เปิดร้านงบไม่เกิน 10,000 ขายอะไรได้บ้าง

สมมุติว่าตอนนี้เรามีเงิน 10,000 บาท คิดว่าคนส่วนใหญ่จะเอาเงินทุนก้อนนี้ไปทำอะไรได้บ้าง ส่วนหนึ่งคงคิดเอาไปเก็บไว้ แต่อีกส่วนหนึ่งคิดต่อยอดจากเงินก้อนนี้ให้มากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่นการซื้อฉลากออมสิน หรือบรรดากองทุนต่างๆ

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าเงิน 10,000 ที่ว่านี้แม้จะไม่ใช่เงินจำนวนมากแต่ก็อาจจะมากพอให้เราเปิดร้านค้าง่ายๆ ได้ ซึ่งมีหลายธุรกิจน่าสนใจที่ใช้เงินลงทุนไม่เกินหลักหมื่น แต่มีโอกาสสร้างรายได้ดีในระยะยาว มีอะไรน่าสนใจบ้างไปติดตามดูพร้อมกัน

1.ร้านขายสเต็ก

ขายอะไรได้บ้าง

ภาพจาก แฟรนไชส์ฮิปสเตอร์สเต็ก

ปัจจุบันสเต็กเป็นเมนูที่คนให้ความสนใจมาก จุดเด่นของสเต็กคืออาหารจานเดียว อิ่มอร่อย สะดวกสบาย และมีหลายเมนูให้เลือก ราคาก็ไม่แพง เราจะเห็นร้านสเต็กหลากหลายรูปแบบมีทั้งที่เปิดหน้าร้านริมทาง ในห้างสรรพสินค้า ร้านสเต็กขนาดใหญ่ รวมไปถึงร้านสเต็กแบบเดลิเวอรี่ การลงทุนเปิดร้านสเต็กในสมัยนี้ไม่ยุ่งยากถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ก็มีแฟรนไชส์ที่เป็นตัวช่วยให้เปิดร้านง่าย ๆ แถมแพคเกจลงทุนไม่แพง

อย่าง ฮิปสเตอร์สเต็ก มีแพคเกจลงทุนหลายรูปแบบเช่นเซ็ตเสือซ่อนเล็บ ราคา 9,900 บาทสิ่งที่ได้รับคืออุปกรณ์บางรายการ วัตถุดิบตามแพคเกจ พร้อมสอนวิธีการขาย กมาฝึกอบรมก่อนเปิดร้าน ถือเป็นการเริ่มต้นที่สะดวกและง่ายที่สุดปัจจุบันมีคนสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก

2.ร้านขายอาหารตามสั่ง

37

ภาพจาก แฟรนไชส์ธงไชยผัดไทย

ถ้าเรามีหน้าบ้านอยู่ในแหล่งชุมชน ใกล้ตลาด จะยิ่งได้เปรียบ สามารถเปิดร้านขายอาหารตามสั่งงบลงทุนไม่เกิน 5,000 เริ่มต้นจากการเป็นร้านเล็กๆ เน้นเมนูหลักๆ เช่นข้าวผัดกระเพรา , ข้าวผัด , ซีอิ๊ว , ผัดพริกแกง เป็นต้น อุปกรณ์ก็นำมาจากในครัวไม่ต้องลงทุนซื้อเพิ่ม หรือถ้าต้องการให้น่าสนใจมากขึ้นก็เลือกลงทุนแฟรนไชส์

เช่น ธงไชยผัดไทย ที่เน้นเมนูสตรีทฟู้ดขายง่าย ขายดี แพคเกจลงทุนเพียง 9,900 บาท พร้อมการฝึกอบรมให้ก่อนเปิดร้าน และมีอุปกรณ์สำคัญบางรายการ พร้อมการเป็นที่ปรึกษาให้อย่างดี นอกจากนี้การขายอาหารตามสั่งยังเพิ่มช่องทางขายแบบเดลิเวอรี่ได้ด้วย

3.ลงทุนตลาดออนไลน์

36

ภาพจาก แฟรนไชส์นายหน้าออนไลน์

ในโลกออนไลน์คือช่องทางการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าได้มาก และมีหลายแฟรนไชส์ที่ให้บริการในเรื่องนี้อย่าง แฟรนไชส์นายหน้าออนไลน์ เปิดโอกาสให้คนสนใจสร้างธุรกิจง่ายๆ ลงทุนแค่ 9,900 บาท จะได้หน้าเพจในการโปรโมทสินค้าและบริการต่างๆ หน้าที่ของคนลงทุนคือการหาลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการเหล่านี้ที่สามารถหักรายได้ทันทีกว่า 50% เหมาะสมกับการสร้างรายได้เพิ่ม ทำคู่กับงานประจำได้ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ยังไม่เก็บค่ารายเดือนรายปี และมีทีมงานให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพด้วย

4.ธุรกิจร้านสารพัดบริการ

35

ภาพจาก แฟรนไชส์ ร้านน้องฟ้าเซอร์วิส

การเติบโตของตลาดออนไลน์ก็ทำให้ร้านสารพัดบริการเป็นอีกการลงทุนที่น่าสนใจ มีหลายแบรนด์แฟรนไชส์ที่ให้เราเลือกลงทุนได้ด้วยงบไม่เกิน 10,000 บาท ยกตัวอย่าง ร้านน้องฟ้าเซอร์วิส ที่ให้เราเปิดร้านสารพัดบริการได้ง่าย หรือใครมีหน้าร้านอยู่แล้วอยากลงทุนเพิ่มก็ยิ่งมีรายได้มากขึ้น ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนเพียง 6,990 บาท และมีโอกาสขยายสาขาได้มากขึ้นด้วย

34

ภาพจาก https://bit.ly/3BhDn36

หรือ ชิปป็อบ แฟรนไชส์ร้านรับส่งพัสดุ ที่มีค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนเพียง 3,000 บาท รวบรวมขนส่งชั้นนำไว้คอยให้บริการมากมาย ไม่มีเสียค่ารายปี รายเดือน ใช้โปรแกรมในการทำงานได้ทันที มีอุปกรณ์ให้ 7 รายการ สร้างรายได้ให้กับผู้ลงทุนได้มากขึ้น

5.ขายเครื่องสำอางออนไลน์

33

ภาพจาก บิวตี้เซ็นเตอร์ (บีโค้)

เรื่องของความสวยความงามก็เป็นสินค้าที่ขายดีและยุคนี้ก็ให้เราเลือกลงทุนได้ไม่ยาก โดย บิวตี้เซ็นเตอร์ (บีโค้) คือแฟรนไชส์ออนไลน์ขายครื่องสำอางความสวยงามทุกชนิด ที่ลงทุนเริ่มเพียง 9,900 บาท สามารถเปิดร้านแบบออนไลน์ได้ทันที สิ่งที่จะได้คือเว็บไซต์สวยงาม พร้อมรายการสินค้าความงามจำนวนมาก หน้าที่ของผู้ลงทุนคือการโปรโมทเว็บไซต์ให้คนรู้จักและเมื่อมีลูกค้าสามารถให้ทางแฟรนไชส์จัดส่งได้ในนามของผู้ลงทุน ถือว่าสะดวก ง่าย ครบ จบ อีกทั้งคนที่สนใจอยากเปิดหน้าร้านร่วมด้วยก็มีแพคเกจลงทุนให้เลือกได้ตามต้องการ

6.ร้านเพนท์เล็บตามแหล่งท่องเที่ยว

31

อาชีพนี้เหมาะกับคนที่มีใจรักและมีความรู้ในงานด้านนี้อย่างดี ไม่จำเป็นต้องเปิดร้านใหญ่โต งบลงทุน 5,000 – 10,000 คือค่าอุปกรณ์เบื้องต้นที่ควรจะมี เช่นเล็บสำหรับต่อ สีทาเล็บ อุปกรณ์เพ้นท์เล็บ ควรเริ่มจากการเป็นร้านเล็กๆแบบโต๊ะตัวเดียวซึ่งมีข้อดีคือให้เราค่อยๆ สร้างฐานลูกค้าและฝึกฝีมือตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ หรือใครที่ยังไม่ชำนาญควรไปลงเรียนกับคอร์สที่มีการเปิดสอนที่ส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์เบื้องต้นบางรายการแถมให้เราด้วยและในอนาคตจากร้านเพนท์เล็บอย่างเดียวอาจเติบโตเป็นร้านทำเล็บที่มีบริการครบวงจรและขนาดของร้านก็ใหญ่ขึ้นได้ด้วย

7.เพาะเห็ดขาย

เห็ดถือเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีความรู้เขาสามารถเพาะเห็ดขายสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ คนสนใจเพาะเห็ดสามารถซื้อก้อนเชื้อเห็ดที่ขายกันทั่วไป ราคาประมาณก้อนละ 10 บาท ต้นทุนของการเพาะเห็ดหากมีเงิน 10,000 บาท เพาะเห็ดได้จำนวนมาก วิธีการดูแลเบื้องต้นคือการรดน้ำวันละ 3 เวลา ระยะเวลา 3 วัน เก็บเห็ดขายได้ประมาณ 30- 40 กิโลกรัม ราคาขายก็ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดในขณะนั้น แต่ในยุคคนรักสุขภาพแบบนี้ราคาเห็ดค่อนข้างสูง ก็ทำให้เรามีโอกาสคืนทุนไวได้กำไรเร็วมากขึ้น

8.ขายไอศกรีม

30

ในสมัยนี้การขายไอศกรีมไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์ เพราะเราสามารถเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์ที่มีให้เลือกมากมาย แต่ละแฟรนไชส์ก็มีแพคเกจราคาเริ่มต้นไม่เกินหมื่น วิธีการขายก็เลือกได้ทั้งขายเอง หรือจะจ้างให้คนมาช่วยขาย ข้อดีของการขายไอศกรีมในระบบแฟรนไชส์คือสินค้ามีคุณภาพ แบรนด์มีชื่อเสียงคนรู้จักอย่างดี รายได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การขายและทำเลในการขายเป็นสำคัญ

9.ร้านขายไส้กรอกอีสาน

32

ตามตลาดนัดเราเห็นร้านขายอาหารหลายชนิดและทุกตลาดต้องมีไส้กรอกอีสาน งบลงทุน 10,000 บาทถือว่าเพียงพอสำหรับเปิดร้านขนาดเล็ก รูปแบบการลงทุนก็เลือกได้ทั้งทำเอง หรือจะซื้อแฟรนไชส์ที่ราคาเริ่มต้นก็ไม่เกินหลักหมื่นและมีหลายแฟรนไชส์ให้เลือกได้ตามต้องการ สิ่งสำคัญคือเทคนิคการขาย การบริการลูกค้า รวมถึงต้องมีกลยุทธ์การขายที่ดีจะทำให้ขายง่าย ขายดี มีกำไรมากขึ้น

10.เปิดร้านขายเสื้อยืดสกรีนลาย

42

ถ้าเรามีงบลงทุน 10,000 บาท เพียงพอกับการเปิดร้านขายเสื้อยืดสกรีนลาย ที่เริ่มต้นอาจจะไปรับสินค้าจากแหล่งเสื้อผ้าราคาถูกนำมาเปิดร้านขาย คำว่าเปิดร้านก็ควรเป็นร้านแบบไม่ต้องลงทุนเช่นเปิดท้ายขายของ หรือตามตลาดนัดต่าง ๆ การที่จะขายดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับไอเดีย ลวดลาย ที่ต้องตามยุคสมัย เข้ากับกระแสสังคมจะทำให้ขายดีมากขึ้น และควรมีช่องทางการขายออนไลน์ร่วมด้วย เมื่อเริ่มมีกำไรมากขึ้นอาจลงทุนสกรีนเสื้อเองจะทำสินค้ามีเอกลักษณ์และน่าสนใจได้มากยิ่งขึ้น

แต่ทุกการลงทุนไม่ว่าจะเลือกลงทุนอะไร แบบไหนก็ตาม ผู้ลงทุนต้องใส่ใจในงานที่ทำ ขยันตั้งใจทำจริง รู้จักพลิกแพลงใช้ไอเดียในการทำธุรกิจ และมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล จะเพิ่มโอกาสให้การลงทุนประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น และต้องไม่ลืมการวางแผนสำรองเพื่อไว้ในยามฉุกเฉินด้วย

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BgrOcm

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด