เปิดร้านงบไม่เกิน 1,000 ขายอะไรได้บ้าง

สมัยนี้ของแพงทุกอย่าง แต่รายได้เรากลับไม่เพิ่มขึ้น การคิดจะลงทุนอะไรสักอย่างต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง และคนส่วนใหญ่บอกว่าการหาเงินลงทุนตอนนี้ก็ยากมากด้วย เงินเก็บที่มีบางทีก็น้อยนิด ขายอะไรได้บ้าง ไม่อยากเอาไปเสี่ยงลงทุนถ้าผิดพลาดขึ้นมาจะได้ไม่คุ้มเสีย

แต่ลึกๆ แล้ว www.ThaiSMEsCenter.com ยังเชื่อว่าคนอีกจำนวนไม่น้อยก็อยากมีอาชีพ อยากมีรายได้เพิ่ม ลองมาดูกันว่าถ้าเราจะเปิดร้านโดยใช้งบประมาณไม่เกิน 1,000 บาท ขายอะไรได้บ้าง แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าเมื่อเราเริ่มด้วยต้นทุนน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ก็ควรจะเป็นของที่มีอยู่แล้วไม่ต้องซื้อเพิ่ม รวมถึงเรื่องทำเลที่ขอเน้นพื้นที่ง่ายๆ ที่ไม่ต้องเสียค่าเช่า

มีเงิน 1,000 เปิดร้าน ขายอะไรได้บ้าง

ขายอะไรได้บ้าง

ในภาวะเงินเฟ้อเงิน 1,000 สมัยนี้ถือว่าน้อยมาก แต่ในความเป็นจริงมีอีกหลายอาชีพที่ลงทุนไม่เกิน 1,000 บาท ก็สามารถสร้างรายได้ที่ดีคืนกลับมา เพียงแต่เงินลงทุนน้อย ก็ต้องอาศัยทักษะ ความขยันมากเป็นพิเศษ และต้องไม่ลืมว่าข้อดีของยุคนี้คือการตลาดออนไลน์ที่ใครรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์อาจช่วยให้ร้านเล็กๆเงินทุนน้อยๆของเราเป็นที่รู้จักได้เร็วขึ้นด้วย ลองไปดูว่ามีเงินแค่ 1,000 จะเปิดร้านขายอะไรได้บ้าง

1.ขายหมูปิ้ง/ลูกชิ้นทอด

ขายอะไรได้บ้าง

น่าจะเป็นการเปิดร้านที่ง่าย และคนนึกถึงมากที่สุด เงินทุนแค่ 1,000 ก็เริ่มต้นแบบเล็กๆได้หลักๆคือจ่ายไปเป็นค่าวัตถุดิบ ส่วนอุปกรณ์ก็เน้นหาเองจากในครัวไม่ต้องซื้อเพิ่ม และควรฝึกทำน้ำจิ้มให้อร่อยๆ ไม่ต้องไปเปิดที่ไหนไกล เริ่มจากหน้าบ้านตัวเองลองเช็คลูกค้าดูก่อน หากพอมีทุนเพิ่มขึ้นมาก็ลองไปตั้งโต๊ะขายในตลาดนัด เริ่มต้นจากง่ายๆ แต่ขยันให้มาก โอกาสรวยก็เป็นไปได้ หรือถ้ามีหัวธุรกิจสักหน่อยจะลองพัฒนาให้กลายเป็นแฟรนไชส์ในอนาคตก็น่าสนใจเช่นกัน

2.ขายเฟรนฟรายด์

ขายอะไรได้บ้าง

อุปกรณ์ที่ใช้ก็เน้นง่ายๆ เช่น โต๊ะพับได้ 1 ตัว เก้าอี้ 1 ตัว วัตถุดิบหลักคือเฟรนฟรายด์พร้อมทอด 1 ถุงใหญ่ๆ รวมกับผงปรุงรสอย่างปาปริก้า ชีส หรือเกลือ และก็เตาแก๊สปิคนิค ตะแกรงสำหรับตักเฟรนฟรายด์ ถุงพลาสติกสำหรับใส่เฟรนฟรายด์ อุปกรณ์และวัตถุดิบเบื้องต้นเหล่านี้ลงทุนไม่น่าจะเกิน 1,000 บาท เริ่มจากร้านเล็กๆ ขายหน้าบ้านตัวเอง พอมีทุนค่อยขยับไปเช่าที่ในตลาดนัดหรือทำเลอื่นที่มีคนพลุกพล่านมากกว่านี้ราคาขายส่วนใหญ่ชุดละ 20 บาท ใน 1 วันก็พอทำให้มีรายได้เสริมพอสมควร

3.ขายงานแฮนเมดด์

ขายอะไรได้บ้าง

ธุรกิจนี้สงวนไว้สำหรับคนที่มีความสามารถ มีไอเดียด้านศิลปะ ไม่จำเป็นต้องไปลงทุนซื้ออะไรเพิ่ม อาศัยใช้ฝีมือตัวเองที่มีทำสินค้ามาขาย เช่นกระถางต้นไม้ D.I.Y , กรอบรูปจากวัสดุเหลือใช้ , ตุ๊กตาจากเศษผ้า เป็นต้น ยิ่งปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์มีประโยชน์อย่างมาก อาจทำให้เรามีรายได้จากการขายมากกว่าที่คิด

4.ขายหมูสะเต๊ะ

ขายอะไรได้บ้าง

แม้จะดูว่าเป็นอาชีพที่ใช้ต้นทุนสูง แต่ถ้าเรามีเงิน 1,000 ก็เริ่มทำจากน้อยๆ ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์อะไรเพิ่มเอาที่มีอยู่มาใช้งาน หลักๆ คือเตาปิ้ง , เนื้อหมู , กะทิ , ผงกระหรี่ , แตงกวา , พริก , ถั่วลิสง เบื้องต้นประมาณ 1,000 บาทอาจเกินบ้างเล็กน้อย ราคาขายของหมูสะเต๊ะมักขายเป็นชุดชุดละ 30-35 บาท กำไรโดยเฉลี่ยประมาณ 50% จากยอดขาย ขึ้นอยู่กับทำเลและความอร่อยเป็นสำคัญ

5.กระเพราห่อ

ขายอะไรได้บ้าง

ถ้าเรามีหน้าบ้านอยู่ในชุมชน ใกล้โรงเรียน ใกล้ตลาด ลองมาขายกระเพราห่อ ที่มั่นใจว่าขายได้ดีแน่ อุปกรณ์ใช้จากที่เรามีเป็นหลัก เช่น เตาแก๊ส , โต๊ะ , เครื่องปรุงต่างๆ ที่ต้องซื้อหลักๆ ก็คือหมู , พริก , กระดาษ (สำหรับห่อ) ถ้ามีเงิน 1,000 อาจได้วัตถุดิบไม่มาก การขายช่วงแรกก็อาจเป็นแค่การลองตลาดว่าจะขายดีแค่ไหน เมื่อเริ่มขายดีมีทุนมากขึ้นก็สต็อกวัตถุดิบได้มากขึ้น และอาจขยายร้านให้ใหญ่ขึ้นเพิ่มบริการเดลิเวอรี่เข้าไปจะทำให้มีรายได้มากขึ้นด้วย

6.ขายสินค้ามือสอง

ขายอะไรได้บ้าง

สำหรับใครที่ทุนน้อย แต่มีทำเลดี อาจลองเริ่มต้นจากการขายสินค้ามือสอง ที่ไม่ต้องไปหาจากที่ไหน เอาสิ่งที่เรามีอยู่มาขาย เช่น เสื้อผ้า , รองเท้า , ของเล่น , หนังสือ , กระเป๋า ฯลฯ สินค้าเหล่านี้ถ้าอยู่ในสภาพดี หรือเป็นสินค้าที่ยังใช้งานได้ดี ขายในราคาถูกลงก็ต้องมีคนสนใจยิ่งยุคนี้คนส่วนใหญ่ต้องการประหยัด ถ้าเราขายได้มีเงินทุนมากขึ้น ก็อาจขยับไปหาสินค้าจากแหล่งอื่นมาขายเพิ่มเติมได้

7.ร้านข้าวไข่เจียว

ขายอะไรได้บ้าง

นอกจากกระเพราเมนูสุดฮิตไม่แพ้กันก็คือข้าวไข่เจียว มีเงินทุนแค่ 1,000 เปิดร้านได้แน่ ตั้งโต๊ะตัวเดียว อุปกรณ์เอาจากที่เรามี วัตถุดิบหลักก็คือไข่ แผงละประมาณ 100 -105 บาท (เบอร์ 2 , เบอร์ 3) รวมกับวัตถุดิบอื่นๆเช่นหอม กระเทียม หรือวัตถุดิบต่างๆที่จะนำมาใส่กับไข่เจียว ขายกล่องละ 25-30 บาท จะน่าขายได้ขายดี มีกำไรได้ไม่ยาก

8.ขายแซนวิช

ขายอะไรได้บ้าง

ถ้ามีเงิน 1,000 เราอาจเปิดร้านขายแซนวิชง่ายๆ ได้ ไม่ต้องมีวัตถุดิบยุ่งยาก เป็นแซนด์วิชพื้นฐาน ทำไม่ยุ่งยากขายไม่ต้องแพงชิ้นละ 20-25 บาท ในยุคนี้คนส่วนใหญ่เน้นสินค้าราคาถูก กินอิ่มท้อง ถ้ามีทำเลที่ดีก็สามารถขายได้แน่ และเมื่อมีทุนมากขึ้นอาจพัฒนาเมนูให้น่าสนใจมากขึ้น หรือจะทำขายช่องทางออนไลน์ร่วมด้วยก็ได้

9.ขายหน้ากากอนามัย

13

แม้ภาครัฐจะออกมาตรการผ่อนคลายเรื่องหน้ากากอนามัยแต่ดูเหมือนว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้หน้ากากอนามัยต่อไปอีกนาน ราคาหน้ากากอนามัยผ่านช่องทางออนไลน์ห่อละประมาณ 10 บาท ถ้าเรามีทุนน้อยก็สั่งมาในจำนวนน้อย ตั้งโต๊ะตัวเดียวก็เปิดร้านขายได้ แม้จะดุไม่น่าสนใจนักเพราะมีสินค้าน้อย แต่ถ้าเริ่มขายได้และมีเงินทุนมากขึ้นก็ค่อยๆหาสินค้าอื่นมาเพิ่มเพื่อให้ขายดียิ่งขึ้น

10.ร้านกาแฟ / โอวัลติน / ขนมปังปิ้ง

55

มีเงิน 1,000 ก็เปิดร้านกาแฟเล็กๆได้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรมากแค่กระติกน้ำร้อน และกาแฟสำเร็จรูป , โอวัลตินแบบซอง ส่วนขนมปังปิ้งถ้าไม่มีเครื่องปิ้งก็เริ่มจากใช้เตาถ่าน อาจเป็นร้านที่ดูไม่ดึงดูดลูกค้า แต่ก็เป็นร้านที่มีสินค้าง่ายๆ ขึ้นอยู่กับทำเลและไอเดียในการขาย อาจเพิ่มเมนูง่ายๆ อย่างไข่ลวกเข้าไป ก็จะทำให้น่าสนใจมากขึ้น สามารถสร้างรายได้เพิ่ม และถ้ามีทุนมากขึ้นก็พัฒนาร้านให้ดีขึ้นได้

เงินลงทุนที่มีเพียงแค่ 1,000 อาจดูไม่มาก แต่คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่บางคนเขาเริ่มต้นจากไม่มีเงินติดตัวสักบาทด้วยซ้ำไป สิ่งสำคัญคือทรรศนคติ และมุมมองแง่บวกที่เราต้องเปลี่ยนแรงกดดันให้เป็นพลัง ขยัน ทุ่มเท แล้วสักวันสิ่งที่เราทำอาจผลิดอกออกผลกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตมากขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Tcdys2


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด