก , กุ้งสด , ผักกาดขาว , ผักบุ้ง เป็นต้น

ซึงคำนวณคร่าวๆเฉพาะเนื้อหมูการขายในแต่ละวันใช้หมูประมาณ 5-10 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย ต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ย 4,000 – 5,000 บาท (เป็นราคาเฉลี่ยที่ขึ้นอยู่กับราคาขายของวัตถุดิบในช่วงเวลานั้นๆ)

นอกจากนี้ก็อาจจะมีต้นทุนพวกอุปกรณ์ทั่วไปเช่นโต๊ะสำหรับวางหมู , อุปกรณ์ในการจัดหน้าร้าน , อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิดร้านเช่น มีด เขียง เครื่องหมัก ถาดคีบ เป็นต้น โดยรวมแล้วถ้าเป็นร้านขนาดเล็กใช้ต้นทุนเปิดร้านประมาณ 10,000 – 15,000 บาท

เทคนิคในการขายให้ได้กำไร

1.การตั้งราคาที่เหมาะสม

ส่วนใหญ่ตั้งราคาขายประมาณ 100 – 139 บาท/กิโลกรัม เป็นราคาที่ดูไม่แพงและไม่ถูกจนเกินไป (ขึ้นอยู่กับราคาเนื้อหมูในขณะนั้น) ซึ่งควรมีสูตรหมูหมักหลายๆสูตรให้ลูกค้าเลือกได้

เปิดร้านหมูกระทะชั่งกิโล

ภาพจาก https://bit.ly/3qTc9JD

2.จัดชุด (Set) พร้อมขาย

ลูกค้าบางคนอาจไม่ถนัดที่จะเลือกชนิดของหมู แต่นิยมความสะดวกเป็นหลักเราจึงอาจจัด Set พร้อมขายซึ่งในหนึ่งชุดอาจมีหมูกระทะ ผัก น้ำจิ้ม และวัตถุดิบอื่นๆ จะเลือกชุดเล็ก ชุดใหญ่ ก็ตามแต่ใจลูกค้า

3.สูตรน้ำจิ้มต้องอร่อย

หมูกระทะสำคัญที่น้ำจิ้มซึ่งบางร้านมีสูตรน้ำจิ้มที่อร่อยมาก ลูกค้าบางคนถึงกับมาซื้อเฉพาะน้ำจิ้มเพียงอย่างเดียว ก็ถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเจ้าของร้านอีกทางหนึ่ง

เปิดร้านหมูกระทะชั่งกิโล

ภาพจาก https://bit.ly/3q2oewV

4.บริการลูกค้าอย่างประทับใจ

แม้จะเป็นการเปิดร้านหมูกระทะแบบชั่งกิโลเราก็สามารถบริการลูกค้าให้ประทับใจได้ไม่ว่าจะเป็นการจัดร้านที่สะอาด พูดจาสุภาพ และอาจมีการลดแลก แจกแถมได้บ้างในบางโอกาส

5.เพิ่มช่องทางเดลิเวอรี่หรือขายออนไลน์

ในยุคนี้การขายออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ การรอลูกค้ามาซื้อหน้าร้านอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากเรามีบุคลากรเพียงพอควรเพิ่มช่องทางออนไลน์และจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ให้ลูกค้าได้ด้วย

กำไรของร้านหมูกระทะแบบชั่งกิโล ดีแค่ไหน

1

ภาพจาก https://bit.ly/33dfn2c

ในเรื่องของรายได้ถือว่าแตกต่างกันไปตามทำเลในการเปิดร้าน พูดถึงรายได้คิดราคาหมูที่ 150 บาท ซึ่งหมู 1 กิโลกรัมสามารถนำมาทำได้หลายสูตรเช่นหมักงา , หมักพริกไทยดำ เป็นต้น

ทั้งนี้เคล็ดลับในการหมักคือหัวใจสำคัญที่ทำให้หมูมีน้ำหนักมากขึ้น ราคาขายโดยส่วนใหญ่เริ่มต้นที่ 139 บาท (บางร้านอาจตั้งราคาขายถูกกว่านี้) กำไรเฉลี่ยต่อวันประมาณ 1,000 -2,000 บาท

หากไม่มีค่าเช่าสถานที่ก็ถือว่าเป็นรายได้ที่น่าพอใจ แต่กำไรที่กล่าวนี้ไม่ได้เฉพาะว่าต้องได้แบบนี้ทุกร้าน บางร้านอาจมีกำไรน้อยกว่านี้ หรือบางร้านอาจได้มากกว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการขาย ทำเลที่ตั้งร้านเป็นสำคัญ

แต่สิ่งที่เห็นได้แน่คือการเปิดร้านหมูกระทะแบบชั่งกิโล สามารถเริ่มต้นได้ไม่ยาก เป็นธุรกิจที่ใช้เงินทุนน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความขยันและตั้งใจของเราเป็นสำคัญด้วย


อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3qVUReG , https://bit.ly/339M2Gd , https://bit.ly/34qE3Fk

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3zGZCNo


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด