เปิดร้านถูกดี มีมาตรฐาน ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ มีรายได้แค่ไหน คุ้มหรือไม่คุ้ม

เปิดร้านถูกดี มีมาตรฐาน ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ มีรายได้แค่ไหน คุ้มหรือไม่คุ้ม ร้านถูกดี มีมาตรฐาน มีให้เลือกลงทุนเปิดร้าน 3 รูปแบบ

 

  1. รูปแบบที่ 1 ไซส์ S ขนาดหนึ่งคูหา พื้นที่ขาย 32-60 ตารางเมตร มีสินค้าในร้าน 1,700 รายการ
  2. รูปแบบที่ 2 ไซส์ M ขนาดสองคูหา พื้นที่ขาย 64-94 ตารางเมตร มีสินค้าในร้าน 1,800 รายการ
  3. รูปแบบที่ 3 ไซส์ L ขนาดสามคูหา พื้นที่ขาย 96 ตารางเมตรขึ้นไป มีสินค้าในร้าน 2,000 รายการ

โดยร้านถูกดี มีมาตรฐาน จะเป็นผู้ลงทุนในส่วนสินค้าและบริการ อุปกรณ์ ชั้นวาง ตู้แช่ เคาน์เตอร์สินค้า รวมถึงระบบการจัดการร้าน มูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท ให้แก่ร้านค้าพาร์ทเนอร์ รวมถึงบริการจัดส่งสินค้าทุกรายการให้ถึงหน้าร้านสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

มาดูว่ารูปแบบการลงทุนเปิดร้านถูกดี มีมาตรฐาน มีเงื่อนไขอะไรกันบ้าง

ภาพจาก https://bit.ly/41LKM4t

ผู้ที่จะสมัครเป็นพาร์ทเนอร์ของถูกดี มีมาตรฐาน ต้องมีร้านค้าเดิมอยู่แล้ว และต้องมีเงินลงทุนสำหรับตกแต่งร้านให้ได้มาตรฐาน เริ่มต้นที่ 50,000 บาท หรืออาจจะมากกว่ากว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ร้านเดิม รวมถึงเงินค้ำประกันตามสัญญา 200,000 บาท ในระยะเวลา 3 ปี

ในส่วนเงินค้ำประกันนั้น เราจะได้รับคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา เมื่อไม่ต้องการต่อสัญญาใหม่ และต้องไม่ทำผิดสัญญากับทางถูกดีด้วย

สรุปหากเราเปิดร้านถูกดี มีมาตรฐาน 1 ร้าน เราจะต้องเตรียมเงินไว้ประมาณ 250,000 – 300,000 บาทในขั้นต้น
โดยเราจะได้เงินปันผลจากกำไร เจ้าของร้านจะได้ 85% ส่วนถูกดีได้ 15%

ภาพจาก ถูกดี มีมาตรฐาน

สมมติว่าวันนึงเราขายได้ 10,000 บาท ก็เท่ากับว่าหนึ่งเดือนเรามียอดขาย 300,000 บาท ประมาณการว่ากำไรจากร้านถูกดี จะอยู่ที่ 12% เมื่อหักแล้วก็จะเหลือกำไร 36,000 บาท เมื่อนำไปแบ่งกำไรกับถูกดี เราจะได้ 85% ก็เท่ากับว่าได้ส่วนแบ่ง 30,600 บาท ถูกดีได้ 5,400 บาท

ส่วนแบ่งรายได้ตรงนี้เมื่อนำไปหักค่าใช้จ่ายภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ประมาณการอยู่ที่ 4,000 บาท/เดือน ก็จะเหลือกำไร 26,600 บาท

มาดูกันว่าคนที่จะเปิดร้านถูกดี มีมาตรฐานต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ภาพจาก ถูกดี มีมาตรฐาน

ต้องมีความตั้งใจทำร้านให้ขายดี, มีเงินทุนปรับปรุงร้านให้ได้ตามมาตรฐาน, มีเงินค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา 2 แสนบาท และมีบุคคลค้ำประกัน

แม้ว่าทางร้านถูกดีจะซื้อสินค้าให้ทั้งหมดมากกว่า 1 ล้านบาท รวมชั้นวาง เคาน์เตอร์ ระบบ POS ตู้แช่ และสินค้าทั้งหมด

แต่ก็มีเงื่อนไขที่พาร์ทเนอร์ต้องปฏิบัติตาม เช่น

  1. ร้านต้องส่งเงินที่ขายได้ทั้งหมดให้ทางบริษัทก่อน 21.00 น. ของทุกวัน
  2. ร้านจะได้รับการปันผลกำไร 85:15 ทุกวันที่ 15 ของเดือน
  3. ค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า) ทางร้านจ่ายเอง

หากวิเคราะห์ดูแล้วในเมื่อทางบริษัทเป็นคนตัดสินใจลงทุนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่างให้กับพาร์ทเนอร์ โดยประเมินขนาดพื้นที่ ผลกำไรทางบริษัทก็ได้ส่วนแบ่ง แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า ก็ไม่นำจะนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายของร้านก่อนการแบ่งกำไร การเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับทางถูกดี เหมือนกับว่าถูกดีมาเช่าที่ขายของโดยไม่ต้องเสียค่าเข่าด้วยซ้ำ

ภาพจาก ถูกดี มีมาตรฐาน

มาดูข้อดีของการเปิดร้านถูกดี มีมาตรฐานกันบ้าง ทางร้านค้ามีคนช่วยบริหารจัดการ เติมสต็อกสินค้า โดยที่เราไม่ต้องวิ่งไปหาซื้อสินค้าเอง

คิดเห็นกันยังไงบ้างกับการเปิดร้านถูกดี มีมาตรฐาน อยากสอบถามคนที่กำลังทำธุรกิจโดยการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับถูกดีอยู่ ช่วยแชร์ประสบการณ์แบ่งปันความรู้เข้ามากันได้นะครับ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช