เปิดร้านมา 1-3 เดือน ยังไม่มีกำไร ต้องแก้ยังไง

ใครเปิดร้านอาหารแล้วเจอปัญหา ยอดขายตก ไม่มีกำไร ขายไปแล้ว 2-3 เดือน ยังหากำไรไม่เจอ เริ่มวิตก เริ่มท้อแล้ว จะทำต่อ หรือพอแค่นี้ มาหาทางออกไปพร้อมๆ กัน

ก่อนอื่นเจ้าของร้านอาหารต้องรู้ว่า Break Even Point หรือ จุดคุ้มทุน ของเร้านอยู่ตรงไหน เมื่อรู้จุดคุ้มทุนแล้ว คุณก็จะมีเป้าหมายในการทำยอดขายในแต่ละเดือน จะมีกระบวนการ และกลวิธีในการสร้างยอดขายตามมาเอง

1. หาจุดคุ้มทุน

การหาจุดคุ้มทุนจะทำให้เจ้าของร้านรู้ว่าแต่ละเดือนจะต้องขายให้ได้เท่าไหร่ ถึงจะไม่ขาดทุน และมีกำไร มาดูกันว่าเราจะหาจุดคุ้มทุนอย่างไร

สูตรคำนวณจุดคุ้มทุน

Fixed Cost ค่าใช้จ่ายคงที่ / 1 – Variable Cost % ค่าใช้จ่ายผันแปร

ค่าใช้จ่ายคงที่จะไม่ผันแปรตามยอดขาย ไม่ว่าจะขายได้มากหรือขายได้น้อย ก็ต้องเสียเท่าเดิม มาดูว่าค่าใช้จ่ายคงมีอะไรในร้าน อาทิ ค่าจ้างพนักงาน (F/T), ค่าเช่าพื้นที่ (Fix Rate), ค่าเช่าอุปกรณ์, ค่าเสื่อม ส่วนค่าใช้จ่ายผันแปร เช่น ค่าวัตถุดิบ

ตัวอย่างการคำนวณหาจุดคุ้มทุนของร้านอาหาร

Fixed Cost

  • ค่าเช่า 10,000 บาท/เดือน
  • ค่าแรง 30,000 บาท/เดือน
  • ค่าเช่าอุปกรณ์ POS 5,000 บาท/เดือน
  • รวมค่าใช้จ่ายคงที่ 45,000 บาท/เดือน

Variable Cost

  • ต้นทุนวัตถุดิบ 40%
  • รวมค่าใช้จ่ายผันแปร 40%

สูตรการคำนวณ

  • จุดคุ้มทุน 45,000 / (1-0.40)
  • = 45,000 / 0.6 = 75,000 บาท/เดือน

นั่นก็เท่ากับว่าร้านของคุณจะต้องหารายได้ 75,000 บาท/เดือน ถึงจะคุ้มทุน แต้ไม่ขาดทุน หรือต้องขายให้ได้มากกว่า 75,000 บาท/เดือน ถึงจะมีกำไร

2. ทำ Project Sale


เมื่อร้านของคุณรู้เป้าหมายแล้วว่า แต่ละเดือนต้องทำยอกดขายเท่าไหร่ ต่อไปคุณต้องทำ Project Sale โดยมีจุดคุ้มทุน 75,000 บาท เป็นเป้าหมายขั้นต่ำ วิธีการทำ Project Sale สำหรับร้านอาหารส่วนใหญ่ คือ การเพิ่มเมนูอาหารขายดี หรือ ไม่ก็ให้พนักงานในร้านเชียร์ขาย รวมไปถึงการขายเครื่องดื่มอื่นๆ ในร้านแทนน้ำเปล่าที่ราคาถูก

หาวิธีขายจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้นจากสินค้าเดิม พูดให้ลูกค้าซื้อสินค้าตัวอื่นๆ ที่สำคัญอย่าลืมทำโปรโมชั่นเพื่อเพิ่มยอดขาย เช่น ลูกค้ามา 10 จ่าย 9 หรือ สั่งหลายเมนูจะลดราคา 10% เพื่อเพิ่มค่าเฉลี่ยต่อหัวให้มากขึ้น

3. ทำการตลาดออฟไลน์ ออนไลน์

ถ้าร้านอาหารของคุณทำ Project Sale แล้ว กระตุ้นยอดขายได้บ้าง ไม่ได้บ้า ขั้นตอนต่อไปให้เร่งทำการตลาด จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ ถ้าเป็นออฟไลน์ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายบอกตำแหน่งร้าน สถานที่สำคัญของที่ตั้งร้าน รถแห่ หรือไม่ก็ใช้วิธีให้พริตตี้สาวๆ มาช่วยขายหรือเสิร์ฟในร้าน ส่วนการตลาดออนไลน์ เช่น การเปิดเว็บไซต์ร้าน เฟสบุ๊ค ไลน์ ยูทูป รวมถึงการเป็นพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ต่างๆ เป็นต้น

4. เปลี่ยนทำเลที่ตั้งร้านอาหาร


ถ้าทำตาม 3 ข้อข้างต้นแล้ว ยอดขายของทางร้านไม่ดีขึ้นเลย หรือ ขายไปหลังจาก 3 เดือนแรกแล้ว กำไรในร้านลดลงเรื่อยๆ ทางออกวิธีสุดท้าย ก็คือ ย้ายร้านอาหารไปเปิดที่อื่น ถ้าหากคุณอยากทำธุรกิจร้านอาหารต่อ เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เช่น ถ้าเปิดในห้างยอดขายไม่ดี ก็ย้ายออกมาเปิดนอกห้าง หรือย่านคนเดินทางและพักอาศัยเยอะๆ

หรือถ้าทำตามทั้ง 4 ข้อข้างต้นแล้ว ไม่ดีขึ้นอีก ขอแนะนำทางออกสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร หรือผู้สนใจทำร้านอาหาร สนใจรับคำปรึกษาวางระบบร้านอาหารและแฟรนไชส์ คลิก https://citly.me/VR760

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://makrohorecaacademy.com/th/articles/open-firstmonth

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช